การคุ้มครองผู้บริโภคสื่อในรายการวิทยุโทรทัศน์ ในยุค กสทช


ประเด็นแรก คงต้องสร้างความชัดเจนถึง “สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคสื่อรายการวิทยุโทรทัศน์” ที่นำไปสู๋การได้รับความคุ้มครองมีอะไรบ้าง ในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น พบว่ามีอยู่ด้วยกันทั้งส้ิน ๗ สิทธิ ประเด็นที่ ๒ การจัดทำกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อที่มีประสิทธิภาพ ในประเด็นนี้ต้องการกลไกหลัก ๔ ด้าน

 

หลังจากที่ได้เข้าไปฟังแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อโฆษณาในรายการวิทยุโทรทัศน์ ที่จัดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เมื่อวันที่พุธที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ที่อาคารหอประชุม ๒ อาคาร กสทช ในการประชุมครั้งนี้มีการนำเสนอแนวคิดจากวิทยากรหลายท่านทั้ง (๑) ภญ. ศรีนวล กรกชกร (๒) รศ.ดร.กลุ ทิพย์ ศาสตระรุจิ (๓) ผศ.ดร.เอื้อจติ วิโรจน์ไตรรัตน์ (๔) คุณวิชิต เอื้ออารีวรกุล (๕) คุณสรายุทธ์ บุญเลิศกุล (๖) คุณสิรินนา เพชรรัตน์ (๗) ตัวแทนกองบังคับ การปราบปรามการกระทําความผิด

เกี่ยวกับการคุ้มครองผูุ้บริโภค (ปคบ.)  โดยมีทั้งคุณสุภิญญา กลางณรงค์ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกำกับกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์กิจการโทรคมนาคม มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ด้วย

ในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อโฆษณาในรายการวิทยุโทรทัศน์ ผู้เขียนมีประเด็นอันเป็นข้อเสนอในการทำงานต่อ กสทช ใน ๒ ประเด็น

ประเด็นแรก คงต้องสร้างความชัดเจนถึง “สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคสื่อรายการวิทยุโทรทัศน์” ที่นำไปสู๋การได้รับความคุ้มครองมีอะไรบ้าง ในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น พบว่ามีอยู่ด้วยกันทั้งส้ิน ๘ สิทธิ กล่าวคือ (๑) สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารครบถ้วน เพียวพอต่อการตัดสินใจ โดยข้อมูลนั้นต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริงโดยไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้บริโภค (เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๑   กฎหมายรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติรับรองถึงสิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหายรวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค) (๒) สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเนื้อหาที่ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะเด็ก ที่จะต้องได้รับสิทธิในการเข้าถึงสื่อหรือวัสุดที่เป็นประโยชน์ส่งเสริมการเรียนรู้ (เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก) (๓) สิทธิในการได้รับความคุ้มครองในการเข้าถึงสื่อที่ไม่เหมาะสม รวมทั้ง การคุ้มครองเด็กให้เข้าถึงสื่อที่เหมาะสมกับช่วงวัยโดยมีมาตรการด้านเวลาและสถานที่กำกับด้วย (๔) สิทธิในการได้รับความคุ้มครองในข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค (๕) สิทธิในความเท่าเทียมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสื่อ (เป็นไปตามมาตรา ๔๗ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐) (๖) สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการบริหารจัดการสื่อ (เป็นไปตาม มาตรา ๖๑ วรรค ๒ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐[1]) (๗) สิทธิในการได้รับการเยียวยาความเสียหายเมื่อได้รับความเสียหาย (เป็นไปตามหลักสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคทั่วไป)

ประเด็นที่ ๒ การจัดทำกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อที่มีประสิทธิภาพ ในประเด็นนี้ต้องการกลไกหลัก ๔ ด้านกล่าวคือ

ด้านที่ ๑ กลไกทางสังคม เป็นการสร้างกระบวนการของการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยคำนึงการให้ความรู้ด้านสิทธิของผู้บริโภคสื่อกับประชาชน เพื่อทำให้เกิดการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตั้งแต่ การติดตามเฝ้าระวัง การสะท้อนความคิดเห็น รวมไปถึง การมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายด้านการบริหารจัดการสื่อร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรหลัก

ด้านที่ ๒ กลไกทางกฎหมาย เป็นการสร้างประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ โดยอาศัยกลไกทางสังคมเป็นหน่วยติดตามและให้ข้อมูล โดยมีระบบการทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมาย ทั้ง กสทช และ สคบ รวมถึง ปคบ หากในกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ปรากฎอยู่ในการใช้บังคับ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนากฎหมายใหม่ขึ้น โดยอาศัยกลไกในส่วนที่ ๓

ด้านที่ ๓ กลไกความรู้ เป็นการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ รวมไปถึง การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่การจัดทำหลักสูตรในการอบรม และ การปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ด้านที่ ๔ กลไกด้านการสื่อสารความรู้ เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยทำให้สังคมเกิดความตื่นตัว รับรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภคสื่อ



[1] ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซ่ึงประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทําหน้าท่ีให้ความเห็นเพ่ือประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกําหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทําหรือละเลยการกระทําอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกลา่วด้วย

หมายเลขบันทึก: 480689เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2012 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท