Silent
นักศึกษากิจกรรมบำบัด ณกรณ์ ปาร์แมน ปาสุวรรณ

สุขภาพชีวิตกับสัตว์เลี้ยง


สัตว์เลี้ยงช่วยพัฒนาการในเด็กและยังช่วยสามารถทำให้เเด็กฉลาด มีเหตุผล มีความเมตตราเอื้ออาทร และยังสามารถช่วยบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคต่างๆเช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นซึ่งเมื่อได้ผู้ป่วยได้มีสุขที่ดีทั้งทางกายเเละทางอารมณ์แล้วก็จะสามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่มีคุณค่าและความสุขต่อไป

สัตว์เลี้ยงกับความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจประเทศ

        หากกล่าวถึงสัตว์เลี้ยงแล้วคงเป็นไปไม่ได้เลยว่าจะมีคนที่ไม่เคยพบเห็นหรือไม่รู้จัก ส่วนใหญ่แล้วหากกล่าวแล้วหลายๆท่านคงคิดถึงเจ้าตูบ หรือ เจ้าเหมียวตัวน้อยๆ ที่แสนน่ารัก แต่ก็ยังมีสัตว์เลี้ยงอีกประเภทหนึ่งที่ มีความสำคัญมากไม่แพ้กัน นั้นคือสัตว์เลี้ยงเชิงอุตสาหกรรม มีทั้งน้องหมู น้องวัว น้องไก่ และอีกมากมาย เจ้าสัตว์เลี้ยงพวกน่านั้น จัดว่าเป็น สัตว์เศรษฐกิจของชาติแต่ละชาติเลยว่าได้ เพราะเจ้าพวกนี้จะถูกแปลรูปออกมาเป็นอาหารต่างๆ ตามที่ต่างๆทั่วโลก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเจ้าสัตว์เหล่านี้จะมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของชาติเป็นอย่างมากหากมีการละเลยหรือถูกมองข้ามจากฝ่ายต่างๆก็อาจส่งผลถึง ความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศนั้นนั้นได้

         และอีกประเภทหนึ่งนั้นคือสัตว์เพื่อเป็นเพื่อนแก้เหงา ณ ปัจจุบันนี้มีการแผ่ขยายตัวของตลาดสัตว์เลี้ยงน่ารักหรือสัตว์เลี้ยงภาพในบ้านการเพาะพันธุ์สัตว์เพื่อขาย นั้นก็เป็นอีก หนึ่งธุรกิจ ที่สามารถทำให้คุณเสียเงินได้ดี ยังรวมถึง อุปกรณ์สัตว์เลี้ยงต่างๆก็มีการแข่งขันกันเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

5 อันดับสัตว์ยอกนิยมของมนุษย์ทั่วโลก

1 ) สุนัข 

2 )แมว

3 )ปลา 

4 )กระต่าย 

5 )แฮมเตอร์

จะเห็นได้ว่าสัตว์เลี้ยงในบ้านส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงจะเน้นในเรื่องของความ เอ็นดู มากกว่าการใช้งาน

ข้อดีของการเลี้ยงสัตว์

1 ) ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก: จากงานวิจัย  โดย ดร.เนียนกี เอ็นเด็นเบิร์ก นักจิตวิทยาเด็กแห่ง Holland’s Prestigious University of Utrecht ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ‘สัตว์เลี้ยงทำให้เด็กฉลาดได้กล่าวในที่ประชุมว่า สัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก เพราะทำให้เด็กเรียนรู้เร็ว เข้ากับคนง่าย ไม่ค่อยเครียด และยังไม่ค่อยดื้อกับพ่อแม่ เป็นเด็กช่างสังเกต ไม่ค่อยเจ้าอารมณ์ และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ส่วนเด็กซึ่งที่บ้านไม่มีสัตว์เลี้ยงจะค่อนข้างเจ้าอารมณ์ รักคนไม่ค่อยเป็น เข้ากับคนไม่ค่อยได้ และอาจจะไม่ฉลาดเท่าที่ควร'

2 ) ช่วรักษาโรค :  ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ  เป็นต้น เพราะผู้ป่วยในโรคที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ มักมีอาการที่ทรุดลงเนื่องจากสาเหตุจากความเครียด ความคิด ส่วนใหญ่ และการได้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงนั้นจะส่งผลให้ผู้ป่วยเห็นค่าของตนเองในการดูแลผู้อื่นและได้มีเพื่อนในการแก้เหงาเมื่ออยู่คนเดียวดังนั้นก็ช่วยลดปัญหาจาก การ ซึมเศร้าได้อย่างเห็นได้ชัด มีการจิวัยมาว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคจำพวกนี้มักมีอาการที่ดีขึ้นเมื่อกลับไปเช็คร่างกายกับแพทย์อีกหนึ่ง เนื่องจากการได้เลี้ยงสัตว์ที่ตนเองชอบ จนสามารถส่งผลไปถึงสุขภาพที่แข็งแรงที่ตามมา

นอกจากนี้ยังมีการนำสัตว์เลี้ยงมาช่วยในการบำบัดทางกิจกรรมบำบัดอีกด้วยทั้งช่วยพัฒนาการของเด็ก หรือจนกระทั่งช่วยในการบำบัดผู้ป่วยอมพาตครึ่งซีกโดยวิธีการเช่น การโยนลูกบอลโดยใช้แขนที่มีอาการผิดปกติในการทำการโยนบอลออกไป ให้สุนัขเก็บกลับมา ในกิจกรรมนี้ผู้ป่วยนั้นจะสามารถฟื้นฟูได้ทั้งทางกายและทางในครั้งเดียวเลยหรือจะเล่นกับหลานๆก็ได้เช่นกัน

แต่ที่สำคัญการที่จะมีสัตว์เลี้ยงไว้ในครอบครองนั้นก็ควรที่จะมีความพร้อมที่จะรับภาระการเลี้ยงดูนี้ด้วย ดังนั้นจังมีการตั้งหลักในการเลี้ยงสัตว์ขึ้นมา เช่นของสุนัข

 

หลักสากลในการเลี้ยงสุนัข

             เมื่อท่านตัดสินใจที่จะเลี้ยงสุนัขแล้ว  ท่านต้องเลี้ยงสุนัขอย่างรับผิดชอบและมีมนุษยธรรม ให้ยึดหลักเรื่อง  “ความเป็นอิสระ5 ประการ” คือการดูแลชีวิตนั้นให้

1) ปราศจากความหิวกระหาย

2) ปราศจากความไม่สบายกายและใจ

3) ปราศจากความเจ็บปวด  โรค และความทรมาน

4) ได้มีโอกาสแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ

5) ปราศจากความกลัวและหวาดระแวง

สิ่งนี้คือตัวอย่างของความรับผิดชอบของผู้ดูแลสัตว์เลี้ยง

สรุปคือ การเลี้ยงสัตว์นั้นสามารถทำให้คุณภาพของชีวิตดีขึ้นได้ ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางสุขภาพกาย และ สุขภาพจิตดั่งที่ได้กล่าวมา ณ ข้างต้นแล้ว แต่ในทั่งนี้การเลือกเลี้ยงสัตว์นั้นควรเป็นไปด้วยความพิถีพิถันเป็นอย่างมากควรคำนึงถึงความสามารถในการเลี้ยงดูเมื่อรับเลี้ยงมาแล้วก็ควรเลี้ยงดูให้ดีต้องมีการดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยงมีการให้อาหารอย่างเหมาะสม ดูแลความสะอาดรวมถึงการให้ความรักแกสัตว์เลี้ยงของตน เพื่อส่งผลต่อสุขภาพชีวิตของทั้งผู้เลี้ยงและสัตว์เลี้ยงด้วย

อ้างอิง

.สัตว์เศรษฐกิจ[อินเทอร์เน็ต] เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555 [เข้าถึงได้จาก] http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88

brondHAIR! จากเวปสีแดงดอทคอม. 10 อันดับสัตว์เลี้ยงยอดนิยม[อินเทอร์เน็ต] เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555 [เข้าถึงได้จาก] http://board.postjung.com/540990.html

.การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้าน[อินเทอร์เน็ต][2554] เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555 [เข้าถึงได้จาก]http://property.itmoamun.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99/

.การเลี้ยงแมว[อินเทอร์เน็ต][2546] เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555 [เข้าถึงได้จาก]  http://www.palthai.com/member/cat.htm

Never-Age.com.สัตว์บำบัด[อินเทอร์เน็ต][2554] เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555 [เข้าถึงได้จาก] http://www.saf.mut.ac.th/pages/health/017.htm

Kittipanan.สัตว์เลี้ยงช่วยกระตุ้นการพัฒนาการเด็ก[อินเทอร์เน็ต]เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555 [เข้าถึงได้จาก]  http://m.thaihealth.or.th/healthcontent/article/21194

พัฒนาลูกน้อย[อินเทอร์เน็ต]เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555 [เข้าถึงได้จาก]  http://women.sanook.com/mom-baby/develop/age1-3_43078.php

ภรรณภัทร์.สัตว์เลี้ยงเพื่อสุขภาพ[อินเทอร์เน็ต] เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555 [เข้าถึงได้จาก]  http://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=400&sub_id=34&ref_main_id=9

STY Library.สัตว์เลี้ยงแสนรักช่วยบำบัดโรค[อินเทอร์เน็ต][2549]เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555  [เข้าถึงได้จาก]http://www.dmh.go.th/sty_libnews/news/view.asp?id=4810

 

ชิลตาสัตวแพทย์.9ข้อดีของการมีสัตว์เลี้ยง[อินเทอร์เน็ต][2552]เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555 [เข้าถึงได้จาก] http://www.แบบหมาหมา.com/9-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89.html

หมายเลขบันทึก: 480583เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2012 01:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท