ความจริงของ "สิทธิมนุษยชน" ในประเทศไทย


ความจริงของสิทธิมนุษยชน ที่จริงแล้วคืออะไร

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน หลายวันก่อน ได้รับหนังสือประชาสัมพันธ์ เข้าฟังการบรรยาย

"สิทธิมนุษยชนที่ควรรู้"  

หลังจากได้เห็นหนังสือ ฉบับนี้ เลยเกิดความสงสัยขึ้นมาเป็นความสงสัยเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในหัวใจมานานแสนนาน และผมเชื่อว่าหลายคนในประเทศหรือบนโลกในนี้ คงสงสัยเช่นเดียวกับผม ว่าความจริงแล้ว สิทธิมนุษยชน ของคนระดับเรามันอยู่ตรงไหน ที่บอกว่า คนระดับเรานั้น เพราะประเทศและโลกเราใบนี้ มีระดับของสิทธิมนุษยชนอยู่ในชีวิตประจำวัน มีจนบางคนคิดว่าวันเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของร่างกายไปแล้ว อยู่ตรงไหนบ้างครับ ลองมองง่ายๆ กับผู้ใช้รถ รถเบ็นซ์ หรือ บีเอ็ม หรือรถที่ราคาแพงๆ ส่วนใหญ่จะถูกละเว้นการตรวจจับของ เจ้าหน้าที่จราจร เสมอ ด้วยความไม่เข้าใจ จึงถามวิทยากรที่เป็นตำรวจจราจรถึงเหตุผลของการไม่เรียกตรวจ วิทยากรบอกว่า

ตำรวจ: ตำรวจจะเลือกตรวจ เพราะจะให้ตรวจทุกคันไม่ไหว  จึงเลือกที่น่าจะมีเหตุหรือน่าสงสัยมากที่สุด ผมจึงถามกลับไปว่า

ผม : เขาใช้อะไรเป็น ตรรกะ ในการเลือกที่จะเรียกรถคันไหน หรือไม่เรียกรถคันไหน

 สรุปว่า ไม่มีคำตอบครับ

ผมเลยเก็บความสงสัยไว้ในใจตลอดมา จนคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก อีกเรื่องที่น่าสงสัย "ถ้าเป็นคะระดับเรา ไม่มีนามสกุลที่ไว้คำชู ไม่มีตำแหน่ง ไว้ ป้องกัน เป็นตาสี ยายสา คนนึง" วันนึง เกิดขับรถชนคนตาย ทุกคดีครับ ขนขับติดคุกหัวโต ข้อหา "ขับรถโดยประมาณ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย" แต่คนมีนามสกุลที่ไว้คำชู มีตำแหน่งไว้ ป้องกัน เห็นแค่เสียค่าปรับ ข้อหาขับรถโดยประมาท จ่าย 4 ร้อย อยู่บ้านยืดอกสบายใจ แล้วชีวิตคนตายหล่ะครับ คนที่ทำไม่ต้องรับผิดชอบหรือ เปรียบเทียบแล้ว เหมือนกันทุกเรื่องไป   

     ที่กล่าวมาเป็นแค่เรื่องเปรียบเทียบนะครับ ยังมีอีกหลายเรื่องที่เป็นแบบนี้ จึงอยากถามว่า จริงแล้ว "สิทธิของคนไทย เท่าเทียมกันหรือไม่" ถ้าไม่แล้วใช้อะไรเป็นตัวตัดสินระดับ

    1. ความรวย กับความจน   

    2.  นามกสุล

    3.  ตำแหน่งหน้าที่

แล้วถ้าเป็นจริง กฏหมายมนุษยชน จะออกมาเพื่ออะไร ออกมาเพื่อพลาญเงินประเทศ จ่ายให้ผู้ที่นังคิดเท่านั้นหรือ แต่ที่จริงแล้วมันไม่เคยใช้งานได้จริง

ที่กล่าวมาเป็นเพียง ความสงสัยเล็กในหัวใจ กับสังคมไทยในปัจจุบัน....

 

หมายเลขบันทึก: 479606เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2012 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

องค์กรต่างด้าว ต่างชาติ จะเน้นและให้ความสำคัญเรื่อง สิทธิ ตัวนี้มากๆ ค่ะ :)
จริงๆ คือเราตระหนักรู้ถึงสิทธิเพื่อรักษา เคารพ กันและกัน หากแต่ ของไทยเรา

ปัญหาโลกแตกข้างต้น ก็ยังยึดติดชื่อ รูป ยศ นาม ... จนลืมเรื่อง ถูกต้อง เหตุผล ไป ด้วย ทัศนคติ มุมคิด เรื่องศักดิ์ศรี ของแต่ละปัจเจก ยังไม่เข้มข้นพอ ต้องรอๆ ค่ะ

สิ่งสำคัญคือ ต้องปรับเปลี่ยน กันตั้งแต่หัวใหญ่ จรดหาง ให้เป็นวาระของชาติ ขอบคุณค่ะ

ผมว่าคง เหมือนจระเข้ ของอาจารย์ วาทิน ศานติ์ สันติ แหละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท