ปํญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาชุมชน


ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาชุมชน

        ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาต่างๆมากมายที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งรวดไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน ปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติด และปัญหาทางการเมือง ซึ่งหลายฝ่ายที่มีส่วนรับผิดชอบกำลังช่วยกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น โดยแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างตรงจุดนั้นก็คือ “การพัฒนาชุมชน” (Community Development ) เพราะการพัฒนาชุมชนถือได้ว่าเป็นแนวทางที่สำคัญในการพัฒนา และสามารถพัฒนาได้ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ซึ่งการพัฒนาชุมชนเป็นแนวทางที่    ทุกประเทศใช้ในการพัฒนา โดยการพัฒนาชุมชนได้เริ่มนำมาใช้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากประเทศต่างๆในโลกแบ่งตามอุดมการณ์ และลัทธิทางการเมือง  และเศรษฐกิจออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มประชาธิปไตย กับกลุ่มสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ทั้งสองกลุ่มต่างแข่งขันกันพัฒนาประเทศตามอุดมการณ์และวิธีการของตน โดยแต่ละประเทศต่างมีแผนและโครงการพัฒนาที่ชัดเจน ที่สำคัญ คือ การนำเอาวิธีการพัฒนาชุมชนไปใช้ในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ มีปรัชญาและแนวความคิดในเรื่องการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ซึ่งตรงกับปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน จึงสนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวสรุปได้ว่าแนวทางการพัฒนาชุมชนได้มีการนำมาใช้สำหรับการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้ามาเป็นระยะเวลานานแล้ว ซึ่งการพัฒนาชุมชนเป็นการกระทำที่เกิดจากกความคิดริเริ่มของประชาชน จากปัญหาและความต้องการของประชาชน โดยการร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ ร่วมกันวางแผน และร่วมกันดำเนินการของประชาชน เพื่อแก้ปัญหาและสนองความต้องการของประชาชนทั้งชุมชน หรือของประชาชน ในการพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จจะต้องเกิดจากความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกันของภาครัฐ  องค์กรเอกชน และภาคประชาชนหรือภาคประชาคม (Civil Society) ถึงแม้แต่ละฝ่ายจะมีกระบวนการและวิธีการที่แตกต่างกันออกไปตามแผนงาน แต่ทุกฝ่ายก็มีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย (Goal) ที่เหมือนกันนั้นก็คือ เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้วยกันทั้งนั้น และการพัฒนาชุมชนจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้การพัฒนาชุมชนประสบความสำเร็จ ผู้เขียนคิดว่า “งบประมาณ” ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้การพัฒนาชุมชนประสบความสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพ แต่ต้องมาจากเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น

                          เหตุผลที่ 1) “คน” เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด

                          เหตุผลที่ 2) การนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการพัฒนา

                          เหตุผลที่ 3) ความต้องการของชุมชน

         เหตุผลที่ 1) “คน” เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาชุมชน โดย “คน” เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา เพราะการพัฒนาชุมชนนั้นเริ่มต้นที่คน และการพัฒนาชุมชนจะต้องพัฒนาคนในมีคุณภาพ ซึ่งการพัฒนาคน หมายถึง การกรทำใดๆ ที่ทำให้คนเป็นคนที่เฉลียวฉลาดขึ้น หรือการทำให้คนเป็นคนที่มีคุณภาพ (พิชญ์ สมพอง ,2529:17) การพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาจะต้องให้ความรู้ในเรื่องการพัฒนาในแก่คนในชุมชนก่อน เพื่อให้การทำงานพัฒนาชุมชนบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสิ่งที่ต้องควบคู่มากับคุณภาพคือคุณธรรม การพัฒนาชุมชนต้องพัฒนาให้คนมีคุณธรรม   เป็นคนดี ประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม  มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และรู้จักยับยั้งตนเองไม่ให้ประพฤติชั่ว ซึ่งการพัฒนา (development) หมายถึง คือการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการและได้กำหนดทิศทางและมุ่งที่จะควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลงด้วย…..สภาวะการพัฒนาเป็นสภาวะสมาชิกของสังคมได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนได้เต็มที่โดยไม่มีสภาวะครอบงำ เช่น ความบีบคั้นทางการเมือง ความบีบคั้นทางเศรษฐกิจ หรือความไม่สมบูรณ์ในอนามัย ทุกคนสามารถที่จะนำเอาศักยะของตนออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของไทยไม่สามารถจะใช้รถแทรกเตอร์แบบอเมริกาได้ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้ประดิษฐ์ “ควายเหล็ก” ขึ้นมาใช้ไถนาในสภาพแวดล้อมของสังคมไทย (ทิตยา สุวรรณชฎ , 2517: 7) การพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จต้องมาจากความร่วมมือของภาครัฐ  องค์กรเอกชน และภาคประชาชนหรือภาคประชาคม (Civil Society) ทำงานร่วมกัน ถึงแม้แต่ละฝ่ายจะมีวิธีการและกระบวนการที่แตกต่างกัน แต่ทุกฝ่ายต่างก็มีจุดหมายและวัตถุประสงค์ที่เหมือนกัน นั้นก็คือ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ทางด้านภาครัฐจะมีหน้าที่ดูแลในทุกภาคส่วน วางนโยบาย ส่วนองค์กรเอกชนจะมีหน้าที่ดูแลและพัฒนาชุมชนในพื้นที่ที่ภาครัฐเข้าไปดูแลไม่ถึงและยังไม่ได้รับการพัฒนา เป็นองค์กรที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนแต่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และทางด้านภาคประชาชนก็จะมีหน้าที่ดูแลชุมชนให้มีความกินดีอยู่ดี รักษาสิทธิของตน และยังมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างรายได้และลดความลำบากในชุมชน ซึ่งการพัฒนาชุมชนจะต้องเน้นการพัฒนาคนมากกว่าพัฒนาวัตถุ เมื่อคนมีคุณภาพและคุณธรรมแล้วจะส่งผลให้การพัฒนาชุมชนประสบความสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพ และการพัฒนาชุมชนจะต้องเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาการพัฒนาชุมชนเพราะไม่มีใครทราบปัญหาและความต้องการได้ดีเท่ากับคนในชุมชน ดังนั้นการพัฒนาชุมชนจะต้องไม่ยึดถือตำราเป็นหลักในการพัฒนา  แต่ต้องถึงปัญหา ความต้องการของชุมชน และสภาพพื้นที่ของชุมชนเป็นหลัก

         เหตุผลที่ 2) การนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาจะต้องคำนึงถึงความพร้อมทางด้านทรัพยากรภายในชุมชน และก่อนการพัฒนาชุมชนจำเป็นต้องทำการศึกษาชุมชนก่อน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านประเพณี วัฒนธรรม ด้านอาชีพ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานของชุมชนและนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาชุมชนมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้การพัฒนาชุมชนนั้นตรงจุดของปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง เช่น การสร้างโรงเรียน ผู้มีส่วนรับผิดชอบในโครงการพัฒนาชุมชน ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนทุกขั้นตอนทั้งทางด้านร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบในโครงการพัฒนาชุมชน  โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนถือได้ว่าเป็นแนวทางในการสร้างจิตสำนึกรักในชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง กระบวนการที่ประชาชนมีความสมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงเพื่อตัวประชาชนเองโดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมโดยการเปลี่ยนแปลงกำหนดเพื่อตัวเอง และมีส่วนดำเนินการเพื่อให้บรรลุดังที่ปรารถนาหรือตั้งไว้ ทั้งนี้ต้องไม่ใช่การกำหนดกรอบความรับผิดชอบจากคนภายนอก (สุจินต์ ดาววีระกุล , 2527: 18) การพัฒนาชุมชนจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบในระยะยาว ผู้มีส่วนรับผิดชอบในโครงการพัฒนาชุมชนต้องนำทรัพยากรที่มีอยู่ภายชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อลดต้นทุนในการพัฒนาชุมชน  และต้องพัฒนาให้ชุมชนมีเงินไหลเวียนภายในชุมชนมากกว่าไหลออก   ต้องพัฒนาให้ประชาชนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้เพื่อลดการพึ่งพิงจากภายนอกให้ได้มากที่สุด อีกทั้งเพื่อลดความยากลำบากของคนในชุมชน  ดังนั้นการพัฒนาชุมชนต้องมีการบริหารการพัฒนาที่ดี ซึ่งการบริหารการพัฒนา หมายถึง กระบวนการของรัฐ หรือหน่วยงานราชการที่จัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและหมายรวมถึงการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนส่งเสริมละควบคุมตรวจสอบการบริหารของประชาชนด้วย (อุทัย เลาหวิเชียร , 2525:48) หากผู้มีส่วนรับผิดชอบในโครงการพัฒนาชุมชนยังขาดการบริหารการพัฒนาที่ดีจะส่งผลให้การพัฒนาชุมชนไม่บรรลุเป้าหมายและทำให้การพัฒนาชุมชนไม่สามารถพัฒนาได้อย่างตรงจุดของปัญหาและความต้องการของชุมชนที่แท้จริง ทำให้การพัฒนาเกิดการสิ้นเปลืองทั้งเวลาและงบประมาณในการพัฒนาชุมชน

        เหตุผลที่ 3) ความต้องการของชุมชน ในการพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องยึดความต้องการของชุมชนเป็นหลักในการพัฒนา เพื่อเป็นการลดข้อผิดพลาดจากการพัฒนา เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพัฒนา คือ การแก้ไขปัญหาของชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ ด้านการประกอบอาชีพ และด้านความรู้ความสามารถของคนในชุมชน การพัฒนาชุมชน หมายถึง การพัฒนาความคิดและความสามารถของประชาชนในการทำงานร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกับประชาชนและระหว่างประชาชนด้วยกันเอง เพื่อปรับปรุงตนเองและชุมชนไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ทั้งในทางเศรษฐกิจสังคม การศึกษา อนามัยและขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (สุเทพ เชาวลิต , 2524 :7)เพราะฉะนั้นก่อนการดำเนินงานพัฒนาชุมชนจะต้องทำการศึกษาชุมชนที่จะพัฒนาก่อน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ว่าประชาชนในชุมชนต้องการการพัฒนาไปแนวทางใด ซึ่งชุมชน หมายถึงกลุ่มคนหรือบริเวณที่กลุ่มคนนั้น ๆ อยู่รวมกันได้ทั้ง ๆ ที่แต่ละคนมีความแตกต่างกัน หรือความหลากหลายในชุมชนนั้น เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น (เฉลียว บุรีภักดี , 2545:10) การดำเนินงานพัฒนาชุมชนจะต้องคำนึงถึงความต้องการของชุมชนเป็นหลัก เช่น การสร้างระบบชลประทาน ผู้ที่มีหน้ารับผิดชอบโครงการจะต้องทำประชาพิจารณ์ก่อน ทั้งทางด้านประเพณี วัฒนธรรม ด้านอาชีพ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของชุมชนว่าต้องการให้ระบบชลประทานดำเนินการไปในแนวทางใด ดังนั้นการสร้างระบบชลประทานต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ทั้งทางด้านร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบในโครงการพัฒนาชุมชน  โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนถือได้ว่าเป็นแนวทางในการสร้างจิตสำนึกรักในชุมชนและโครงการพัฒนาชุมชนอีกด้วย และการพัฒนาชุมชนจะต้องพัฒนาในระดับพื้นฐานก่อน เพื่อให้มีรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาชุมชน เมื่อมีรากฐานที่มั่งคงแล้วค่อยพัฒนาไปในระดับที่สูงขึ้น ทำให้เป็นการลดความผิดพลาดและความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นในการพัฒนาชุมชน ดังนั้นก่อนการพัฒนาต้องมีการวางแผนที่ดีและต้องคำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบในระยะยาว เพื่อให้การพัฒนาบรรลุเป้าหมายอย่างที่วางไว้ การพัฒนาชุมชนในช่วงที่ผ่านมาเกิดความล้มเหลม เพราะ ผู้มีส่วนรับผิดชอบในโครงการพัฒนาชุมชนไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของชุมชนเป็นหลัก ซึ่งการพัฒนาชุมชนจะต้องคำนึงถึงความต้องการของชุมชนเป็นหลักในการพัฒนา เพื่อให้การพัฒนาชุมชนนั้นตรงจุดของปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

         การพัฒนาชุมชนต้องมาจากความร่วมมือของภาครัฐ  องค์กรเอกชน และภาคประชาชนหรือภาคประชาคม (Civil Society) และการพัฒนาชุมชนนั้นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้การพัฒนาชุมชนประสบความสำเร็จ ผู้เขียนคิดว่า “งบประมาณ” ไม่ได้เป็นเหตุผลหลักที่ส่งผลให้การพัฒนาชุมชนบรรลุเป้าหมายหรือทิศทางที่วางไว้  แต่การพัฒนาชุมชนให้บรรลุเป้าหมาย นั้นเกิดจากเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น1) “คน” เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาชุมชน โดย “คน” เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา เพราะการพัฒนาชุมชนนั้นเริ่มต้นที่คน และสิ่งสำคัญจะต้องพัฒนาคนให้มีคุณภาพควบคู่ไปกับคุณธรรม เพื่อให้การทำงานพัฒนาชุมชนบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  2) ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาจะต้องคำนึงถึงความพร้อมทางด้านทรัพยากรภายในชุมชน และก่อนการพัฒนาชุมชนจำเป็นต้องทำการศึกษาชุมชนก่อน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านประเพณี วัฒนธรรม ด้านอาชีพ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานของชุมชนและนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาชุมชนมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้การพัฒนาชุมชนนั้นตรงจุดของปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง และ3) ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องยึดความต้องการของชุมชนเป็นหลักในการพัฒนา เพื่อเป็นการลดข้อผิดพลาดจากการพัฒนา เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพัฒนา คือ การแก้ไขปัญหาของชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ ด้านการประกอบอาชีพ และด้านความรู้ความสามารถของคนในชุมชน ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาชุมชนว่า การพัฒนาชุมชนนั้นจะต้องคำนึงถึงปัญหาและความต้องการของชุมชน ไม่ใช่เอาแต่ความต้องการของตนเองโดยไม่นึกถึงความต้องการของส่วนร่วม ซึ่งการพัฒนาชุมชนไม่ใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลแต่เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน ที่ต้องร่วมมือกันในการพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในชุมชน การพัฒนาชุมชนที่เกิดจากคนในชุมชนเป็นผู้พัฒนา จะทำให้การพัฒนาชุมชนนั้นเกิดผลความสำเร็จได้โดยง่าย เพราะการพัฒนาชุมชนเป็นการการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน และทำหน้าที่ในการดูแลชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้า                                              

 

 อ้างอิง

พิชญ์ สมพอง.สังคมชาวบ้านนา.กรุงเทพฯ,2529:17

 ทิตยา สุวรรณชฎ.การพัฒนาบุคลากรเพื่อการจัดการพัฒนาสังคมยุคใหม่.กรุเทพฯ.ไทยวัฒนาพานิช,2517:7

สุจินต์ ดาววีระกุล.ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนา,2527:18

อุทัย เลาหวิเชียร.การบริหารการพัฒนา.กรุงเทพ.คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.มูลนิธิอาเซีย,2525:48

สุเทพ เชาวลิต.สวัสดิการสังคม ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2524:7

เฉลียว บุรีภักดี.การศึกษาค้นคว้ารายวิชาทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนา.กรุงเทพฯ.สถาบันราชภัฏธนบุรี,2545:10

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 480038เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมอ่านแล้วยังไม่เห็นข้อสรุปเลยครับ แต่ก็เป็นบทความที่ดีครับ เป็นกำลังใจให้ครับ ผมก็เป็นมือใหม่หัดขับครับ

ดีค่ะ ปัญหาที่เกิดขึ้นในงานพัฒนาชุมชนมีอยู่หลายปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาก็มีหลายทาง ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือ คน ต้องมีการช่วยเหลือกันแก้ปัญหาเพราะคนเป็นศูนย์กลางสำคัญในการพัฒนาชุมชน

เป็นบทความที่ดีครับ เพราะเห็นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาครับ

เป็นบทคความที่ดีครับ ซึ่งจะสามารถนำมาต่อยอดในงานพัฒนาชุมชนได้กันต่อไปอีก ในอนาคต

เป็นบทความที่เขียนดีครับ...ปัญหาของชุมชนนั้นมีอยู่ทุกๆชุมชนครับ แต่เราจะทำอย่างไรเพื่อที่จะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างตรงจุดครับ

ดีค่ะ สู้ๆๆ เป็นกำลังใจให้น่ะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท