โรคซึมเศร้า (Major Depression)


โรคซึมเศร้าถือเป็นโรคที่ใกล้ชิดกับเราทุกคน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีความรุนแรง หากเราสามารถจัดการกับอาการซึมเศร้าได้ เช่นการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การทำกิจกรรมที่เราชอบ

หลายๆ คนคงเคยมีอาการซึมเศร้า  อาการซึมเศร้าก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ทั้งกับตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง ซึ่งกลายเป็นปัญหาสังคมและเกิดการฆ่าตัวตายขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันและการพักผ่อนอีกด้วย

โรคซึมเศร้า  เป็นโรคมีการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น การเบื่อหน่าย เศร้า ร้องไห้ง่าย
ซึ่งอาการต่างๆ นี้ ก็สามารถส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น การดูแลตัวเอง การพักผ่อน การทานอาหาร เป็นต้น

กลุ่มอาการของโรค
1 . Major depression  (ภาวะซึมเศร้าแรกเริ่ม)
2 . Dysthymia  (ภาวะประสาทซึมเศร้า)
3 . Bipolar disorder  (ภาวะสองบุคลิก)

สาเหตุ
อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ครอบครัว สิ่งแวดล้อม Hormone สารเสพติด รวมถึงการปรับตัวไม่ได้อีกด้วย

อาการ
• รู้สึกท้อแท้
• หมดหวังในชีวิต 
• เศร้าเสียใจ
• หมดแรงกระตุ้นในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 

กลุ่มยาที่ส่งผลให้เกิดโรค
• ยาลดความดันเลือด
• ยากลุ่มสเตียรอยด์และฮอร์โมน(ยาคุม)
• ยารักษาโรคพาร์กินสัน
• ยารักษามะเร็ง
• ยาอื่นๆ เช่น ไซเมทิดีน

วิธีป้องกัน 
• ควรดูแลคนรอบข้างหรือคนในครอบครัวให้ดี
• มีสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกล้ายอมรับ กล้าพูดคุย และเข้าใจกัน
• หากมีอาการหรืออารมณ์ผิดปกติควร ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา

กรอบอ้างอิง PEOP กับโรคซึมเศร้า

วิเคราะห์จากตัวผู้รับบริการ  
P (Person) : สภาพร่างกายและจิตใจที่อาจก่อให้เกิดปัญหาของโรคซึิมเศร้า  ดูว่าผู้รับบริการมีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือจิตใจส่วนใด
E (Environment) : สภาพแวดล้อมของบ้าน ครอบครัว สังคม ฐานะ ที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่นบุคคลในครอบครัวดูแลผู้รับบริการหรือมีปฏิสัมพันธ์หรือไม่
O (Occupation) : วิธีการดำเนินชีวิต ลักษณะของกิจกรรมที่ชอบ อุปนิสัยที่เคยชิน ดูว่าผู้รับบริการสนใจกิจกรรมประเภทไหน และให้ผู้รัีบบริการลงมือทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดSelf-esteem ในตนเอง
P (Performance) : ความสามารถในการเข้าสังคมและการทำกิจกรรมต่างๆ

วิเคราะห์จากคนใกล้ชิดหรือครอบครัว
P (Person) :
พฤติกรรม บุคลิกนิสัย สภาพของอารมณ์ การควบคุมอารมณ์
E (Environment) : สภาพภายในจิตใจ  การเป็นอยู่ของครอบครัว สภาพของสังคม
O (Occupation) : การเป็นอยู่ การใช้ชีวิต หน้าที่การงาน
P (Performance) : ความสามารถในการเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับโรคที่เกิดต่อผู้รับบริการ ความสามารถในการช่วยเหลือของคนใกล้ชิด

โรคซึมเศร้าถือเป็นโรคที่ใกล้ชิดกับเราทุกคน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีความรุนแรง หากเราสามารถจัดการกับอาการซึมเศร้าได้ เช่นการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การทำกิจกรรมที่เราชอบ นอกจากนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลในครอบครัวในการดูแลเอาใจใส่ ให้กำลังใจ และพูดคุยกับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าด้วย

หมายเลขบันทึก: 480034เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท