การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น


การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าทอเกาะยอ

การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

                หลายคนมักจะมองชุมชนชนบทว่าเป็นชุมชนที่ล้าหลัง ทั้งด้านความคิด ความเป็นอยู่ หรือแม้แต่ปัจจัยในการดำเนินชีวิต ซึ่งนั่นเป็นแค่เพียงความคิดของคนที่อยู่ข้างนอกเท่านั้น แต่ถ้าหากมองให้ลึกลงไปแล้วจะเห็นได้ว่ายังคงมีสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งนักต่อการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ซึ่งเป็นสิ่งที่สั่งสมกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน…

                จากการลงพื้นที่ในการฝึกงาน ในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านป่าโหนด ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ซึ่งพบว่า ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษที่เป็นจุดเด่นของชุมชนคือ “การทอผ้า” เพราะเกือบทุกครัวเรือนในชุมชนจะมีอุปกรณ์ของการทอผ้าอยู่

                จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความว่า การทอผ้าของเกาะยอมีมาตั้งแต่ประเทศสยามสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยหมู่บ้านเกาะยอนั้นเป็นเกาะที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะทั้งโดยทางบนบกและทางน้ำ คนที่อพยพมาในช่วงแรกนั้นซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีน ได้นำอาชีพการทอผ้ามาสอนชาวบ้านในบริเวณนั้น ผ้าที่ทอในระยะแรกนั้นจะเป็นแบบเรียบๆ ไม่มีลวดลาย ระยะหลังได้มีการปลูกฝ้ายเพื่อนำมาทอผ้าและย้อมด้วยสีธรรมชาติและมีการทอเป็นลายดอกชนิดต่างๆในเวลาต่อมา และเมื่อปีพ.ศ. 2375 ชาวบ้านเกาะยอได้นำผ้าเกาะยอขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า “ลายราชวัตร” แปลว่า “กิจวัตรหรือการกระทำ” ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอ มีการสั่งสอน สืบทอดต่อกันภายในครัวเรือนเรื่อยมา เป็นเวลาหลายร้อยปี (ภาณุ ธรรมสุวรรณ และ ทวีศักดิ์ ล้อมลิ้ม :2530)

              แต่เนื่องจากในปัจจุบันนี้ขาดคนที่มีความรู้และความสนใจมาสืบทอดต่อ การทอผ้าเพื่อใช้ในครัวเรือนนั้นได้ลดลง กลุ่มคนที่พอจะทอได้และมีฝีมือนั้นก็จะเป็นกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ส่วนคนรุ่นหลังก็จะไม่มีความรู้ ไม่สนใจ และหันไปสนใจผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า ทำให้ขาดการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นจุดเด่นของชุมชน และการทอผ้าด้วยมือตามแบบดั้งเดิมนั้นก็เกือบจะสูญหายไปโดยสิ้นเชิง หากไม่ได้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาได้ทันกาล ทั้งนี้ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเปิด มีการค้าขายกับต่างประเทศมาเป็นเวลานานสามารถซื้อผ้านอกที่สวยงามแปลกใหม่และราคาถูกได้ง่ายมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์)

              หลังจากที่ คุณอาภรณ์ สาสนัยผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นตัวแทนได้ของกลุ่มสตรีแม่บ้านได้มีโอกาสไปอบรมตาม “โครงการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น” และได้มีโอกาสไปดูงานตามหมู่บ้านต่างๆ จึงทำให้เกิดความคิดที่อยากจะฟื้นฟูอาชีพของชาวบ้านขึ้นมาใหม่ รวมทั้งต้องการที่จะสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไปสู่เยาวชนรุ่นหลัง

             โดยการให้ความรู้และข้อมูลแก่นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจ มีการส่งวิทยากรไปให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการทอผ้า การประสานงานกับโรงเรียนในชุมชนที่มีการสอนทอผ้า การสอนความรู้และศิลปะการทอผ้าให้ลูกหลานในชุมชน และรับนักศึกษามาฝึกงาน

            จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ชาวบ้านมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการทอผ้า ในลักษณะที่หลากหลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับทักษะเทคนิค กรรมวิธีต่าง ๆ ในการทอผ้า รวมถึงการแสวงหาแนวทางที่จะปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความสามารถที่จะศึกษาค้นคว้าเพื่อนำมาปรับปรุงประยุกต์กับวิทยาการสากลและสภาพในปัจจุบันและอนาคต(ชาญชัย.2547:90-110) 

             การถ่ายทอดความรู้และศิลปะการทอผ้าส่วนใหญ่ จะสอนแบบตัวต่อตัว ดังคำบอกเล่าที่ว่า “สอนเป็นรายคน ทีละคนเลย” ซึ่งการสอนแบบตัวต่อตัว เป็นวิธีสอนแบบดั้งเดิม ผู้เรียนต้องมีความตั้งใจและมุ่งมั่นพยายามจนเกิดทักษะความชำนาญเพื่อที่จะได้สืบทอดภูมิปัญญาที่มีคุณค่าต่อไป

             ดังนั้นแนวทางการอนุรักษ์จึงควรมุ่งส่งเสริมโดยการปลุกจิตสำนึกคนในท้องถิ่นโดยเฉพาะเยาวชนให้ตะหนักถึงคุณค่าและแก่นสาระ และความสำคัญของภูมิปัญญาการทอผ้า ส่งเสริม สนับสนุนและสืบทอดการนำภูมิปัญญาการทอผ้าและการใช้ผ้าทอเกาะยอกับประเพณี เช่น การห่มพระเจดีย์เขากุฏิ การใช้เป็นผ้านุ่งนาคก่อนบวชพระ เป็นต้น สร้างจิตสำนึกของความเป็นท้องถิ่นในด้านต่างๆ เช่น ร่วมกันสร้างเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น สร้างพิพิธภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอขึ้นเพื่อรวบรวมผ้าลายต่างๆของท้องถิ่นทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งความภาคภูมิใจของชุมชน เป็นต้น

 

 

 

เอกสารอ้างอิง 

 

สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ , สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21

ชาญชัย ปาณูปกรณ์, คุณค่าของผ้าเกาะยอ , 2547 : 90–110

ภาณุ ธรรมสุวรรณ และ ทวีศักดิ์ ล้อมลิ้ม, พงศาวดารเมืองสงขลา, 2530

คำสำคัญ (Tags): #ผ้าทอเกาะยอ
หมายเลขบันทึก: 479853เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2012 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เป็นบทความที่ดี น่าศึกษา และอย่างให้มีการสืบทอดผ้าทอเกาะยอกันให้มากๆ

เป็นบทความที่ดี ทำให้มีความรู้เรื่องภูมิปัญญาเพิ่มขึิน เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษที่เป็นจุดเด่นของชุมชนคือ “การทอผ้า”และจกที่ได้ อ่านศึกษาดู บรรพบุรุษในชุมชนได้มีการทอผ้าใช้ในครอบครัวมาตั้งนานแล้ว สามารถนำมาใช้ในการสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ค่ะ

เป็นประเด็นที่น่าสนใจเพราะภูมิปัญญาเป็นเรื่องที่ต้องมีการสืบทอดพัฒนา

เป็นการสืบสานภูมิปัญญาที่น่าสนใจ ดีค่ะ

เป็นแนวทางการสืบทอดภูมิปัญญาได้ดีมากๆเลยครับจะได้อนุรักษ์ไว้นานๆ

การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นการอนุกรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน

การสืบทอดภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่ดีเพื่อที่จะเก็บไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้มาศึกษาและสืบทอดภูมิปัญญาต่อไป

หากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการสืบทอดย่อมส่งผลให้ชุมชนและคนในชุมชนสามารถอยู่ได้โดยพึ่งพาตนเองได้

ขอขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นน่ะค่ะ

หากไม่มีการสืบทอดภูมิปัญญา ทำให้ความรู้ภูมิปัญญาเก่าแก่สูญหายได้

เป็นบทความที่ดีเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ในงานพัฒนาชุมชน และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ดี

ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

ดีมากครับเหาะแก่การศึกษาขอให้พยายามทำต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท