ทบทวนวรรณกรรม "การศึกษาพัฒนาคุณภาพชีวิต"


การศึกษาพัฒนาคุณภาพชีวิต

ความหมายของการศึกษา ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่าคือ การเล่าเรียน การฝึกอบรม  ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Education"  ซึ่ง คาร์เตอร์ วี. กูด (Good. 1973 : 202) ได้ให้ความหมายไว้ในพจนานุกรมศัพท์การศึกษา 4 ประการ โดยสรุป คือ
          1. การศึกษา หมายถึง การดำเนินการด้วยกระบวนการทุกอย่าง ที่ทำให้บุคคลพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ รวมทั้งทัศนคติและพฤติกรรมอื่นๆ ตามค่านิยมและคุณธรรมในสังคม
          2. การศึกษา หมายถึง กระบวนการทางสังคม ที่ทำให้บุคคลได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม ที่คัดเลือกและกำหนดไว้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะโรงเรียน เพื่อพัฒนาบุคคลและสังคม
          3. การศึกษา หมายถึงวิชาชีพอย่างหนึ่งสำหรับครู หรือการเตรียมบุคคลให้เป็นครู ซึ่งจัดสอนในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย วิชาจิตวิทยาการศึกษา ปรัชญา ประวัติการศึกษา หลักสูตร หลักการสอน การวัดผล การบริหาร การนิเทศการศึกษา และวิชาอื่นๆ ที่ครูควรรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดความเจริญงอกงามสำหรับครู
          4. การศึกษา หมายถึง ศิลปในการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ในอดีต ซึ่งรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบสำหรับคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ตามแนวคิด ความเชื่อที่แตกต่างกันของแต่ละคน เช่น

- การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
- การศึกษา คือ ชีวิต และชีวิตคือการศึกษา
- การศึกษา คือ การพัฒนาคน
- การศึกษา คือ การเสริมสร้างความรู้ ความคิด ทักษะและเจตคติ
- การศึกษา คือ การแก้ปัญหาของมนุษย์ให้หลุดพ้น และเข้าถึงสิ่งดีงาม
- การศึกษา คือ การถ่ายทอดแนวคิด ความเชื่อ พฤติกรรม ศิลปวัฒนธรรม
- การศึกษา คือ การเตรียมตัวสำหรับการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์

               

การพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 มิติดังต่อไปนี้

  1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย 
  2.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ 
  3.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม 
  4.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา  

 

การศึกษากับคุณภาพชีวิต สามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างไร
                การศึกษานั้นถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 หรือเป็นเป็นปัจจัยใจหลักที่จะทำให้เราสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ นอกจากนี้แล้วการศึกษาและการเรียนรู้นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียน เราสามารถเรียนรู้และศึกษาได้ในทุกที่ อย่างไรก็ตามคุณภาพชีวิตกับการศึกษาก็ขึ้นอยู่กับของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน หากเราสามารถนำความรู้จากการศึกษา มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ก็ย่อมเกิดผลดีกับตัวของเราเอง การศึกษาหรือกระบวนการการเรียนรู้สามารถเกิดได้ในทุกวัย สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสาขากิจกรรมบำบัดได้ เช่นเราสามารถประเมินว่ากิจกรรมใดเหมาะกับผู้รับบริการใด ระดับความรู้ความเข้าใจในแต่ละวัย, ระดับของการศึกษาที่แตกต่างกัน ก็ทำให้เกิดการรู้และเข้าใจที่ต่างกันด้วยเช่นกัน

               

เอกสารอ้างอิง

http://www.moe.go.th/web-panom/article-panom/article10.htm
http://61.19.250.201/~mangmumm/view.php?article_id=43
http://www.nubkk.nu.ac.th
http://www.korsornor1.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=42380
http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentId=231
http://www.stou.ac.th/study/sumrit/11-54(500)/page1-11-54(500).html
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=12950
http://www2.swu.ac.th/royal/book6/b6c1t1.html
http://www.ejournal.su.ac.th/upload/200.pdf
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=6035.0 

 

 

หมายเลขบันทึก: 480595เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2012 07:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท