วัฒนธรรมกับการมีส่วนร่วม


วัฒนธรรมกับการมีส่วนร่วม

       ชุมชนแหลมเป็นตำบลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวจังหวัดนครศรีธรรมราช75 กิโลเมตรมีเนื้อที่ ประมาณ 54.29 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.ทรายขาว อ.หัวไทร ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.ควนชะลิก อ.หัวไทร ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.เขาพังไกร อ.หัวไทรทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ.ชะอวด และ อ.เชียรใหญ่ ตำบลแหลมนั้น ฟังชื่อผิวเผินอาจทำให้คิดว่าตำบลแหลมนั้นติดทะเล แต่ที่จริงไม่มีพื้นที่ติดทะเลเลยสักนิด เหตุที่ได้เรียนตำบลนี้ว่า ตำบลแหลม มีอยู่ว่า เมื่อก่อนพื้นที่ตำบลแหลมนี้เป็นป่า มีช้างป่า  เสือ  กวาง  หมูป่า  ลิง  คาง  มากมายและมีไม้ป่าหลายชนิด  มีไม้ตะเคียนมาก  และเนื่องจากมีดินดำและดินเหนียวปนกันเหมาะแก่การทำนา  ทางทิศใต้ของป่ามีที่ดินว่างเปล่าเป็นเนินสูงๆตำๆ เหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนและทำนาชาวบ้านเรียกที่ดินนี้ว่าแหลม และในที่สุดก็ได้มีครอบครัวที่มาจากจังหวัดสงขลาได้ย้ายเข้ามาอยู่และได้ชักชวนญาติพี่น้องให้เข้ามาอยู่ด้วย จึงทำให้ชุมชนตำบลแหลมได้ก่อตั้งขึ้นมา

       ชุมชนตำบลแหลม มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เป็นดินดำและดินเหนียว ซึ่งเหมาะแก่การทำนามาก คนในชุมชนตำบลแหลมส่วนมากจึงมีอาชีพทำนา ทำไร่ ปลูกผัก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีคลองไหลผ่านทางตอนกลางของชุมชน มีลักษณะคล้ายคลองส่งน้ำ จึงเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพของคนในชุมชนมากเลยทีเดียว  และยังมีการปลูกพริก ปาล์ม รองลงมาตามลำดับ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันปัจจัยในการลงทุนหลาย ๆ อย่างมีมูลค่าสูงขึ้น แถมความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมขังก็บ่อยขึ้น เพราะเป็นที่ราบลุ่ม และในฤดูฝน จะมีฝนตกมาก ทำให้เกิดน้ำหลากเกือบทุกปี แต่ชาวบ้านก็ยังยึดการทำนาเป็นอาชีพหลักอยู่ไม่เปลี่ยน ด้วยวิถีชีวิตส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาธรรมชาติ จึงทำให้ชุมชนยังคงมีลักษณะความสัมพันธ์แบบเครือญาติ เพราะคนส่วนใหญ่ที่อพยพเข้ามาเป็นญาติพี่น้องกัน ต่างคนต่างพึ่งพาอาศัยกัน รักใคร่สามัคคีกัน มีอะไรก็จะช่วยเหลือกัน มีอะไรก็จะแบ่งปันกัน เวลามีงานประเพณีใด ๆ เช่น สงกรานต์ เข้าพรรษา ทำบุญเดือนสิบ ลากพระ ลอยกระทง ฯลฯ ชาวบ้านก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แม้จะอยู่ต่างหมู่บ้านกันก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ แม้กระทั่งผู้สูงอายุ คนทุกเพศทุกวัยจะมีส่วนร่วมในงานนั้น ๆ จะมีไม่การทอดทิ้งผู้สูงอายุให้อยู่บ้านตามลำพัง ทุก ๆ คนจะมีการติดต่อปฏิสัมพันธ์กัน ให้เด็ก ๆ รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น รู้ถึงการมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุก็จะไม่น้อยเนื้อต่ำใจเรื่องลูกหลานทอดทิ้ง นอกจากคนในชุมชนทุกเพศทุกวัยที่ให้ความร่วมมือแล้ว ยังมีหน่วยงานของภาครัฐให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วย เช่น อบต. สถานีอนามัย สถานีตำรวจ ฯลฯ หน่วยงานเหล่านี้ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนอยู่เสมอ เช่น กีฬาในตำบล กีฬาต่างตำบล การเฝ้าเวรยาม เครือข่ายป้องกันยาเสพย์ติด อื่น ๆ หน่วยงานของภาครัฐจะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่าย อุปกรณ์ต่าง ๆ อำนวยสิ่งต่าง ๆ ที่ขาดเหลือให้ครบถ้วน เปิดโอกาสให้คนในชุมชนเองมีบทบาทในโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหา การติดตามประเมินผล หรือแม้การตัดสินใจด้วย ทำให้เกิดการร่วมมือกัน เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจกัน เกิดการสื่อสารต่อกัน เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐด้วย ทำให้ไม่ว่าจะมีกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนในชุมชน หรือจะเกิดปัญหาใหญ่มากมายสักแค่ไหนก็ตาม หากคนในชุมชนรักใคร่ สามัคคีกลมเกลียวกันแล้ว ปัญหาใดย่อมผ่านไปได้เสมอ

       ไม่ว่าปัญหาจะยากสักแค่ไหน การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่งผลกระทบน้อยที่สุด ย่อมมาจากผู้ที่สร้างปัญหาขึ้นมาเอง ดังนั้นปัญหาในชุมชน คนที่รู้ดีที่สุดไม่ใช่ใคร แต่เป็นคนในชุมชนเอง การแก้ปัญหาที่มาจากบุคคลภายนอกเป็นผู้กำหนดนั่น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง ความร่วมมือกันของภาครัฐและประชาชนเองจึงเหมาะสมที่สุด ให้คนในชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหาเอง ลงมือปฏิบัติเอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ รักและหวงแหนชุมชนขึ้น ภาครัฐควรให้ความรู้ ความเข้าใจต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้คนในชุมชนสามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาได้ในต่อ ๆ ไป

 

อ้างอิง

องค์การบริหารส่วนตำบลแหลม. แผนพัฒนาสามปี  (พ.ศ. 2553 - 2555)

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลแหลม (2554 - 2556)

แผนแม่บทตำบล  (ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง) อำเภอหัวไทร  จังหวัด นครศรีธรรมราช (2554)

จิตจำนง กิติกีรติ. การพัฒนาชุมชน:การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์พัฒนาหลักสูตร. 2532.

คำสำคัญ (Tags): #บทความสุดหล่อ
หมายเลขบันทึก: 479888เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2012 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

การพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน เช่นเดียวบทความนี้ได้สื่อให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการพัฒนาชุมชนตำบลแหลมให้ประสบความสำเร็จ

การมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนในการดำเนินงานพัฒนาย่อมจะทำให้การพัฒนานั้นประสบความสำเร็จ

การที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาย่อมทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนา

เป็นบทความที่เขียนดีครับ...วัฒนธรรมจารีตประเพณีเป็นแผนทางสังคมอีกอย่างหนึ่งที่คนเราทุกคนต้องปฎิบัติตาม ซึ่งจะเกิดขึ้นในทุกชุมชนทุกสังคม วัฒนธรรมทุกๆวัฒนธรรมเกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่แล้วถ้าเราใช้โอกาสนี้ดำเนินงานพัฒนามันก็อาจจะเกิดประโยชน์ได้นะครับ

การรักษาวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาชุมชนให้มีความยั่งยืนต่อไปค่ะ

การส่งเสริมด้านวัฒนธรรมช่วยให้คนในชุมชนมีการทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชน

เป็นบทความที่ดี จะสามารถต่อยอด งานพัฒนาได้ในอนาคต ครับ

บทความนี้เป็นบทความที่น่าสนใจ การหยิบยกชุมชนมาอธิบายทำให้เห็นถึงการอาศัยวัฒนธรรมชุมชน นำไปสู่การมีส่วนร่วมของคนชุมชนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆของชุมชน

เป็นบทความที่น่าสนใจครับ สามารถชี้ให้เห็นตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้นครับ

หากคนในชุมชนไม่ร่วมกันช่วยในการแก้ไขปัญหา ปัญหานั้นก็ไม่สามารถแก้ไขได้ครับ

เป็นรูปแบบการพัฒนาชุมชน โดยใช้วัตฒนธรรมเป็นศูนย์รวมของคนและนำมาสู่การพัฒนาได้

มีการพูดถึงกรณีศึกษาและสรุปมาได้อย่างหลงตัวครับ อ่านง่ายดีครับ

เป็นบทความที่สนใจ โดยยึดวัฒนธรรมเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่ทำให้ชุมชนนั้นมีการพัฒนาไปในทุกด้านในการพัฒนาต่างๆที่เกิดขึ้นของชุมชน

ดีค่ะ เพราะการพัฒนาชุมชนต้องมีการดำเนินการที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของชุมชนด้วย ซึ่งชุมชนที่พูดมาเป็นตัวอย่างที่ดีที่มีการร่วมส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีให้กับคนในชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท