กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน


กระบวนการการมีส่วนร่วม

กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถนำไปใช้ในงานพัฒนาได้จริงหรือ ?

ปัจจุบันคำว่าการมีส่วนร่วมได้ใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นในฝ่ายภาครัฐบาล ฝ่ายเอกชน ก็แล้วแต่มักจะนำหลักการมีส่วนร่วมไปใช้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดในแง่ของการให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทั้งในเรื่องของการแสดงความคิดเห็น ร่วมจัดตั้งกลุ่ม จัดทำโครงการ เปิดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความต้องการของตัวประชาชนเอง ซึ่งกระผมได้อ่านเจอ คุณ ไพรัตน์ เดชะรินทร์ ได้บอกว่าในประเทศไทยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเป็นตัวแปรที่ขาดมิได้ งานพัฒนาที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ย่อมมีใช้งานพัมนาที่แท้จริง แต่เป็นงานให้บริการแบบสงเคราtห์ ยิ่งไปกว่านั้น คุณ อำนาจ อนันตชัย สรุปว่า การมีส่วนร่วมเป็นหัวใจของการพัฒนาชนบท ไม่มีประเทศไหนที่พัฒนาโดยปราศจากการร่วมมือของประชาชน (ผช.ดร.ชินรัตน์ สมสืบ, 2539 : 20) ดังข้อความข้างต้นการมีส่วนร่วมเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาที่ขาดไม่ได้เช่นกัน เหมือนกับกระบวนการในการพัฒนาชุมชนนั้นเอง การพัฒนาที่ดีได้จำเป็นที่จะต้องมีประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมทุกครั้ง การมีส่วนร่วม (participation) มีความหมายว่า หมายถึง การทำงานร่วมกับกลุ่ม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความร่วมมือร่วมใจโดยกระทำการดังกล่าวในห้วงเวลาและลำดับเหตุการณ์ที่ทรงประสิทธิภาพคือถูกจังหวะและเหมาะสมกับทั้งกระทำงานด้วยความรู้สึกผูกพันให้ประจักษ์ว่าเชื่อถือได้แสดงว่าการมีส่วนร่วมเป็นผลของความร่วมมือร่วมใจ การประสานงานและความรับผิดชอบ (นิรัดร์ จงวุฒิเวศน์, 2527 : 185)

ทั้งหมดนี้นั้นก็ยังเน้นชัดว่าการพัฒนาที่ดีควรจะนำหลักการการมีส่วนร่วมเข้ามาในงานพัฒนา เหมือนเช่นเดียวกันกับที่ผู้เขียนเองได้ไปอยู่และทำงานร่วมกันกับเทศบาลที่ขึ้นตรงกับรัฐที่ได้ใช้หลักการการมีส่วมร่วมในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการรับรู้และร่วมทำของโครงการต่าง ๆ พร้อมทั้งเปิดเวทีประชาคมให้ประชาชนเข้ามาพูดคุยและหาปัญหาร่วมกัน แต่ผลสุดท้ายประชาชนก็เข้ามามีส่วนร่วมแค่เข้าไปนั่ง ใครบอกว่าอะไรก็ตามคนนั้น เทศบาลมีโครงการอะไรมาก็เอาทั้งนั้น บางครั้งเองผู้เขียนก็คิดว่าหลักการมีส่วนร่วมในรูปแบบและกระบวนการนั้นดีมาก เป็นสิ่งที่สวยหรู แต่การจะนำไปใช้ให้เกิดผลประโยชน์อย่างสูงสุดนั้นกลับทำยากยิ่งเสียกว่าอะไร การที่เทศบาลได้นำหลักการมีส่วนร่วมเข้ามาใช้นั้นก็เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการใหม่ที่ทางรัฐบาลได้จัดทำขึ้น เพราะพวกนี้ก็ยังทำงานแบบระบบ top down อยู่ดี กล่าวคือ ถ้าภาครัฐสั่งให้ทำอะไร องค์กรที่ขึ้นตรงกับรัฐก็จะต้องทำตามในสิ่งที่ฝ่ายรัฐต้องการให้เป็นในแผนงานที่ได้จัดตั้งขึ้นเอาไว้ การทำงานจึงเป็นระบบที่ไม่สามารถออกความคิดเห็นที่เป็นส่วนตัวได้ การทำงานจึงเป็นไปตามขั้นตอนของภาครัฐ ไม่แปลกที่ภาคเอกชนอย่าง NGOs  ถึงมีบทบาทมากในงานพัฒนาชุมชนอย่างหลายปีที่ผ่านมา เพราะพวกเขาให้คนในชุมชนจัดทำอะไรกันเองกันหมด เพื่อให้พวกเขารู้จักรักในสิ่งที่พวกเขาได้ทำ ตัวผู้เขียนนั้นคิดว่ากระบวนการการมีส่วนร่วมนั้นอาจจะไม่สามารถนำไปใช้ในงานพัฒนาได้เสมอไป หากคนในชุมชนไม่มีส่วนที่อยากจะร่วมแบบจริงจัง

สรุปแล้วผู้เขียนคิดว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจะดีได้ไม่ได้ขึ้นอยู่ว่ากระบวนการนั้นดีหรือไม่ดี แต่มันน่าจะอยู่ที่ตัวประชาชนมากกว่าสิ่งอื่นใด ถ้าถามว่าทำไมถึงคิดเช่นนั้น ก็ดูได้จากการที่ผู้เขียนเองนั้นได้ลงไปสัมผัสกับตัวชุมชน ตัวผู้เขียนเองก็ได้ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ ทำเวทีประชาคมเพื่อหาปัญหาร่วมกันแต่เมื่อร่วมคิด รวมทำกับคนในชุมชนแล้ว จะเห็นได้ชัดว่าบางคนไม่สนใจและยังคงรอค่อยที่จะขอจากรับเพียงอย่างเดียว ถ้ายังนั้นการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ยังไงหากคนในชุมชนยังขอมากกว่าจะทำเองเสียอีก ในความคิดของตัวผู้เขียนก็ยังมองและคิดอีกว่าการมีส่วนร่วมของประชนนั้นสามารถนำไปใช้ในงานพัฒนาได้จริงหรือ หรือเป็นเพียงแค่กระบวนการที่มีความสวยหรูเพียงอย่างเดียว หวังว่าบทความนี้อาจจะทำให้นักพัฒนาไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตามทั้งภาครัฐและเอกชนได้อ่านแล้ว ได้กลับไปคิดและแลกเปลี่ยนความรู้กันว่าสิ่งที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ใช้ได้จริงหรือไม่จริงกันแน่

อ้างอิง

นิรัดร์ จงวุฒิเวศน์. “กลวิธี แนวทาง วิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา”. 2527. กรุงเทพมหานคร : ศักดิ์โสภาการพิมพ์

ไพรัตน์ เดชะรินทร์. ชนบทไทย : การผันแปรในอนาคตภายหลังการพัฒนา. บริษัท พี.เอ. จำกัด (ไม่ปรากฏปีที่  พิมพ์)

ผช.ดร.ชินรัตน์ สมสืบ. การมีส่วนร่วมชองประชาชนในการพัฒนาชนบท. 2531. ใน ชุดวิชาการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อำนาจ อนันตชัย. “การระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท”. 2531. ใน ชุดวิชาการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

หมายเลขบันทึก: 479858เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2012 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน จะทำให้เกิดการพัฒนาได้จริง เพราะหากคนในชุมชนมีจิตสำนึกร่วมกันพัฒนา ประโยชน์ก็จะเกิดกับชุมชนของพวกเขานั่นเอง

ขอบคุณครับคุณธัชชา ผมก็คิดเหมือนคุณหากคนในชุมชนมีจิตสำนึกร่วมกันพัฒนา ทุกชุมชนในประเทศไทยก็จะแข็งแกร่งและไม่ต้องพึ่งจากภาครัฐให้มากกว่าเดิมอีกแล้ว ขอบคุณสำหรับคอมเม้นครับ

การมีส่วน ร่วมของประชาชน นี้แหละ จะเป็นพลัง สำคัญที่ จะ ทำใช้งานพัฒนาชุมชนขับเคลื่อน ไปด้วย แต่สิ่งสำคัญที่สิ่งคิดว่าจะต้องมาจากประชาชน เป็นฐาน ซึ่งเนื้อหา ของ ผู้เขียนถือว่า เป็นเนื้อหาที่ ดี เข้าใจง่าย และหวังว่า จะเป็นประโยชน์ ต่อนักพัฒนาชุมชน ในอนาคตต่อไป

ใช้ที่สุดการที่จะพัฒนาสิ่งไดๆได้หากขาดการมีส่วนร่วมการพัฒนาก็จะเป็นไปได้ด้วยยากหรืออาจจะไม่เกิดครับ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทำให้คนภายในชุมชนมีการทำงานแบบรวมกลุ่ม และเป็นการสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนด้วย ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งได้ค่ะ

เป็นบทความที่น่าสนใจดี เพราะการพัฒนาชุมชนจำเป็นต้องมีกระบวนการมึส่วนร่วมเข้ามาช่วย

จึงจะทำให้งานพัฒนาชุมชนออกมาด้วยดีค่ะ

กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจะดีได้ไม่ได้ขึ้นอยู่ว่ากระบวนการนั้นดีหรือไม่ดี แต่มันน่าจะอยู่ที่ตัวประชาชนมากกว่า ผมชอบประโยคนี้มากครับ

ผมคิดว่าต่อไปน่าจะมีกระบวนการสร้างจิตสำนึกในชุมชน นะครับจะได้ใช้ควบคู่กับกระบวนการการมีส่วนร่วมครับ หรือมี ใครที่รู้โปรดบอกด้วยนะครับเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาของผมต่อไปครับ ขอบคุณทุกคอมเม้นครับ

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาย่อมจะแก้ปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด

กระบวนการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ่นในชุมชนย่อมเกิดประโยชน์และทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนา

เป็นบทความที่ดีครับ...ผมว่ากระบวนการมีส่วนสามารถนำไปใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้จริงครับ เพราะทุกๆกระบวนการมีส่วนร่วมจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมครับ

เป็นบทความที่ดีเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท