คุณภาพชีวิตกับโรคเบาหวาน


คุณภาพชีวิต,โรคเบาหวาน

คุณภาพชีวิตกับโรคเบาหวาน

ความรู้ทั่วไปเรื่องโรคเบาหวาน 
                 โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งด้านสาธารณสุขของหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็น1ใน5 สาเหตุของการเสียชีวิต และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษาที่เหมาะสม ปัจจุบันเป็นโรคไม่หายขาด ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตัวอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
อาการของโรคเบาหวาน
                คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มิลลิกรรมเปอร์เซ็นต์ หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลไม่เกิด 140 มิลลิกรรมเปอร์เซ็นต์ ผู้ที่ระดับน้ำตาลไม่สูงมากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาหารที่พบบ่อยคือ
-          ลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางคืนมากกว่า1 ครั้ง : เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า 180 มิลลิกรรมเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะทำให้น้ำถูกขับออกมามากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและมีอาการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
-          ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
-          อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา
-          แผลหายช้า
-          คันตามผิวหนัง มีอาการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีอาการอักเสบของผิวหนัง
-          ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศเนื่องจาก น้ำตาลในเลือดสูงนานๆ ทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก
       

โรคแทรกซ้อน

  1. โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งนอกจากทำให้เกิด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพาต ยังก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบที่ขา

อาการแสดง

                ชาหรืออ่อนแรงที่แขนหรือขา ตาบอดเฉียบพลัน พูดลำบาก เจ็บแน่นบริเวณน่าอกข้างซ้าย และร้าวไปแขนซ้ายเวลาออกกำลังกาย พักเหนื่อยจะหายปวด เท้าบวม หัวใจเต้นผิดปกติ

  1. โรคแทรกซ้อนที่ตา

ทำให้การมองเห็นผิดปกติ ซึ่งมีกลไกที่ทำให้ผิดปกติดังนี้

                        -เกิดจากเลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ โดยเฉาะส่วน macular

                        -เกิดจากการที่มีหลอดเลือดใหม่ที่จอรับภาพทำให้จอรับภาพมีพังผืด จอรับภาพ

                      อาจจะหลุดออกจากเส้นประสาททำให้ตาบอด

  1. โรคแทรกซ้อนที่ขา

โรคเบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเท้าตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอเนื่องจากการขาดเลือด ปลายประสาทอักเสบทำให้เกิดแผลกดทับ การติดเชื้อที่ผิวหนังทำให้เกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วย ซึ่งเราเรียกการที่มีแผลที่เท้าเนื่องจากปลายประสาทอักเสบว่า Diabetic neuropathy จะมีอาการโครงสร้างของเท้าผิดปกติและหลอดเลือดไปเลี้ยงที่เท้าตีบ

   2. โรคแทรกซ้อนที่ไต

ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะเป็นผลเสียต่ออวัยวะในร่างกายรวมทั้งไต โรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไตเสื่อม หรือไตวายมากที่สุด ผู้ป่วยในช่วงแรกจะไม่มีอาการอะไรเลย จนกระทั่งไตเกิดอาการบวมมาก จนเกิดภาวะไตวาย โรคเบาหวานทำให้ไตมีการทำงานหนักมากขึ้นในที่สุดก็จะมีการสูญเสีย สารอาหาร และโปรตีนในปัสสาวะ ปริมาณโปรตีนเพียงเล็กน้อยที่หลุดออกมาเรียก Microalbuminuria หากไตเสียหน้าที่ปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้นมากขึ้น Macroalbuminuria หรือ Proteinnuria ไตบางส่วนเริ่มเสียหน้าที่การกรองทำให้เกิดการคลั่งของของเสียเรียก ไตวายหรือไตเสื่อมและในที่สุดก็เกิดอาการไตวาย

 เบาหวานที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและการรับความรู้สึก

 
ปลายประสาทอักเสบ(Phripheral Neuropathy)
                ปลายประสาทอักเสบ หมายถึงมีการทำลายเยื่อหุ้มประสาท ทำให้การทำงานของเส้นประสาทเสียไป น้ำตาลที่สูงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเลือดทำให้เส้นประสาทนำไฟฟ้าไม่ดี นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการทำลายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาท
ชนิดของปลายประสาท มีอยู่หลายชนิด
-          Symmetrical ปลาประสาทอักเสบ 2 ข้าง ชาบริเวณปลายเท้าทั้ง 2 ข้าง มักจะเริ่มจากปลายนิ้วเท้า และลุกลามมากเลื่อยๆ และอาจจะสูญเสียความรู้สึกเกี่ยวกับอุณหภูมิ(temperature) และอาจมีอาการชาที่มือร่วมด้วย อาการต่างๆ มักจะเป็นมากเวลากลางคืน ผู้ป่วยจะสูญเสียการรับรู้ตำแหน่งของข้อเท้า (proprioceptive) ข้อต่างๆจะมีอาการเสียรูป และมีแผลที่เท้า เรียกว่า Charcot’s joint
-          Asymmetrical ผู้ป่วยจะมีอาการชาข้างใดข้างหนึ่ง
-          Motor neuropathy มีพยาธิสภาพเฉพาะเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะมีเฉพาะอาการชา
-          Sensory neuropathy มีพยาธิสภาพเฉพาะเส้นประสาทที่รับความรู้สึก ผู้ป่วยจะมีอาการชาอย่างเดียว
-          Automic neuropathy ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืดบ่อย หัวใจเต้นผิดปกติ การทำงานของลำไส้ผิดปกติ
        จากผลสำรวจ บุคคลที่เป็นโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานแก่ กิจกรรมทางกายภาพ เช่น การรับประทานอาหาร.การออกกำลังกาย ,ความเพียงพอของรายได้ , ระยะเวลาที่ป่วย , ความเครียด และการช่วยเหลือตนเอง, อาการบาดเจ็บตามร่างกาย เช่้นแผลต่างๆ
          ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ได้แต่ อายุ ดัชนีมวลกาย การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง การสนับสนุนของครอบครัวไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

        ความเครียด เกิดจากอาการของโรคทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ถ้าหากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ จะมีผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ระดับความพึงพอใจในชีวิตลดลงไปด้วย 

เอกสารอ้างอิง

เสกสรร  หีบแก้ว. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่  2   อ าเภอกุฉินารายณ์   จังหวัดกาฬสินธ์.วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2555, จากวรสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพ: http://rdhsj.moph.go.th/ojs2/index.php/rdhsj/article/view/112/112

PIYANAN  PROMKON. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวาน.วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2555. จากมหาวิทยาลัยมหิดล: http://www.li.mahidol.ac.th/thesis/2549/cd390/4636958.pdf

สืบพงศ์ ลีนาราช.การศึกษาผลการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี.วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2555.จากขอนแก่นเวชศาสตร์: http://thailand.digitaljournals.org/index.php/KKMJ/article/view/1557

 วิบุลย์ พลอยภัทรภิญโญ.ความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาในโรงพยาบาลน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์.วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2555.จากข่อนแก่นเวชศาสตร์: http://thailand.digitaljournals.org/index.php/KKMJ/article/view/1623

 พัชรินทร์ ปิงเมืองแก้ว.ประสบการณ์การดูแลสุขภาพด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า: การศึกษาเชิงคุณภาพในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค.วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2555.จากพุทธชินราชเวชศาสตร์: http://thailand.digitaljournals.org/index.php/BMJ/article/view/8547/8087

ทองคำ สุนทรเทพวรากุล.ปัจจัยทำนายควาทรู้ทั่วไปและทัศคติของผู้ป่วยเบาหวานไทย.วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2555. http://www.thaiscience.info/Article%20for%20ThaiScience/Article/6/Ts-6%20predictors%20of%20general%20knowledge%20and%20attitudes%20inthai%20diabetic%20patients.pdf

 ปรียาภรณ์ สวัสดิ์ศร.อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคในการควบคุมอาหาร ต่อการทำนายพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2*.วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2555.จากมหาวิทยาลัยมหิดล: http://www.ns.mahidol.ac.th/English/journal_NS/pdf/vol27/supplement2/preeyaporn.pdf

 จาตุรนต์ ตั้งสังวรธรรมะ.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยาในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2555.จากมหาวิทยาลัยศรีนคริทร์วิโรฒ: http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JMHS/article/view/1302

 Chaturon Tangsangwornthamma.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยาในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2.วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2555.จากมหาวิทยาลัยศรีนคริทร์วิโรฒ: http://thailand.digitaljournals.org/index.php/JMHS/article/view/5225

วัชรี ตริยาวธัญญา.ผลลัพธ์ของการให้คำแนะนำปรึกษาโดยเภสัชการในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลหนองคาย.วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2555.จากข่อนแก่นเวชศาสตร์: http://thailand.digitaljournals.org/index.php/KKMJ/article/view/6920

หมายเลขบันทึก: 480278เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 07:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท