บทความการมีส่วนร่วมของชุมชน


การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
                                                                                                                  

การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

 

                การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นการท่องเที่ยวแบบการเยือนแหล่งธรรมชาติ เพื่อเรียนรู้ และหาประสบการณ์แปลกใหม่ที่สร้างความประทับใจในธรรมชาติที่น่ามหัศจรรย์ โดยนักท่องเที่ยวจะคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้ง ขนบธรรม ประเพณี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ของสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ ให้คงอยู่สืบไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เพื่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนนอกจากที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามมาแล้ว ต้องได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนด้วยถ้าหากคนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในชุมชนวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนอาจสูญหายไปไม่มีให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้เห็น
               ชุมชนบ้านแหลม หมู่ที่2 ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลี่ยน จังหวัดตรัง เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งทีมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนไว้จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ ตำบลเกาะสุกรเป็นตำบลเล็กๆในอำเภอปะเหลี่ยนจังหวัดตรัง แต่อุดมไปด้วยทรัพยากรและธรรมชาติที่สมบูรณ์ โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านในชุมชนบ้านแหลมจะประกอบอาชีพทำการประมง ค้าขาย ทำนา ซึ่งในชุมชนบ้าแหลมนั้นยังมีการเลี้ยงควายอีกด้วยซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของธรรมชาติและวัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้านในชุมชนบ้านแหลม
               ชุมชนบ้านแหลมมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล  ลักษณะพื้นที่เป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล  โดยทางทิศเหนือเป็นป่าชายเลน สวนมะพร้าว และป่าจาก  บริเวณตอนกลางเป็นพื้นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวบ้าน   ทุ่งนา   บริเวณทิศใต้เป็นชายหาดทอดยาว ชาวบ้านเรียกว่า หาดแตงโม โดยชื่อเรียก มาจากลักษณะการทำเกษตรบริเวณนั้น โดยชาวบ้านจะมีการปลูกแตงโมกันเยอะ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกชายหาดบริเวณดังกล่าว
นอกจากนี้แล้วชุมชนบ้านแหลมจะมีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในช่วงหน้าร้อนซึ่งช่วงนี้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติและการมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวนั้นจะเป็นช่วงที่ตรงกับการเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวของชาวบ้าน นักท่องเที่ยวจะชอบมาก มีการช่วยชาวบ้านเก็บข้าว หรือถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกเพราะนาข้าวจะเป็นสีทองทั่วทั้งชุมชนเป็นภาพที่สวยงามมาก ซึ่งการที่มีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในชุมชน จึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือของคนในชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชุมชนไว้ เพื่อใก้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีชีวิตดังเดิม
 การมีส่วนร่วมของชุมชน (1)
  ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจการต่าง ๆ  โดยถือเสมือนว่าเป็นแบบฝึกหัดในการพัฒนาคน   ให้ต้องใช้ความคิด    ตัดสินใจ   วางแผน   และดำเนินการเองอยู่เสมอ    ซึ่งจะเป็นหนทางทำให้สมองของคนเกิดการพัฒนา    รวมทั้งต้องยึดหลักต่อไปนี้เพ่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   ได้แก่
  1. หลักการช่วยตนเอง
  2. หลักการให้ประชาชนมีส่วนร่วม
  3. หลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน
 กรอบพื้นฐานการมีส่วนร่วมซึ่งประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ  ดังนี้
                         1.    การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ   (decision -  making)    ซึ่งเป็นการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
                         2.   การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม   (implementation)   เป็นการเข้าร่วมโดยการสนับสนุนทางด้านทรัพยากร    การเข้าร่วมในการบริหาร    และการเข้าร่วมในการร่วมแรงร่วมใจ
                         3.    การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์   (benefits)   โดยอาจจะเป็นผลประโยชน์ทางวัตถุ   ทางสังคม   หรือโดยส่วนตัว
                         4.   การมีส่วนร่วมในการประเมินผล   (evaluation)    ซึ่งเป็นการควบคุมและตรวจสอบการดำเนินกิจกรรม    รวมทั้งเป็นการแสดงถึงการปรับตัวในการมีส่วนร่วมต่อไป
 นอกจากการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรแล้วยังต้องคำนึงการท่องเที่ยวที่ยังคงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและธรรมชาติของชุมชนไว้ด้วยนั้นคือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
 การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์(2)
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง การเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่งโดย
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ชื่นชมและเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพ สภาพธรรมชาติ, สภาพสังคม, วัฒนธรรม, วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น บนพื้นฐานของความรู้และความรับผิดชอบต่อ
ระบบนิเวศ    หรือ "การท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อแหล่งท่องเที่ยว ที่เป็นธรรมชาติและต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม ซึ่งหมายรวมถึงวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่น ตลอดจนโบราณสถาน โบราณวัตถุที่มีอยู่ใน ท้องถิ่นด้วย"
ความต้องการพื้นฐานในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
1. ต้องการกิจกรรมต่างๆ ที่ให้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ให้มากขึ้น
2. ต้องการประสบการณ์จากการได้ไปเที่ยวในแหล่ง ธรรมชาติหรือประสบการณ์ที่ได้สัมผัสวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของสังคมที่แตกต่างจากที่ตนอยู่
3. ต้องการโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะทาง ธรรมชาติ, วัฒนธรรม ที่มีแตกต่างในแต่ละพื้นที่
4. ต้องการให้มีการอนุรักษ์สภาพธรรมชาติ และสมบัติทางวัฒนธรรมในพื้นที่ไปชมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
หลักการของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (3)
 การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (conservation tourism) มีหลักการที่สำคัญคือ
๑. จะต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หรือทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ให้คงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด ไม่ถูกทำลายไป
๒.กระตุ้นจิตสำนึกของคนในท้องถิ่นให้พยายามดูแลรักษาและปกป้องทรัพยากรการท่องเที่ยวเหล่านั้น โดยไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นผลเสียต่อทรัพยากรการท่องเที่ยว เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตน
๓. ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว เพื่อตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวที่ตนเดินทางเข้าไปเยือน และให้ความร่วมมือแก่ชุมชนในท้องถิ่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันเป็นมรดกตกทอด ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ให้คงสภาพที่ดีต่อไป นานๆ 
เมื่อมีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แล้วต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนต่อไปด้วย
 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (sustainable tourism) มีหลักการที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ซึ่งเป็นกระแสความคิดหลักของโลกในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา และได้รับความสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Commission on Sustainable Development) ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งหลักการโดยทั่วไปของการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ จะต้องมีการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลายาวนาน และมีการกระจายผลประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่ รวมทั้งมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อนำหลักการนี้มาปรับใช้กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จึงมีจุดเน้นที่สำคัญดังนี้
1. จะต้องดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลา ยาวนานจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน มิใช่เพียงเพื่อคนรุ่นปัจจุบันเท่านั้น
2. ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดปริมาณของเสียที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
3. มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์ให้แก่คนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นได้เข้าร่วมในการจัดการ และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
4. มีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว และชุมชนในท้องถิ่น เพื่อการวางแผนงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม
5. มีการสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่แนวคิด การศึกษาวิจัย และความรู้เกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ออกไปในหมู่ประชาชน ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง 
 การท่องเที่ยวที่ไมทำลายทรัพยากรธรรมชาติและยังคงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตดั่งเดิมของคนในชุมชนนั้นนอกจากการมีส่วนร่วมของคนในการเข้ามาจัดการจะต้องได้ต้องมีการร่วมมือจากนักท่องเที่ยวด้วยเพื่อที่จะให้สิ่งเหล่านี้อยู่จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้เห็นและได้มีการอนุรักษ์ให้ยั่งยืนสืบไปจะก่อผลดีในการสร้างจิตสำนึกให้แก่ลูกหลานให้รักษาและห่วงแหนธรรมชาติไว้เพื่อประโยชน์ของตนในภายภาคหน้า
 การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในชุมชนบ้านแหลม โดยการเข้าไปส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนเข้ามาส่งเสริมและดึงจุดเด่นของชุมชนที่ทีอยู่มาเป็นสัญลักษณ์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวในการเข้ามาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภายในชุมชน อาจจะให้นักท่องเที่ยวนั่งควายชมทุ่งนาที่เขียวขจีตอนฤดูทำนาที่หมู่บ้านจะเขียวไปด้วยต้นข้าว ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการช่วยชาวบ้านทำนาเพื่อให้เข้าถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านและเพื่อให้ลูกหลานของชาวบ้านเข้ามาร่วมด้วยจะทำให้ลูกหลานของชาวบ้านเกิดความห่วงแหนและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนเองนอกจากนี้แล้วชาวบ้านต้องเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของตนไม่ให้สูญหายและทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นการเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัวนอกจากจะได้อนุรักษ์สิ่งที่เป็นวิถีชีวิตของตนเองแล้วยังทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านไม่ละทิ้งวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและเป็นตัวอย่างให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนตนเองและได้สืบทอดวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชุมชนให้คงอยู่ต่อไป
 
 
..................................................................................
1.พัชรี พงษ์ศิริ.2541.การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการ:ศึกษากรณีเฉพาะข้าราชการจักหางาน.มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2. เสรี เวชบุษกร(2538) ส่วนนันทนาการและสื่อความหมาย สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
3.สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 27
 
คำสำคัญ (Tags): #การมีส่วนร่วม
หมายเลขบันทึก: 479461เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2012 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สามารถที่จะให้คนภายนอกเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนแห่งนี้

การดึงคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชนจะทำให้คนในชุมชนเกิดความห่งแหนในทรัพยากรของชุมชน

การท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ เป็นการท่องเที่ยว ที่น่าสนใจมากในชุมชน โดยเน้นให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน ซึ่งคิดว่า ต่อไปในอนาคต หน้าจะมีการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในรุปแบบนี้ มากขึ้น เพื่อส่งเสริมงานพัฒนากันต่อไปในอนาคต ครับ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ จะนำความคิดเห็นที่ได้ไปปรับปรุงค่ะ

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการจัดการการท่องเที่ยวโดยมีคนในชุมชนเป็นเจ้าของและทำให้การอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชนด้วย

ขอบคุณสำหรับความคืดเห็นค่ะ

ทรัพยากรชุมชนนับว่าเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง ทุกชุมชนต่างก็ต้องพึ่งพิงทรัพยากรเพื่อความอยู่รอดของชุมชน ในเมื่อทุกคนในชุมชนต่างก็ใช้ทรัพยากรร่วมกันแล้วก็ต้องดูแลทรัพยากรร่วมกันด้วย บทความนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจ และเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเข้ามาดูแลรักษาทรัพยากรร่วมกัน....

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาและการทีคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการช่วยกันจัดการดูแลทรัพยากรร่วมกันทำให้คนในชุมชนมัความรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรภายในชุมชนมากขึ้นและทำให้ชุมชนของตนเกิดการพัฒนา

เป็นบทความที่ดีครับ...การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาชุมชน ทุกกระบวนการของการพัฒนาชุมชนจำเป็นที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนครับ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่เกิดประสิทธิภาพครับ

ผู้เขียนได้สื่อให้เห็นถึง.....การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ซึ่งการพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้นั้นประชาชนในชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมคืด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผลของการพัฒนา ถ้าปราศจากการมีส่วรร่วมการพัฒนาชุมชนก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นอีกแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชนค่ะ จะยังคงรักษาทรัพยากรไว้เพื่อให้อยู่ไปอีกนาน

อภิสิทธิ์ พงศ์สุชาติ john

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงอนุรักษ์ ทำให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้นก็จะเกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษาทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาทรัพยากรที่มีในชุมชนได้ในที่สุด

การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นแนวทางที่พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ดีที่สุด เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อาศัยคนในชุมชน ผู้เป็นเจ้าของสถานที่และรับทราบปัญหาได้ดีที่สุด การแก้ปัญหาและการพัฒนาจึงต้องอาศัยการร่วมมือของคนในชุมชน

การพัฒนาประเทศ ต้องอยู่ในการควบคุมของทรัพยากร ถึงจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

ใช้แล้วครับ การมีส่วนร่วมเป็นส่วนช่วยในการพัฒนา

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นจากทุกท่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท