Parkinson’s Disease


โรค “สั่นสันนิบาต” หรือโรคพาร์กินสันนั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโรคที่เรียกว่าการผิดปกติของการเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวร่างกายและมีอาการอื่นควบคู่ด้วย ส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ คนไทยเรียกว่า โรค “สั่นสันนิบาต” โรคพาร์กินสันนั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโรคที่เรียกว่าการผิดปกติของการเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวร่างกายและมีอาการอื่นควบคู่ด้วย ส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

สาเหตุ
Neuron ซึ่งอยู่ในพื้นที่หนึ่งของสมองที่ชื่อว่า substantia nigra ทำหน้าที่ผลิตโดปามีน  ได้ตายลงหรือทำงานได้แย่ลง  ทำให้เสียสมดุลของสารโดปามีนในสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสมองขาดโดปามีน จึงเกิดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติขึ้น 

อาการ
• อาการสั่นและอาการเกร็ง
• อาการเคลื่อนไหวช้า
• การทรงตัวไม่ดี เดินในท่าผิดปกติ
• ใบหน้าเฉยเมย น้ำลายสอมุมปาก
• ท้องผูก,ท้อแท้เศร้าซึม,ปวดตามร่างกาย,อ่อนเพลีย,ภาวะสมองเสื่อม,cognitiveลดลง

 
การป้องกัน
• ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
• พยายามอย่าเครียด ทำใจให้ผ่อนคลาย
• เวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
• ทานวิตามินบำรุงสมองหรืออาหารที่มีวิตามินบีสูง
• ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
• ตรวจร่างกายทุกปี หากพบรอยโรคจะได้รักษาแต่เนื่องๆ
 
การรักษาโรค
 การรักษาทางยา
 - อาร์เทน (Artane) และโคเจนทิน (Cogentin) 
 - ไซนีเมต (Sinemet) และมาโดพาร์ (Madopar)
 - พาโรเดล (Parodel), โดเพอร์จิน (Dopergin) และซีลานซ์ (Celance) 
 - จูเมกซ์ (Jumex)
• การรักษาทางกายภาพบำบัด  ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในหัวข้อการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและสมส่วน
• การรักษาโดยการผ่าตัด

กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดกับโรคพาร์กินสัน
MOHO ประกอบด้วย
1. Volition
 
• Confidence : ความมั่นใจในตนเอง
• Interest : ความสนใจต่อกิจกรรมหรือสิ่งต่างๆ
2. Habituation
• Self-care : การดูแลตนเอง  (ADL)
• Productivity : บทบาทที่ทำเป็นประจำ ผลงานที่จับต้องได้
• Leisure : การพักผ่อนและกิจกรรมยามว่าง
3. Performance
• Interpersonal skill : ทักษะการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
• Cognitive ability : ระดับสติปัญญา ความรู้คิด
• Physical ability : ด้านกายภาพ 
   Environment
   1.) Physical environment : สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
   2.) Social support : การสนับสนุนทางสังคม
 
 
บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด
• เน้นเรื่องความปลอดภัยในการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน
• ให้ความสำคัญของการทำงานประสานกันของตาและมือ
• ดูปัญหาเรื่องการกลืนลำบาก
• เลือก และให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
• ปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำกิจกรรม เพิ่มโอกาสในการทำกิจกรรม
• ปรับกิจกรรมลดความละเอียดของกิจกรรม ลดขั้นตอนการทำกิจกรรมให้สั้นลง
• แนะนำ จัดหา ให้ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมที่OTเห็นว่ามีความจำเป็น
• ให้คำแนะนำในการดูแลตนเองทั้งแก่ผู้ป่วยและญาติ 
หมายเลขบันทึก: 480102เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012 01:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท