"มหาอุทกภัย 2554" ถอดบทเรียนการจัดการด้านสาธารณสุข จ.ขอนแก่น(ตอนที่ 4) :การบริหารจัดการระดับอำเภอและ รพ.สต.ที่ได้รับผลกระทบ


เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ จังหวัดขอนแ่ก่นได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย โดยมีพื้นที่ประสบอุทกภัยที่เข้าขั้นวิกฤต จำนวน ๙ อำเภอ ๓๑ ตำบล ๒๐๗ หมู่บ้าน ๑๒,๗๓๑ ครัวเรือน ประชากร ๔๔,๘๕๑ คน ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน และ รพ.สต.
ในการถอดบทเรียนจากเวทีประชุม" ทิศทางการบริหารจัดการอุทกภัย จ.ขอนแก่น ปี ๒๕๕๕" เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงถอดบทเรียนการบริหารจัดการระดับอำเภอและรพ.สต.ที่ได้รับผลกระทบ แบ่งได้เป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมการ ระยะเผชิญอุทกภัย และระยะฟื้นฟู ดังนี้

ระยะเตรียมการ

๑. การจัดทำแผนและการซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ในแต่ละอำเภอที่ประสบอุทกภัย มีการวางแผนดำเนินงาน
(ในช่วงที่เกิดอุกภัย)แต่ไม่ได้มีการซ้อมแผนเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

ข้อเสนอแนะ ในแต่ละพื้นที่ควรมีการจัดทำแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินไว้ล่วงหน้า รวมถึงและมีการซ้อมแผนปฏิบัติการให้ครอบคลุมทุกระดับ

๒.การแต่งตั้งคณะบริหาร/คณะกรรมการ ในแต่ละพื้นที่มีการบริหารจัดการโดยมีคำสั่งมอบหมายงาน มีการประสานงานร่วมกันภายในโซนพื้นที่ แต่มิได้จัดตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย

ข้อเสนอแนะ ในแต่ละโซนพื้นที่ควรมีการประสานงานและบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

๓.การประเมินและการวิเคราะห์สถานการณ์(จุดเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง และการปรับแบบแปลนอาคารเตรียมรับอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยง) ในแต่ละพื้นที่จะมีฐานข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัยของตนเอง แต่มิได้นำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้เพื่อวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ในพื้นที่

ข้อเสนอแนะ ควรจัดการทำฐานข้อมูลจุดเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง และวางแผนสร้างระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ

๔.การเตรียมความพร้อมด้านการติดต่อสื่อสาร(ระบบสื่อสารหรือช่องทางสื่อสาร)เช่นวิทยุ โทรศัพท์ เครือข่าย/การประชาสัมพันธ์) ระบบสื่อสารในช่วงที่ประสบอุทกภัยยังสามารถใช้การได้ตามปกติ

ข้อเสนอแนะ ควรมีการวางแผนเตรียมความพร้อมระบบการสื่อสารกรณีฉุกเฉิน เช่นกรณีระบบสื่อสารต่างๆถูกตัดขาด

๕.การเตรียมศูนย์ประสานงานสั่งการ(กำหนดหน่วยงานหลักที่ดูแล จุดประสานหลักรับ ความช่วยเหลือ จัดทำคู่มือการดำเนินงาน) ในการดำเนินงานปีที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแต่ละพื้นที่จะเป็นศูนย์ประสานงานหลักในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดย รพ.สต.ที่ประสบภัยเป็นศูนย์ประสานงานรอง

ข้อเสนอแนะ ควรจัดทำคู่มือการบริหารจัดการของอำเภอกรณีประสบอุทกภัย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และมีคำสั่งแต่งตั้งมอบหมายงานผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน

๖.การเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณ ทรัพยากร และการขนส่ง ทางอำเภอและ รพ.สต.ไม่ได้จัดเตรียมงบประมาณและทรัพยากรต่างๆไว้เพื่อใช้ในการนี้ ทำให้ขาดแคลนเวชภัณฑ์ที่ใช้ในสถานบริการ เรือ และเสื้อชูชีพ

ข้อเสนอแนะ ควรจัดทำแผนงบประมาณ ทำการสำรวจ จัดเตรียม และ จัดหาทรัพยากรไว้ใช้สำหรับกรณีที่เกิดอุทกภัยฉุกเฉิน

ระยะเผชิญภาวะอุทกภัย

.การบริหารจัดการระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบรายงานข้อมูลจาก รพ.สต.พื้นที่ประสบอุทกภัยขาดความต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหาได้

ข้อเสนอแนะ ในแต่ละหน่วยงานควรจัดระบบการประสานงาน ระบบรายงาน และวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

.การบริหารจัดการด้านกำลังคน รพ.สต.ในพื้นที่ประสบอุทกภัยขาดแคลนบุคลากร โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอในการปฏิบัติงานเมื่อประสบภาวะอุทกภัย

ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรจัดหาบุคลากรและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ที่ประสบอุทกภัย

๙.การบริหารจัดการเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง พบปัญหาในการประสานกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้การแก้ไขปัญหาขาดประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะ ควรจัดทำแนวทางปฏิบัติในการประสานงานระหว่างเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ระยะฟื้นฟู

๑๐.การประเมินผลกระทบด้านสังคม ชุมชนและการดำเนินการฟื้นฟู เยียวยา ในแต่ละพื้นที่ประสบอุทกภัยนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการประิเิมินผลกระทบด้านสังคม ชุมชน ส่วนสาธารณสุขทำหน้าที่ด้านการดูแลสุขภาพของประชาชน

ข้อเสนอแนะ รพ.สต.ที่ประสบอุทกภัยควรจัดทำแผนโครงการในพื้นที่รองรับไว้

๑๑.การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการดำเนินการฟื้นฟู มีการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ห้องสุขา ขยะ รวมถึง น้ำอุปโภคและบริโภค มีการตรวจสอบรายงานการเกิดโรคในพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคระบาดในพื้นที่

ข้อเสนอแนะ หน่วยงานด้านสาธารณสุขควรประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังโรคร่วมกัน

๑๒.การประเมินผลด้านสุขภาพ(กาย/จิต)และการดำเนินการฟื้นฟูเยียวยา รพ.สต.ที่ประสบอุทกภัยได้ให้บริการดูแลรักษาประชาชนในสถานบริการ และออกติดตามเยี่ยมบ้าน โดยมีเครือข่ายเฝ้าระวังในแต่ละชุมชนและส่งต่อในกรณีที่มีปัญหารุนแรง

ข้อเสนอแนะ ควรจัดทำแผนงาน โครงการที่เกี่ยวข้องกับประเมินผลด้านสุขภาพและการฟื้นฟูเยียวยา โดยประสานงานร่วมกับเครือข่ายบริการสุขภาพ(CUP) และหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

๑๓.การบริหารจัดการ รพ.สต.ที่ได้รับผลกระทบ มีการสนับสนุนการดำเนินงาน การบริหารกำลังคน งบประมาณ จัดหาวัสดุอุปกรณ์พร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พร้อมให้คำปรึกษาช่วยเหลือแก่ รพ.สต.ที่ประสบอุทกภัย

ข้อเสนอแนะ รพ.สต.ที่ประสบอุทกภัยควรมีการจัดทำแผนงานโครงการรองรับ รวมถึงทำการซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ

หมายเหตุ : ข้อมูลจากประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ทิศทางการบริหารจัดการอุทกภัย จ.ขอนแก่น ปี ๒๕๕๕
ณ โรงแรมเจริญธานี จ.ขอนแก่น วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
จัดโดยกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น




คำสำคัญ (Tags): #อุทกภัย
หมายเลขบันทึก: 480338เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2017 06:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท