บอลติก Baltic : ประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


ทะเลบอลติก

ข้อมูลทั่วไปของประเทศบอลติก

ในบทนี้จะกล่าวถึงลักษณะต่างๆโดยสังเขปของกลุ่มประเทศบอลติก ซึ่งจะสามารถทำความเข้าใจเพื่อที่จะนำไปสู่การทำความเข้าใจในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศบอลติกได้ต่อไป โดยกลุ่มประเทศบอลติกทั้ง 3 ประเทศ ประกอบด้วย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ซึ่งทั้ง 3 ประเทศนี้เองก็เคยตกเป็นรัฐๆหนึ่งในสหภาพโซเวียตเช่นกัน และท้ายที่สุดก็ได้แยกตัวออกมาเพื่อประกาศเอกราชเป็นของตัวเอง

1. สาธารณรัฐเอสโตเนีย[1]

                สาธารณรัฐเอสโตเนีย เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในกลุ่มสาธารณรัฐบอลติก (Baltic Republic) แม้ว่าจะเป็นประเทศที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของหลายๆชาติมากกว่า 700 ปี ตั้งแต่เยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน โปแลนด์ และรุสเซียก็ตาม แต่ก็ยังคงสามารถรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่ไว้ได้เช่นเดิม

เอสโตเนียตั้งอยู่ติดทะเลบอลติกทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป ทิศเหนือและทิศตะวันตกติดกับอ่าวฟินแลนด์และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดกับสหพันธรัฐรัสเซีย (Russia Federation) และทะเลสาบเปปซี่ (Peipsi) ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ขอบยุโรป ทิศใต้ติดกับลัตเวีย มีเนื้อที่ 45,226 ตารางกิโลเมตร เอสโตเนียมีประชากรราว 1.4 ล้านคน (ค.ศ. 2006) เป็นชาวเอสโตเนียร้อยละ 61.5 และชาวรัสเซียร้อยละ 30.3 ที่เหลือเป็นชาวยูเครน เบโรรัสเซีย ฟินส์และชาวยิว ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอร์ (Lutheran) ภาษาราชการคือภาษารัสเซีย แต่ว่าใน ค.ศ. 1989 เปลี่ยนมาเป็นภาษาเอสโตเนีย ซึ่งเป็นภาษาตระกูลฟินโน-อูริค (Finno-Ugric) ที่ใกล้เคียงกับภาษาฟินนิชและภาษาฮังการี ชาวเอสโตเนียนั้นจึงมีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมกับชาวฟินแลนด์มากกว่าชาวลัตเวีย ทั้งชาวฟินแลนด์ก็นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนที่เอสโตเนียมากกว่าชาติอื่นๆ เนื่องจากการเดินทางที่สะดวกและระยะสั้น มีเมืองหลวงคือทาลินน์ (Tallinn) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีความสวยงามมากที่สุด ซึ่งสหภาพโซเวียตเคยอวดอ้างชาวต่างชาติด้วยการจัดแข่งขันกีฬาทางน้ำในกีฬาโอลิมปิก ค.ศ. 1980 มาแล้ว

ด้วยลักษณะประเทศที่ติดกับทะเลจึงเป็นตัวกำหนดสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศ ซึ่งไม่หนาวไม่ร้อนมากนัก แต่พายุไซโคลนและอากาศบริเวณไหลทวีปก็มีส่วนทำให้อากาศผันแปรไม่แน่นอน บางปีในฤดูร้อน อากาศร้อนจัดและแห้ง และฤดูหนาวก็จะมีหมอกมาก หรือไม่ก็เป็นลักษณะตรงกันข้ามคือฤดูร้อนอากาศหนาวและมีฝน แต่ฤดูหนาวอากาศกำลังสบายๆ

2. สาธารณรัฐลัตเวีย

สาธารณรัฐลัตเวียตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป ริมฝั่งทะเลบอลติก (Baltic Sea) มีพรมแดนติดกับ เอสโตเนีย, เบรารุส, รุสเซีย, และลิทัวเนีย ลัตเวียเคยอยู่ในความปกครองของเยอรมนี, โปแลนด์, ลิทัวเนีย, สวีเดน, และรุสเซีย

ประชากรของชาวลัตเวียร้อยละ 54 ซึ่งถูกเรียกว่าชาวเลต (Letts) และเป็นชาวรุสเซียร้อยละ 33 ประชากรเหล่านี้มีชาติพันธุ์สัมพันธ์กับชาวลิทัวเนียน แต่ว่าพวกเขามีวัฒนธรรมและภาษาเป็นของตนเอง นอกจากนี้ยังมีประชากรกลุ่มเล็กๆ อย่างชาวโปแลนด์ ชาวลิทัวเนียน และชาวอูเครเนียนรวมอยู่ด้วย ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิการลูเทอรัน, นิกานโรมันคาทอลิก, หรือกรีกออร์โทดอกซ์

สภาพภูมิศาสตร์นั้นลัตเวียประกอบไปด้วยภูเขาเล็กๆ และหุบเขาตื้นๆ เป็นส่วนใหญ่ ยังมีทะเลสาบเล็กๆและหนองน้ำอีกมากมาย ส่วนที่เป็นพื้นที่ป่านั้นครอบคลุมถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ จุดที่สูงที่สุดคือ ภูเขา Gaizina ซึ่งสูง 311 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีแม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำ Western dvina ซึ่งไหลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือโดยไหลมาจากเบรารุสผ่านภาคกลางของลัตเวีย และไหลเข้าสู่อ่าวริกาตามแนวชายฝั่งทะเลยาว 472 กิโลเมตรนั้น เต็มไปด้วยรีสอร์ตที่มีชื่อเสียงอีกด้วย อุณหภูมิในลัตเวียขึ้นลงประมาณ -7 องศาเซลเซียส ถึง 3 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม และในเดือนกรกฎาคมขึ้นสูงถึง 16 – 18 องศาเซลเซียส ในแต่ละปีมีฝนมากเช่นกัน

3. สาธารณรัฐลิทัวเนีย

ลิทัวเนียเป็นประเทศบนทะบอลติก (Baltic) ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของยุโรป ซื่งทางราชการคิอ Lietuvos Respublica สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Republic of Lithunia) วิลนีอุส (Vilnius) คือเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุด

ประชากรประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของลิทัวเนียเป็นชาวลิทัวเนีย กลุ่มเชื้อชาตินั้นเป็นเจ้าของขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษา ส่วนที่เหลือของประชาชนเป็นชาวรัสเซียหรือโปแลนด์ ลิทัวเนียมีชนกลุ่มน้อยชาวเบรารุสเซีย และยูเครน

ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรลิทัวเนียเป็นโรมันคาทอลิกอื่นๆ ทั้งหมดเป็นลูเทอรันเชิร์ช หรือนิกายโปรเตสแตนท์ มีชาติกลุ่มเล็กๆของชาวยิว วัฒนธรรมและจารีตประเพณีของลิทัวเนียพัฒนาการดำรงชีวิต และอยู่ภายใต้กานำของโรมันคาทอลิก ประชาชนทั้งหมดอาศัยในบริเวณเมืองและใส่เสื้อผ้าสไตล์ตะวันตก ชาวลิทัวเนียจะทะนุถนอมเครื่องประดับชุดแต่งกายประจำชาติและสวมเสื้อในเทศกาลต่างๆ

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ พื้นที่ทั้งหมดของลิทัวเนียประกอบด้วยที่ราบ หรือเนินเรียบๆ และที่เป็นเนินเรียบที่สุดอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่เอียงลงถึงกลางพื้นที่ต่ำและปรากฏขึ้นเล็กน้อยในตะวันตก ประกอบด้วยทะเลสาบเล็กๆ ประมาณ 3,000 แห่งแม่น้ำร้อยสาย แม่น้ำที่ยาวที่สุดและใหญ่ที่สุดคือแม่น้ำนีแมน (Neman) เรียก Nemunas ในภาษาลิทัวเนีย เดือนมกราคมเป็นเดือนที่หนาวที่สุดของลิทัวเนีย อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาฟาเรนไฮต์ ใกล้ทะเลถึง 21 องศาฟาเรนไฮต์ คือมีสภาพอากาศที่หนาวมากพอสมควร

สภาพและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกลุ่มบอลติก

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศบอลติกทั้ง 3 ประเทศ ในด้านต่างๆ ซึ่งก็มีในหลายๆด้าน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งความร่วมมือในด้านอื่นๆ อีกมากมายที่มีการทำข้อตกลงซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็จะนำมาซึ่งความเป็นเอกภาพของกลุ่มประเทศบอลติกด้วยในส่วนแรกก็จะกล่าวถึงความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศมหาอำนาจ และองค์กรต่างๆในระหว่างประเทศ ซึ่งมีบทบาทต่อกลุ่มประเทศบอลติดมากเช่นกัน

1.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกลุ่มบอลติกและรัสเซีย[2]

ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและสาธารณรัฐบอลติกในช่วงหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายได้เริ่มเกิดความตึงเครียดขึ้น เป็นเพราะทัศนคติของสาธารณรัฐ บอลติกที่สั่งสมมาตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียต โดยสาธารณรัฐบอลติกมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อรัสเซียเป็นอย่างมากโดยสาธารณรัฐบอลติก มองว่ารัสเซียเป็นผู้ครอบครองที่ทำลายประเทศ จากความตึงเครียดได้ พัฒนาให้เกิดความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการเกิดกระแสต่อต้านชนกลุ่ม น้อยชาวรัสเซียผ่านทางการออกกฎหมายความเป็นพลเมือง เกิดการเรียกร้องให้รัสเซียถอนกอง กำลังออกไปจากดินแดนสาธารณรัฐบอลติก รวมถึงเรียกร้องเขตแดนที่สูญเสียไปจากการผนวก รวมเข้ากับสหภาพโซเวียต และเรียกร้องให้รัสเซียชดใช้ค่าเสียหายที่สหภาพโซเวียต ได้กระทำใน ระหว่างเข้ามาปกครอง จากประเด็นปัญหาต่างๆนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้นใน ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและสาธารณรัฐบอลติก ส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศของ รัสเซียที่มีต่อสาธารณรัฐบอลติกเป็นไปในทางที่ข่มขู่คุกคามมากกว่าเป็นมิตร โดยเครื่องมือที่ รัสเซียใช้ดำเนินความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐบอลติกคือ การใช้วาทศิลป์ข่มขู่ และการใช้อิทธิพล

ทางเศรษฐกิจกดดันสาธารณรัฐบอลติก และประเด็นปัญหาที่ทำให้ความสัมพันธ์เกิดความตึง เครียดมากขึ้นคือ ความพยายามในการเข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศทางตะวันตกของสาธารณรัฐบอลติก โดยเฉพาะองค์กรNATO เนื่องจากสาธารณรัฐบอลติกต้องการหลบเลี่ยงอิทธิพลของรัสเซีย ทำให้รัสเซียเกิดความไม่พอใจและดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ใช้การข่มขู่ คุกคามสาธารณรัฐบอลติกและใช้การกดดันทางเศรษฐกิจมากขึ้น แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง รัสเซียและสาธารณรัฐบอลติกจะเสื่อมลงอย่างมากจากประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ทั้งนี้ รัสเซียก็ไม่สามารถที่จะดำเนินนโยบายที่รุนแรงต่อสาธารณรัฐบอลติกได้มากนัก เพราะสาธารณรัฐบอลติกนั้นแตกต่างจากสาธารณรัฐอดีตสหภาพโซเวียตอื่นๆ รวมถึงประเด็นความขัดแย้งระหว่างกันมักมีตะวันตกเข้ามามีเป็นผู้สังเกตการณ์ ดังนั้นรัสเซียจึงถูกจำกัด เครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อสาธารณรัฐบอลติก โดยมีเครื่องมือในการดำเนิน นโยบายเพียงการใช้วาทศิลป์คำพูดในการข่มขู่คุกคาม และใช้การกดดันทางเศรษฐกิจ และต่อมา เมื่อสาธารณรัฐบอลติกเข้าเป็นสมาชิกขององค์กร NATO และ EU ทำให้การดำเนินนโยบาย ต่างประเทศของรัสเซียอยู่ในขอบเขตที่จำกัดขึ้นไปอีก เพราะสาธารณรัฐบอลติกไม่ใช่เขตอิทธิพล ของรัสเซียอีกต่อไป รวมถึงเครื่องมือในการดำเนินนโยบายก็ถูกจำกัดไปด้วย เนื่องจากรัสเซียไม่ สามารถใช้การกดดันทางเศรษฐกิจได้มากเหมือนในอดีต เพราะสาธารณรัฐบอลติกได้เข้าเป็น สมาชิก EU อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเครื่องมือที่รัสเซียใช้ดำเนินต่อสาธารณรัฐบอลติกได้ จึงมีเพียง การข่มขู่คุกคามเท่านั้น รวมถึงรัสเซียยังต้องระมัดระวังในการดำเนินความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐ บอลติก เพื่อไม่ให้เกิดการเผชิญหน้ากับตะวันตกด้วย[3]

 

รายละเอียดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกลุ่มบอลติดกับรัสเซีย

ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ. 1940 สหภาพโซเวียดได้ผนวกบอลติกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ

ซึ่งในปี ค.ศ. 1939 เมื่อเยอรมนีจุดชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เยอรมนีได้ลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานซึ่งกันและกัน (Nazi-Soviet Non-Aggression Pact) กับสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1939 กติกาสัญญาดังกล่าวหรือที่มีชื่อเรียกว่า กติกาสัญญาโมโลตอฟ – ริเบนตอฟ (Molotov-Ribbentrop Pact) ทั้งยังมีพิธีสารลับเพิ่มเติม (Secret Supplementary Protocol) ระหว่างสองประเทศ โดยสหภาพโซเวียตจะสามารถเข้าครอบครองเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และดินแดนบางส่วนของประเทศฟินแลนด์ได้เพื่อแลกเปลี่ยนกับการให้เยอรมนีเข้ายึดครองโปแลนด์ทั้งหมด ภายหลังการลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานต่อกันได้สามเดือน เอสโตเนียก็ถูกบีบบังคับให้ต้องยอมรับในความตกลงให้สหภาพโซเวียตเข้ามาจัดตั้งฐานทัพเรือขึ้นภายในประเทศ อีก 1 ปีต่อมา สหภาพโซเวียตก็กดดันให้รัฐบาลที่ไม่สนับสนุนการยึดครองของโซเวียตนั้นลาออก และได้แต่งตั้งรัฐบาลและรัฐสภาชุดใหม่ที่สนับสนุนสหภาพโซเวียตขึ้นปกครองประเทศ ในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 รัฐสภาของประเทศเอสโตเนียก็ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองและเรียกชื่อประเทศใหม่ว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตแห่งเอสโตเนีย โดยในช่วงที่สหภาพโซเวียตเข้ามาปกครองประเทศกลุ่มบอลติกนั้นได้นำระบอบการปกครองของโซเวียตมาประยุกต์ใช้และเริ่มควบคุมทางสังคมอย่างเคร่งครัด กับประชาชน ตัวอย่างเช่นประเทศเอสโตเนียซึ่งถ้าหากมีผู้ใดต่อต้านการปกครองของรัสเซียก็จะถูกจับและถูกส่งไปยังค่ายกักกันแรงงาน (Collective labour camp) ในไซบีเรีย โดยประมาณว่ามีชาวเอสโตเนียมากกว่า 10,000 คนถูกจับและส่งไปใช้แรงงานในไซบีเรีย อย่างไรก็ตาม ก่อนที่สงครามโลกจะสิ้นสุดลงก็มีชาวเอสโตเนียกว่า 70,000 คนอพยพหนีไปตั้งรกรากยังประเทศตะวันตกอื่นๆ

                นโยบายปรับเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบโซเวียต (Sovietization) โดยการดำเนินนโยบายปรับระบบเศรษฐกิจของของประเทศกลุ่มบอลติกให้มีความสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจโซเวียต ชาวนาถูกบังคับให้เข้าร่วมโครงการนารวม (collective farms) และผลิตผลเพื่อรัฐ มีการขยายอุตสาหกรรมหนักโดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมไฟฟ้าและเคมี นอกจากนี้รัฐยังใช้มาตรการควบคุมทางการเมืองและสังคมอย่างหนัก ยังดำเนินการปราบปรามและเนรเทศผู้คนอยู่เรื่อยๆ  จึงทำให้ประชาชนมีจำนวนน้อยลง และวัฒนธรรมของโวเวียตก็ได้แพร่กระจายไปมากยิ่งขึ้น

                สหภาพโซเวียตทำให้ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการของกลุ่มประเทศบอลติกในระหว่างช่วงเวลาที่โซเวียตได้เข้ายึดครองอยุ่ ภาษารัสเซียเป็นภาษาแรกในวงการปกครอง ในวงการธุรกิจ หนังสือพิมพ์ส่วนใหย่และของรายการโทรทัศน์ต่างๆ การเพิ่มขึ้นของจำนวนชาวรัสเซียได้ลดอิทธิพลของภาษาและวัฒนธรรมของประชาชนชาวบอลติกไปมาก ซึ่งการเข้ามาของคนรัสเซียก็ทำให้ชาวบอลติกเองกลายเป็นชนกลุ่มน้อยในแผ่นดินของเขาเอง สหภาพโซเวียตยังจำกัดด้านศาสนาในประเทศโดยอนุญาตให้มีกิจกรรมทางศาสนาได้แต่ห้ามมิให้มีการสอนศาสนา ทั้งยังไม่ให้คนไปโบสถ์อีกด้วย

 

2.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกลุ่มบอลติกกับกลุ่มความร่วมมือระดับโลกต่างๆ

โดยกลุ่มประเทศบอลติกทั้งหลายพยายามที่จะเข้าหากลุ่มองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ  สาเหตุประการสำคัญคือ

2.1 ที่ต้องเข้าร่วมกับกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศก็เพื่อความต้องการที่จะรับรองความเป็นเอกราชของกลุ่มประเทศบอลติกเอง อีกทั้งยังต้องการกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศเหล่านี้ สนับสนุนระบบการเมืองการปกครองและยอมรับความเป็นเสรีภาพ วัฒนธรรม สังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกทำลายไปตลอดที่ผ่านมาหลังจากสหภาพโซเวียตยึดครอง

2.2   ความต้องการฟื้นฟูระบบทางด้านเศรษฐกิจและการทูต นับตั้งแต่ภายหลังการเข้ายึดครองของสหภาพโซเวียต กลุ่มประเทศบอลติกก็ได้ริเริ่มที่จะปฎิรูประบบทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพื่อการฟื้นฟูประเทศ ส่วนในด้านการทูตนั้น ประเทศกลุ่มบอลติกต้องการความเสถียรภาพในความเป็นเอกราชของตน ดังนั้นจึงต้องพยายามเข้าหากลุ่มประเทศมหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้มีการทำข้อตกลงในหลายๆด้าน เช่น การค้าการลงทุน โดยเฉพาะหลังจากที่สหภาพโซเวียตยึดครองแล้วช่วงปี 1941-1991 สหรัฐอเมริกาเป็นชาติหนึ่งที่รับรองความเป็นเอกราชของประเทศเอสโตเนีย กลายเป็นประเทศสาธารณรัฐเอสโตเนีย และได้เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในเวลาต่อมา

ประเทศเอสโตเนียก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติถึงความเป็นเอกราชของตน โดยก่อนหน้านั้นรัฐบาลเอสโตเนียซึ่งคาดการณ์ว่าสหภาพโซเวียตจะใช้กองกำลังทหารปราบปราม ก็ได้มีการเตรียมการที่จะตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้น กองทหารโซเวียตได้เคลื่อนกำลงัเพื่อเข้ายึดสถานีโทรทัศน์และยึดสถานที่ที่สำคัญต่างๆด้วย ในเมืองทาลินน์ เอสโตเนียก็ประกาศยืนยันความเป็นเอกราชของตน แต่ปรากฏว่ามีความพยายามที่จะก่อการรัฐประหารในสหภาพโซเวียตแต่ก็ล้มเหลว ดังนั้นสหภาพโซเวียตจึงได้รับรองความเป็นเอกราชของเอสโตเนีย ประเทศเอสโตเนียได้เข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติ(United Nation) เมื่อวันที่ 17 กันยายน 1991 และช่วงก่อนเดือนกันยายนจะสิ้นสุดลง นานาประเทศกว่า 30 ชาติก็ยอมรับรองความเป็นเอกราชของเอสโตเนีย

                ในปลายเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1992 เอสโตเนียประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งกำหนดให้สภาแห่งชาติ (Riigikogu) เป็นสถาบันการปกครองสูงสุดซึ่งจะเลือกประธานาธิบดีเป็นประมุขเพื่อจัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ก็มีการดำเนินการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง คณะรัฐบาลผสมขึ้นปกครองประเทศ นโยบายสำคัญของรัฐบาลก์คือการดำเนินการให้กองทหารโซเวียตถอนกำลังทั้งหมดออกจากประเทศ แต่รัฐบาลโซเวียตก็พยายามหน่วงเหี่ยวเวลาโดยประกาศว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็วที่สุดคือปลายปี ค.ศ. 1994 ในด้านนโยบายการต่างประเทศเอสโตเนียได้ร่วมมือกับลิทัวเนีย และลัตเวีย จังตั้งสันนิบาตประเทศบอลติก (Baltic Leagues) ขึ้นเพื่อสนับสนุนและร่วมมือกันพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจ ใน ค.ศ. 1992 ทั้งสามประเทศได้ยกเลิกข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกันโดยไม่มีการกีดกันเรื่องโควตาการส่งสินค้าข้ามพรมแดน และไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรรวมทั้งให้พลเมืองใช้หนังสือประทับตราเดินทางร่วมกัน นอกจากนี้ เอสโตเนียยังพยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้านานาประเทศในยุโรป โดยเฉพาะฟินแลนด์ซึ่งมีความใกล้ชิดกันทางด้านวัฒนธรรม รวมทั้งการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งจะมีรายละเอียดให้ทราบต่อไป อาทิเช่น องค์การการประชุมเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือกันในยุโรปหรือซีเอสซีอี (The Conference on Security and Cooperation in Europe – CSCE ) กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (International Monetary Fund – IMF) ธนาคารโลก (World Bank) สภาแห่งยุโรป (Council of Europe) สมาชิกองการนาโตในฐานะภาคีเพื่อสันติภาพ (Nato-Partnership for Peace) และอื่นๆในปลายทศวรรษ 1990 เอสโตเนียยังเป็นประเทศแรกของอดีตบริวารโซเวียต ซึ่งมีเสถียรภาพมั่งคงทางเศรษฐกิจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปหรืออียู (European Union – EU )

 

นโยบายต่างประเทศของประเทศลัตเวีย[4]


             เนื่องจากลัตเวียยังคงมีความระแวงต่อ ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นจากรัสเซียตลอดเวลา นโยบายด้านความมั่นคงที่แถลงออกมาอย่างชัดแจ้งของ ลัตเวีย คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงของลัตเวีย ซึ่งพัฒนาการล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 สมาชิกองค์การ NATO 19 ประเทศ ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวะเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การ NATO ใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และในด้านนโยบายต่างประเทศ คือ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เพื่อเข้าร่วมกระบวนการรวมตัวของยุโรป โดยลัตเวียและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มบอลติก คือ เอสโตเนีย และลิทัวเนีย พร้อมด้วยสาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 (ค.ศ.2004) นอกจากนี้ ลัตเวียและประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มบอลติกยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์กร ภูมิภาคอื่นๆ เช่น คณะมนตรีบอลติก (Baltic Council) และองค์การเพื่อความมั่นคง และความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe-OSCE) เป็นต้น        

 

นโยบายต่อสหภาพยุโรปของลัตเวีย

             เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เอสโตเนียและลิทัวเนีย พร้อมประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย รวม 10 ประเทศ ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์ สรุปพัฒนาการของลัตเวียต่อสหภาพพยุโรปในช่วงเวลาที่ผ่านมา

 1. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 รัฐสภาลัตเวียได้ให้สัตยาบันต่อความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (Free Trade Accord) เป็นผลให้ลัตเวียสามารถเป็นภาคีสมาชิกความตกลงดังกล่าว กับสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โดย ส่งผลให้ลัตเวียได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ จากสหภาพยุโรป ในรูปของอัตราภาษีศุลกากร โควต้าและ GSP

2. ลัตเวียได้ลงนามความตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรป (Association Agreement) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2538 โดยมีการกำหนดระยะเวลาปรับตัวไว้ ต่อมาลัตเวียได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ EU โดยสมบูรณ์ต่อ คณะกรรมมาธิการยุโรป

เมื่อวันที่ 26กันยายน 2539 ลัตเวียได้ส่งคำตอบแบบสอบถามรายละเอียดให้ คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาถึงความพร้อมที่จะทำการเจรจาว่าด้วยการเข้าเป็น สมาชิกภาพ EU โดยสมบูรณ์ ซึ่งลัตเวียได้พยายามทุกวิถีทางที่จะปฏิรูประบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้สอดคล้องกับมาตรฐานและระเบียบกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป เพื่อที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปโดยสมบูรณ์ในช่วงปี ค.ศ.2004 พร้อมกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก ซึ่งได้แก่ ลัตเวียและลิทัวเนีย ทั้งนี้ แม้ว่า ลัตเวียจะไม่ได้ร่วมอยู่ในกลุ่มแรกที่สหภาพยุโรป เริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อรับสมาชิกใหม่ เนื่องจากระดับการพัฒนาของลัตเวียนั้นยังล้าหลัง และไม่เจริญเท่าประเทศอื่น ๆ เช่น เอสโตเนีย โปแลนด์ ฮังการี และสาธารณรัฐเช็ก ก็ตาม แต่ลัตเวียถือว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นเป้าหมายสำคัญในด้านการต่างประเทศ

นโยบายต่อองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(NATO)ของลัตเวีย

             พัฒนาการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ - ก่อนที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO อย่างสมบูรณ์ในปี 2547 ลัตเวียแสดงความปรารถนาที่จะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ขององค์การ NATO โดยเร็วเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงและเสถียรภาพ ทั้งนี้ ลัตเวียได้เข้าเป็นสมาชิกในโครงการหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ (Partnership for Peace –PfP) ขององค์การ NATO อย่างไรก็ดี การขยายตัวขององค์การ NATO ไปทางตะวันออกจะส่งผลกระทบทำให้ รัสเซียมีความกังวลต่อดุลยภาพทางทหารในภูมิภาคยุโรป ดังนั้น การเฝ้าดูท่าทีของรัสเซียจึงเป็นปัจจัยสำคัญด้วย และแม้ว่าบรรดาผู้นำของลัตเวียจะทราบดีถึงสถานภาพดังกล่าวของตนเองต่อ องค์การ NATO แต่บรรดาผู้นำรัฐบาลของลัตเวียในแต่ละสมัยยังคงย้ำถึงความปรารถนาที่จะเข้า เป็นสมาชิก NATO โดยเร็วในทุกโอกาส บรรดารัฐบอลติกมีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของค์การ NATO เนื่องจากบรรดารัฐบอลติกไม่มีทางเลือกอื่น นอกเหนือจากการเข้าเป็นสมาชิกของ NATO และสหภาพยุโรป เพื่อเป็นหลักประกันทางความมั่นคงและเศรษฐกิจของตนเอง แต่อย่างไรก็ดี บรรดารัฐบอลติกทั้งสามประเทศต่างอยากจะได้รับคำยืนยันจาก NATO ว่า ยินดีจะรับรัฐบอลติกทั้งสามประเทศเข้าเป็นสมาชิกของ NATO - พัฒนาการล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของลัตเวีย คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 สมาชิกองค์การ NATO 19 ประเทศ ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวาเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การ NATO ใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่กรุงวอชิงตันดี.ซี.
           

นโยบายด้านการต่างประเทศของเอสโตเนีย

1.นโยบายต่อสหภาพยุโรป(EU)

             เอสโตเนีย และประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศบอลติก คือ ลัตเวีย และลิทัวเนีย พร้อมด้วยสาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกียได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่1พฤษภาคม2547
                                       - เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2538 รัฐบาลเอสโตเนียได้ลงนามความตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบกับสหภาพยุโรป (Association Agreement) ความตกลงฉบับนี้กำหนดมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อทั้งรัฐสภาเอสโตเนียและรัฐสภา ของประเทศสมาชิก EU 15 ประเทศ ให้สัตยาบันครบหมด ซึ่งความตกลงว่าด้วยการเข้าเป็นสมาชิกสมทบEUของเอสโตเนีย ได้รับสัตยาบันแล้วจากรัฐสภายุโรปและรัฐสภาของประเทศสมาชิก EU

             - เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอให้เอสโตเนียพร้อมกับ
สาธารณรัฐ เช็ก โปแลนด์ ฮังการี สโลเวเนียและไซปรัสเป็นประเทศที่มีคุณสมบัติที่จะเข้าร่วมในการเจรจาขยาย สมาชิกภาพ(Enlargement)ในรอบแรก
                                      - เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 นาย Toomas Hendrik Ilves รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้แถลงถึงความสำเร็จของนโยบายในเรื่องดังกล่าวที่เอสโตเนียได้เพียรพยายาม มาตั้งแต่ปี 2539 ต่อรัฐสภาว่า ปัญหาสำคัญที่สำคัญในการเจรจาเข้าเป็นสมาชิก EU ของเอสโตเนีย คือ ระยะเวลาของการปรับตัวในการที่จะดำเนินการตามข้อกำหนดของ EU ซึ่งหมายถึงระยะเวลาที่จำเป็นสำหรับการปรับกฎเกณฑ์ต่างๆ ของเอสโตเนียให้เข้ากับของ EU
             - นาย Toomas Hendrik Ilves รัฐมนตรีต่างประเทศ ยังได้ระบุถึงเป้าหมายที่สำคัญ
ของ เอสโตเนียต่อ EU ในปี 2541 คือ การลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการตรวจลงตรากับประเทศภาคีความตกลง Schengen ซึ่งการยกเลิกการตรวจลงตรากับประเทศภาคีฯ นี้ถือว่าสอดคล้องกับการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างเอสโตเนียกับEUในระดับใหม่
           - ในระหว่างการหารือกับนายกรัฐมนตรี Paavo Lipponen แห่งฟินแลนด์เมื่อเดือน
กรกฎาคม 2541 นายกรัฐมนตรี Mart Siimann แห่งเอสโตเนีย ได้แสดงท่าทีว่า เอสโตเนียสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อโครงการนโยบายมุ่งเหนือ (Northern Dimension) ของ EU ที่ฟินแลนด์เตรียมดำเนินการอยู่และหวังว่า โครงการดังกล่าวซึ่งได้เน้นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปเหนือในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันโดยคำนึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม จะเป็นประโยชน์ต่อเอสโตเนียซึ่งจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาจุดเชื่อมระหว่าง ภูมิภาค ยุโรปทางเหนือและใต้และจากเอสโตเนียไปยังเมืองSt.Petersburgของรัสเซีย

2.นโยบายต่อองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(NATO)

             2.1 พัฒนาการสำคัญของเอสโตเนียก่อนเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ในปี 2547 คือ
การ แสวงหาลู่ทางเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การ NATO โดยเร็วที่สุดในการขยายสมาชิกภาพของ NATO โดยเป็นนโยบายสำคัญของเอสโตเนียและกลุ่มประเทศบอลติกอื่น เพื่อให้เป็นหลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยของเอสโตเนียเอง ทั้งนี้ เอสโตเนียได้เป็นสมาชิกในโครงการหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ (Partnership for Peace -PfP) ของ NATO ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เกรงว่าการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของเอสโตเนีย และกลุ่มประเทศบอลติกจะเป็นการสร้างความไม่พอใจให้แก่รัสเซีย

                             2.2 สำหรับกิจกรรมของเอสโตเนียกับ NATO ปรากฏว่า เมื่อเดือนกันยายน 2541 กองกำลังของเอสโตเนียได้เข้าร่วมซ้อมรบภายใต้โครงการซ้อมรบ “Partnership for Peace “ ที่ Macedonia ซึ่งกองกำลังที่เข้าร่วมซ้อมรบประกอบด้วยประเทศต่างๆ จากประเทศสมาชิก NATO และจากนอร์เวย์ เดนมาร์ก พร้อมทั้ง ฮังการี โปแลนด์ โรมาเนีย อัลบาเนีย บัลกาเรีย มาเซโดเนีย มอลโดวา ยูเครน อาเซอร์ไบจาน ลัตเวีย สำหรับฟินแลนด์และลิทัวเนียได้ส่งผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมแทน

             2.3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ณ ที่ประชุมสุดยอด NATO เอสโตเนียพร้อมกับประเทศ
ใน เขตยุโรปกลางและตะวันออก 6 ประเทศ คือ บัลแกเรีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวะเกีย และสโลวีเนีย ได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการขององค์กร NATO และ ในเดือนมีนาคม 2546 ได้มีการให้สัตยาบันแก่ข้อตกลงการเข้าร่วมองค์กร NATO ซึ่งมีผลให้เอสโตเนียเป็นสมาชิกองค์กร NATO อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2547

นโยบายด้านการต่างประเทศของลิทัวเนีย[5]

การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 (ค.ศ. 2004) ลิทัวเนียและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มบอลติก คือ เอสโตเนียและลัตเวีย พร้อมด้วยสาธารณรัฐเช็ก

หมายเลขบันทึก: 480152เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แรก ๆ เขียนยาว ทำไมหลัง ๆ มันสั้นลงสั้นลง

ผมใช้ ใช้ chrome เร็ว และง่าย ซับพอร์ทกับทุก ๆ เวป ส่วน fox ไม่ชอบเลย

เปลี่ยนสิ แล้วจะดีเอง

เวลาผมเขียนก็ลงที่อื่นก่อน ค่อยลงเวป เพราะสมัครก่อน เขียนเวปเลย มันหายบ่อย เวปนี้เอ๋อบ่อยด้วยครับ

และสุดท้าย ผมมันบ้าเสพหนังเข้าเส้น

เนื้อหา น่าสนใจคะ ขออนุญาติ เพิ่มเกี่ยวกับ 3 ประเทศ บอลติก

1.เอสโตเนีย ตั้งอยู่ในฤดูหนาวไม่มีฝนคะมีเเต่หิมะตก ราว 5 เดือนต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ย -20-30 องศาเซลเซีย หน้าร้อนอุณหภูมิเฉลี่ย +21 องศาเซลเซีย

2.ชาวเอสโตเนีย  มีความคล้ายคลึงกับชาวฟินส์มากที่สุด ทั้ง 2 ประเทศนี้ใช้ ภาษาตระกูลฟินโน-อูริค (Finno-Ugric) โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ และ ชาติพันธุ็์์ุ จึงทำให้ชา้วเอสโตเนีย มีความแตกต่างจากชาว ลัทเวีย และชาวลิทัวเอเนีย ค่ะ



 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท