การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐกับการดำเนินงานพัฒนาชุมชน


การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐกับการดำเนินงานพัฒนาชุมชน

            หน่วยงานของภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนในหลายด้าน ซึ่งหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทมากที่สุด คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบที่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาให้เกิดขึ้นภายในชุมชนและทำให้ชุมชนได้รับการพัฒนาในทุกด้าน ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ประชาชนในชุมชนที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีการนำเอานโยบายหรือโครงการพัฒนาต่างๆเข้ามาในชุมชนโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาดังกล่าวด้วย โดยจัดให้มีเวทีประชาคมเกิดขึ้นในชุมชนเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่และเพื่อต้องการให้งานพัฒนาที่จะดำเนินการตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยจะมีการสำรวจปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนว่า ภายในชุมชนมีปัญหาอะไรบ้างที่ต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือหรือต้องการที่จะแก้ไขโดยด่วนและได้นำเอาปัญหาที่ได้มาจัดทำโครงการในการดำเนินงานพัฒนาโดยเลือกจากปัญหาที่มีความสำคัญและต้องการได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนก่อน ในการทำงานพัฒนาตามลำดับความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน

                ในการเข้ามามีบทบาทการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน โดยมีการประสานงานกันในทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งในการที่จะดำเนินงานพัฒนาชุมชนนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานนั้นประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และตรงตามความต้องการของประชาชน สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริงและมีความยั่งยืน ซึ่งการเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีหลักดังนี้

            โกวิทย์ พวงงาม (2545, หน้า 8) ได้สรุปถึงการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของประชาชน ในการพัฒนา ควรจะมี 4 ขั้นตอน คือ
             1. การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาของแต่ละท้องถิ่น กล่าวคือ ถ้าหากชาวชนบทยังไม่สามารถทราบถึงปัญหาและเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา ในท้องถิ่นของตนเป็นอย่างดีแล้ว การดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาของท้องถิ่นย่อม ไร้ประโยชน์ เพราะชาวชนบทจะไม่เข้าใจและมองไม่เห็นถึงความสำคัญของการ ดำเนินงานเหล่านั้น
             2.การมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรม เพราะการวางแผนดำเนินงาน เป็น ขั้นตอนที่จะช่วยให้ชาวชนบทรู้จักวิธีการคิด การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล รู้จักการ นำเอาปัจจัยข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน
             3.การมีส่วนร่วมในการลงทุนและการปฏิบัติงาน แม้ชาวชนบทส่วนใหญ่จะมี ฐานะยากจน แต่ก็มีแรงงานของตนที่สามารถใช้เข้าร่วมได้ การร่วมลงทุนและปฏิบัติงาน จะทำให้ชาวชนบทสามารถคิดต้นทุนดำเนินงานได้ด้วยตนเอง ทำให้ได้เรียนรู้การดำเนิน กิจกรรมอย่างใกล้ชิด
             4.การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน ถ้าหากการติดตามงานและ ประเมินผลงานขาดการมีส่วนร่วมแล้วชาวชนบทย่อมจะไม่ทราบด้วยตนเองว่างานที่ทำ ไปนั้นได้รับผลดี ได้รับประโยชน์หรือไม่อย่างใด การดำเนินกิจกรรมอย่างเดียวกันใน โอกาสต่อไป จึงอาจจะประสบความยากสำบาก
นอก จากนี้สำนักมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ, กระทรวง ศึกษาธิการ, สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา และทบวงมหาวิทยาลัย(2545,หน้า 116)ยังได้ กล่าวถึง การมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการพัฒนา 5 ขั้น ดังนี้
             1.ขั้นมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาในชุมชนตลอดจน กำหนดความต้องการของชุมชน และมีส่วนร่วมในการจัดลำดับความสำคัญของความ ต้องการ
             2.ขั้นมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนด นโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ กำหนดวิธีการและแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนกำหนดทรัพยากรและแหล่งทรัพยากรที่ใช้
             3.ขั้นมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ประชาชนมีส่วนร่วม ในการสร้างประโยชน์โดยการสนับสนุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน หรือเข้าร่วม บริหารงาน ประสานงานและดำเนินการขอความช่วยเหลือจากภายนอก
             4.ขั้นการมีส่วนร่วมในการับผลประโยชน์จากการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการพัฒนาหรือยอมรับ ผลประโยชน์อันเกิดจากการพัฒนาทั้งด้านวัตถุและจิตใจ
             5. ขั้นการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนา เป็นขั้นที่ประชาชนเข้าร่วม ประเมินว่าการพัฒนาที่ได้กระทำไปนั้นสำเร็จดามวัตถุประสงค์เพียงใด

ระดับของการมีส่วนร่วม
             นรินทร์ชัย พัฒนพงศา (2546, หน้า 17) ได้กล่าวถึงระดับของการมีส่วนร่วมดาม หลักการทั่วไปว่าแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
             1. การมีส่วนร่วมเป็นผู้ให้ข้อมูล ของตน/ครอบครัว/ชุมชนของตน
             2. การมีส่วนร่วมรับข้อมูลข่าวสาร
             3. การมีส่วนร่วมตัดสินใจ โดยเฉพาะในโครงการที่ตนมีส่วนได้เสีย โดย แบ่งเป็น 3 กรณีแล้วแต่กิจกรรมในตนอยู่ในขั้นตอนใดต่อไปนี้
                 3.1 ตนมีนํ้าหนักการตัดสินใจน้อยกว่าเจ้าของโครงการ
                 3.2 ตนมีนํ้าหนักการตัดสินใจเท่ากบเจ้าของโครงการ
                 3.3 ตนมีน้ำหนักการตัดสินใจมากกว่าเจ้าของโครงการ
             4. การส่วนร่วมทำ คือร่วมในขั้นดอนการดำเนินงานทั้งหมด
             5. การมีส่วนร่วมสนับสนุน คืออาจไม่มีโอกาสร่วมทำ แต่มีส่วนร่วมช่วยเหลือ ในด้านอื่น ๆ
             นอกจากนี้ยังได้มีการแบ่งระดับของการมีส่วนร่วมเป็นระดับของการมีส่วนร่วม ตามแนวทางพัฒนาชุมชน เป็นการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยได้ แบ่งไว้ดังนี้
             1. ร่วมค้นหาปัญหาของตนให้เห็นว่าสิ่งใดที่เป็นปัญหารากเหง้าของปัญหา
             2. ร่วมค้นหาสิ่งที่จำเป็นของตนในปัจจุบันคืออะไร
                 2.1 ร่วมคิดช่วยตนเองในการจัดสำดับปัญหา เพื่อจะแก้ไขสิ่งใดก่อนหลัง
                 2.2 วางแผนแก้ไขปัญหาเป็นเรื่อง ๆ
                 2.3 ร่วมระดมความคิด ถึงทางเลือกต่าง ๆ และเลือกทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อ แก้ไขปัญหาที่วางแผนนั้น
                 2.4 ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้
                 2.5 ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหานั้น ๆ
                 2.6 ร่วมติดตามการดำเนินงานและประเมินผลการดำเนินงาน
                 2.7 ร่วมรับผลประโยชน์/หรือร่วมเสียผลประโยชน์จากการดำเนินงาน

 ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสำรวจความต้องการของประชาชนและชุมชนว่ามีความต้องการหรือปัญหาอะไรที่ต้องการจะได้รับความช่วยเหลือมากที่สุดและที่สำคัญจะต้องมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานพัฒนาที่เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการพัฒนาดังกล่าว เพื่อที่จะทำให้โครงการพัฒนาต่างๆประสบความสำเร็จและตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างแท้จริง และประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนาดังกล่าว ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีผลทำให้โครงการพัฒนาต่างๆสามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง

อ้างอิง

โกวิทย์ พวงงาม.(2545). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. ม.ป.ท.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา.(2546). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณี ตัวอย่าง.กรุงเทพมหานคร

 

คำสำคัญ (Tags): #511011410
หมายเลขบันทึก: 479948เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ส่วนหนึ่งในงานพัฒนา คือ การมีส่วนร่วมกับชาวบ้าน

หกน่วยงานภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานพัฒนา นอกจากหน่วยงานภาครัฐแล้วต้องได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านด้วย

งานพัฒนาจะไม่ประสบผลสำเร็จหากคนในชุมชนไม่มีส่วนร่วมกันในการพัฒนา

เป็นบทความที่ดีครับ...ในบางครั้งหน่วยงานของภาครัฐก็มีส่วนในการพัฒนาชุมชนเช่นกันนะครับ เช่น ด้านบุคคลากรที่เข้ามาให้ความรู้ความเข้าใจในด้านต่างๆ เป็นต้น แต่ในบางครั้งชุมชนก็ไม่ควรพึ่งปัจจัยภายนอกมากเกินไปครับ

หากหน่วยงานภาครัฐมีส่วนร่วมที่ดีกับคนในชุมชนการพัฒนาที่แท้จริงจะดำเนินต่อไปได้ค่ะ

เป็นบทความที่ดีเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

การดำเนินงานพัฒนาจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จึงจะทำให้การพัฒนาชุมชนสามารถประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

การมีส่วนร่วมเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาครับ

การมีส่วนร่วมเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาครับ ผมเชื่อตามเร็ปบนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท