พื้นฐานการศึกษาอิสลาม1


การศึกษาในภาษาอาหรับใช้คำว่า อัลตัรบียะฮ

พื้นฐานการศึกษาอิสลาม

 

ความหมายของพื้นฐาน

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายพื้นฐานว่า ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอกหรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็นแผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า เป็นต้น  ฐานเช่นพื้นถนนชำรุด แถบ แถว ถิ่น เช่น คนพื้นนี้ ทั่วไปโดยมาก ถิ่นนี้ทำสวนครัวกันเป็นพื้น เรียกผ้าถุงที่มีสีและมีลักษณะยืนตัวไม่มีดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น หรือพื้นๆ แปลว่าเรียบๆ ง่ายๆเช่นงามอย่างพื้นๆคืองามอย่างเรียบๆ ไม่ฉูดฉาด ดีอย่างพื้นๆคือ ดีงามอย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน ธรรมดาๆ เช่นกับข้าวพื้นๆ และพื้นฐานความรู้หมายถึงระดับความรู้ พื้นฐาน รากฐานเช่นเขามีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีเป็นต้น[1]

ภาษาอังกฤษใช้คำว่า(base)แปลว่าพื้นฐาน หรือ(basic)เกี่ยวกับพื้นฐาน เช่นเด็กคนนี้เบซิคในการเล่นฟุตบอลดีเยี่ยม ชายคนนั้นเบซิคในการเล่นเซปัคตระกร้อดีเยี่ยม หรือใช้คำว่า(background) ซึ่งหมายถึง พื้น แหล่งที่มา ส่วนที่อยู่ข้างหลัง ถิ่นที่มา การศึกษา ประสบการณ์ของบุคคล ภูมิหลัง [2]

 สำหรับภาษาอาหรับใช้คำว่า(أساس )ซึ่งหมายความ พื้นฐาน หรือรากฐาน [3]

ดังนั้นความหมายโดยรวมของคำ พื้นฐาน คือ สิ่งเดิมๆ ที่มีอยู่อาจเป็นความรู้ในด้านต่างๆ ซึ่งจะเป็นสิ่งช่วยหรือตัวช่วยปูทางรับเอาความรู้ใหม่ๆหรือวิทยาการแผนใหม่เข้ามาเพื่อต่อยอดของเดิมที่มีอยู่ก่อน

 

ความหมายของการศึกษาในเชิงภาษา

มีนักวิชาการได้ให้ความหมายการศึกษาไว้หลายความหมายด้วยกัน เช่น ตอลัตซุลตอน  ได่กล่าวว่า การศึกษามาจากคำภาษาอังกฤษว่า Education ซึ่งมาจากภาษาลาติน Educare ซึ่งหมายความว่า การเลี้ยงดู ดูแลรักษา torearและ toraise  การศึกษาจึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียน ดังนั้น ในบริบทของการศึกษาในอิสลาม การศึกษาจึงเป็นเครื่องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนให้สอดคล้องกับค่านิยมของอิสลามที่ว่างผู้บนพื้นฐานของอัลกุรอานและซุนนะห์ของท่านนบีมูฮัมหมัด

สำหรับคำศัพท์ที่เขียนเกี่ยวกับความหมายของการศึกษาในอิสลามได้มีนักวิชาการได้ให้ความหมายทั้งในเชิงภาษาเชิงหลักการ ดังต่อไปนี้

การศึกษาในภาษาอาหรับใช้คำว่า อัลตัรบียะฮ(التربية)และเมื่อใช้ในบริบทของการศึกษาในอิสลามจะใช้คำว่า(الإسلامية التربية) อัลตัรบียะฮอัลอิสลามมียะฮ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าได้มีนักวิชาการได้ให้ความหมาย เชิงภาษาไว้อีกหลายความหมาย อาทิ เช่นอับดุลรอฮมานอัลนะฮลาวีย์(Abual-Rahman)[4] ได้นำเสนอความหมายของคำว่า อัลตัรบียะฮจากพจนานุกรมอาหรับว่ามาจากรากศัพท์ 3 คำด้วยกัน คือ

1-มาจากคำว่า(ربا- يربو) รอบายัรบู ซึ่งมีความหมายว่า เพิ่มพูนและเจริญงอกงามในความหมายดังกล่าว อัลลอฮ(ซ.บ)ทรงตรัสไว้ว่า

ومااتيتم من ربا اليربو في اموال الناس فلايربو عندالله ومااتيتم من زكاة تريدن وجه الله فأولئك هم المفضعفون

   “และสิ่งที่พวกเจ้าใช้จ่ายไปจากทรัพย์สิน(ดอกเบี้ย)เพื่อให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของพวกเจ้ามันจะไม่เพิ่มพูน ณ ที่อัลลอฮ(ซ.บ)และสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายซากัรออกไปโดยพวกเจ้าปรารถนาพระพักษ์ของอัลลอฮ(ซ.บ)ชนเหล่านั้นแหละพวกเข้าคือ ผู้ได้รับการตอบแทนอย่างทวีคูณ(ซูเราห์ที่ 30/อัรรูมอายะห์ที่ 39)

2-มาจากคำว่า(ربي يربي)รอบียายัรบา ซึ่งมีความหมายว่า การกำเนิดและเติบโตดังคำกล่าวของชาวอาหรับที่ว่า

فمن يك سائلا عنى فأني بمكة منزلي وبها ربيت

 หมายถึง ถ้าผู้ใดถามถึงแท้จริงฉันอยู่ที่มักกะฮ คือ บ้านฉัน และที่นั่นฉันได้เติบโต

3-มาจากคำว่า(رب يرب)รอบบา ยารูบบู หมายถึง การปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น การสั่งสอนการปกครองดูแล

ท่านยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า(Abual-rahman)มีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้อีกหลาย เช่น ท่านอีหม่าม บัยดอวี(Imam-baidihowe 685)ได้กล่าวไว้ในหนังอรรถาธิบายของท่านว่า “อัร-รอบ”ที่เป็นรากศัพท์ของคำว่า อัร ตัรบียะฮ์ ซึ่งหมายถึงการให้สิ่งหนึ่งไปสู่เป้าหมาย หรือไปสู่เป้าหมายในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป

อัรรอฆิบ อัลอัศฟาฮานี (AL-Asfany 502)ได้กล่าวว่า อัร รอบ ที่เป็นรากศัพท์ของคำว่า อัร ตัรบียะฮ์ หมายถึง การสร้างหรือเสริมสิ่งหนึ่งๆให้ไปถึงเป้าหมายหรือถึงขีดความสมบูรณ์ตามขั้นตอน และยังมีคำนิยามอีกหลากหลายที่ขออนุญาตไม่หยิบยกมา ณ ตรงนี้

 

ความหมายของการศึกษา ในเชิงวิชาการ

มีนักวิชาการให้คำนิยามไว้หลายคำนิยามอีกเช่นกัน ซึ่งขอหยิบยกมาเพียงบางส่วน กล่าวคือ คอลิด ฮามิด บิน ฮาซีมี(Khalid hamid Al hashimy)[5] ได้กล่าวถึงคำนิยามของการศึกษาไว้ว่า การศึกษาหมายถึงการพัฒนาและส่งเสริมมนุษย์อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้มีความสมบูรณ์ในทุกๆด้าน โดยวางอยู่บนพื้นฐานของคำสอนแบบอัลอิสลาม จากนิยามนี้ทำหัเราทราบว่า การตัรบียะฮ์จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและมีเป้าหมาย โดยวางอยู่บนพื้นฐานคำสอนอิสลาม เพื่อความสุขสงบ ทั้วโลกนี้ และโลกหน้า ห่างไกลจากการตัรบียะฮ์ที่ไม่ใช่อิสลาม เช่น การตัรบียะฮ์ของยะฮูดี นัศรอนี  หรือเป็นไปตามชาตินิยม ผู้ปฏิบัติตามศาสนาบิดเบือน และท่านยังได้สรุปความเสริมใว้อีกว่า(التربية الإسلامية) คือการเตรียมพร้อมเพื่อการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้อยู่ในหนทางที่ถูกต้อง ซึ่งผู้ให้การตักเตือนที่แท้จริง คือ อัลเลาะห์ ซ.บ.

 

การศึกษาอิสลามเป็นแนวทางสำหรับมุสลิมทุกคนซึ่งจะนำไปสู่การยอมจำนนต่อ   อัลลอฮฺดังนั้นการศึกษาอิสลามมีสองแหล่งที่สำคัญนั้นก็คือ พื้นฐานที่มีมาจากอัลกุรอ่านและอัซซุนะห์หรือวัจนะของท่านนบีนั้นเอง

จึงใคร่ขอเสนอพื้นฐานการศึกษาที่มีมาจากอัลกุรอ่านและพื้นฐานการศึกษาที่มีมาจากอัซซุนะห์ตามลำดับ



[1] พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ 2542 พิมพ์ครั้งที่ 1 หน้า 793-794

[2] พจนานุกรมอังกฤษไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณะธรรม 2543 กรุงเทพมหานคร หน้า 51/58

[3] ปทานุกรมอาหรับ-ไทย บินมุสลิม สำนักพิมพ์ ส.วงศ์เสงี่ยม ปี  2549 หน้า 6

[4] Abd al-Rahman al-Nihlwi. Usul al-Tarbiyah al-islamiyah wa-Asalibiha: Fi-al-Baitu. Wa-Madrosah. Wa-Al-majtamia.2003. Damaska(syria): Darul Fikri หน้า12-13

[5] Khalid Hamid al-Hashimi.Usul al-Tarbiah al-Islamiah. หน้า 18

หมายเลขบันทึก: 479439เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2012 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท