ร่วมคิด ร่วมทำงานพัฒนาชุมชน


ร่วมคิด ร่วมทำ

ร่วมคิดหรือร่วมทำในการพัฒนา

        ในการพัฒนาชุมชน สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง คือ การมีส่วนร่วมของชาวบ้านที่มีส่วนในการร่วมคิดและร่วมทำ เพราะชาวบ้านมีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ช่วงหลังจะเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน

       การมีส่วนร่วม    กระบวนการที่ให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ได้ตระหนักรู้ รับรู้ มีโอกาสเข้ามาแสดงบทบาท ทัศนคติ  และความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการพัฒนา   ร่วมคิด  ร่วมตัดสินใจในการแก้ปัญหาชุมชนของตนเอง   เป็นการเน้นการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์และความชำนาญและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและมีทักษะของประชาชนในการแก้ไขปัญหาร่วมกับการใช้วิทยาการภูมิปัญญาที่เหมาะสมชัดเจน โปร่งใส ต่อเนื่อง และเป็นระบบ

ซึ่งขั้นตอนของการมีส่วนร่วมของชาวบ้านโดยมีการแบ่งเป็นระดับ ดังนี้

 ตามทฤษฎี Cohen and Uphoff กล่าวถึงขั้นตอนของการมีส่วนร่วมของประชาชนว่ามีดังนี้

๑.      การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา (Analysis)

๒.    การมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา (Decision Making)

๓.     การมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหา (Implementation)

๔.     การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์จากโครงการ (Benefits)

๕.     การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation)

      ในการพัฒนาชุมชน สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง คือ การมีส่วนร่วมของชาวบ้านที่มีส่วนในการร่วมคิดและร่วมทำ เพราะชาวบ้านมีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ช่วงหลังจะเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน

      เทศบาลตำบลแม่ขรี ก็ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนมาเป็นส่วนหนึ่งในงานพัฒนาโดยอาศัยการทำประชาคม เข้ามาศึกษาสภาพชุมชนและปัญหาจากชาวบ้าน แต่ก็ประสบความสำเร็จในบางส่วน 

สาเหตุที่ทำให้เทศบาลตำบลแม่ขรีมีส่วนร่วมในระดับน้อย มี 4 สาเหตุ ดังนี้

1.ปัญหาด้านการเมือง

เทศบาลตำบลแม่ขรีมี 2 พรรคการเมืองใหญ่ ซึ่งหากมีโครงการทำกิจกรรมฝ่ายทีไม่ใช่ฐานเสียง จะไม่รับการดูแลเท่าที่ควร จึงทำให้ขาดการมีส่วนร่วมในบางกิจกรรมการมีส่วนร่วม

2.ความเจริญของเมือง

      เทศบาลตำบลแม่ขรี จึงทำให้ความสัมพันธ์บางอย่างหายไป เช่น จากอดีต เป็นครอบครัวขยายก็เปลี่ยนมาเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น เนื่องจากระบบเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติห่างกัน เนื่องจากมีถนนเข้ามา และมีความเจริญเข้ามาทำให้คนจากต่างถิ่นเข้ามาจึงทำให้ความสัมพันธ์ไม่ใกล้ชิด ต่างความคิด ต่างวัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ขาดการมีส่วนร่วม

3.ถนนแบ่งความสัมพันธ์

       เมื่อประมาณปี พ.ศ 2500 มีการสร้างถนนเพชรเกษมตัดผ่านจึงทำให้เทศบาลแม่ขรีมีลักษณะเป็นเมือง อกแตก ฝั่งที่อยู่ติดกับองค์กรจะมีความเจริญสูงมาก เช่น มีวัด โรงเรียน ตลาด เป็นต้น ส่วนอีกฝั่งหนึ่งจะไม่มีความเจริญ จะมีแต่บ้านเรือนเพียงไม่กี่หลัง และมีความรู้สึกว่า หน่วยงานดูแลไม่ทั่วถึง และหากไม่มีความจำเป็นก็จะไม่ข้ามฝั่งมา เพราะห่วงเรื่องความปลอดภัย เพราะต้องข้ามถนนใหญ่ จึงเป็นอีกสาเหตุทีทำให้ขาดการมีส่วนร่วม

4.ชาวบ้านขาดความรู้และความเข้าใจในการมีส่วนร่วม

       ชาวบ้านขาดความรู้และความเข้าใจในการมีส่วนร่วม เนื่องจากชาวบ้านมีความเข้าใจผิดในการมีส่วนร่วมโดยที่ชาวบ้านต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ ไม่ใช่มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากโครงการเพียงอย่างเดียว เช่น โครงการจัดตั้งโรงเพาะเห็ด ซึ่งไม่มีความสอดคล้องกับชาวบ้าน เป็นต้น

       ลักษณะในการทำงานพัฒนาชุมชนของเทศบาลในปัจจุบันจะมีลักษณะ top down ซึ่งมีลักษณะการสั่งงานมาจากสายบังคับบัญชา ซึ่งเป็นการคิดแผนการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมแค่ร่วมทำแต่ไม่ได้ร่วมคิดในการวิเคราะห์ปัญหา เช่น การเพาะเห็ด เพื่อเป็นรายได้เสริม ทั้งๆที่ลักษณะทางกายภาพมีความเป็นเมือง ซึ่ง ชาวบ้านไม่มีส่วนในการช่วยคิด แต่มีส่วนร่วมในการตอรับผลประโยชน์จากโครงการ ซึ่งภาครัฐถือว่า เป็นการมีส่วนร่วมในระดับหนึ่งของการมีส่วนร่วม

        จากปัญหาการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี ชาวบ้านมีการหลงประเด็นในการมีส่วนร่วม จึงทำให้มีส่วนร่วมในระดับ รับผลประโยชน์จากตัวโครงการเพราะฉะนั้นจะต้องมีการสร้างความรู็และความเข้าใจให้กับชาวบ้าน โดยอาศัยหลักการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมกัน ได้แบ่งระดับของการสร้างการมีส่วนร่วมของชาวบ้านเป็น 5 ระดับ ดังนี้

                1. การให้ข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในระดับต่ำที่สุด แต่เป็นระดับที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นก้าวแรกของการที่หน่วยงานจะเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ วิธีการให้ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางเสื่อต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ จดหมายข่าว การจัดงานแถลงข่าว การติดประกาศ และการให้ข้อมูลผ่าน เป็นต้น

                2. การรับฟังความคิดเห็น เป็นกระบวนการที่เปิดให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ  เป็นต้น

                3. การเกี่ยวข้อง เป็นการเปิดโอกาสให้ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมเสนอแนะทางที่นำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงานของภาครัฐ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะ ประชาพิจารณ์ การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเสนอแนะประเด็นนโยบาย เป็นต้น

                4. ความร่วมมือ เป็นการให้กลุ่มชาวบ้านผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม โดยเป็นส่วนร่วมกับภาครัฐในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ และมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น คณะกรรมการที่มีฝ่ายชาวบ้านร่วมเป็นกรรมการ เป็นต้น

                5. การเสริมอำนาจแก่ประชาชน เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับสูงที่สุด โดยให้ชาวบ้านเป็นผู้ตัดสินใจ เช่น การลงประชามติในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ โครงการกองทุนหมู่บ้านที่มอบอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด เป็นต้น

สรุป

การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านและเครือข่ายภาคประชาสังคมทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนมากน้อยเพียงใด รวมทั้งต้องอาศัยกระบวนการความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคมที่เป็นพันธมิตรของหน่วยงาน ซึ่งถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานจะต้องร่วมมือกันเปิดระบบราชการให้ประชาชนมีส่วนร่วม   เพื่อทำให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เกิดการแบ่งสรรทรัพยากรอย่างยุติธรรม  และลดความขัดแย้งในสังคม และที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างกลไกของการพัฒนาระบบราชการที่ยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของชาวบ้าน

 อ้างอิง

วิรัช  วิรัชนิภาวรรณการบริหารและจัดการเทศบาลในยุคปฏิรูปการเมือง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โฟร์เฟซ , 2546

อคิน  รพีพัฒน์การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข, 2547. 



 

คำสำคัญ (Tags): #ร่วมคิดร่วมทำ
หมายเลขบันทึก: 479367เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2012 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ถูกต้องแล้วครับการพัฒนาจะขาดการมีส่วนร่วมไม่ได้

อภิสิทธิ์ พงศ์สุชาติ john

การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนานั้นในกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ นั้นที่ได้ทำลงไปชุมชน เกิดการเรียนรู้ วิเคราะห์ เสนอแนะแนวทางสร้างสรรค์ความคิดลงไปในชุมชนที่จะให้ชุมชนนั้นเกิดความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้

การมีส่วนร่วมจะสามารถขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมนได้ ต่อไปในอนาคต ครับ ถือว่าเป็นบทความที่ดี

เป็นบทความที่น่าสนใจนะคะ เพราะการมีส่วนร่วมของคนประชาชนถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศพัฒนาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

ใช่แล้วค่ะ ถ้าคนในชุมชนไม่มีส่วนร่วม แล้วใครล่ะจะมาช่วยแก้ปัญหาอย่างตรงจุด เพราะคนที่เผชิญปัญหาก็คือคนในชุมชนนั่นเอง

จากบทความ ก็เห็นด้วยนะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาอะไรก็ตาม ก็ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมลงมือทำจากทุกภาคส่วน เพื่อผลการพัฒนานั้นออกมาประสบความสำเร็จ และยั่งยืน ..

เป็นบทความที่น่าสนใจดีนะครับ หยิบยกประเด็นในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนมาเขียน แต่สำหรับการเขียนถึงข้อเท็จจริงที่หยิบยกมาเป็นปัญหานั้น ผมเห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอ ทำให้ผู้อ่านอาจจะเกิดข้อสงสัยขึ้นได้ว่าทำไมอยู่ๆถึงพูดถึงเรื่องเทศบาลตำบลแม่ขรีขึ้นมา และเกี่ยวอย่างไรกับการมีส่วนร่วม แต่ในเรื่องของประเด็นที่นำมาเขียนนี้ ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่ดี น่าสนใจครับ

ปล.ทุกอย่างที่แสดงความคิดเห็นไป ไม่ได้มีอคติหรือต้องการก่อกวนใดๆทั้งสิ้นนะครับ ขอบคุณครับ ^ ^

เห็นด้วยกับบทความนี้ครับ การร่วมมือร่วมใจจากทุกส่วนในชุมชนนั้น สามารถช่วยก่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นได้แน่นอนครับ

ถือว่าเป็นบทความที่ดี น่าสนใจมากค่ะ

ขอขอบคุนสำหรับทุกความคิดเห็นคับ

การมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาถ้าหากขาดการมีส่วนร่วมการพัฒนาอาจจะประสบความสำเร็จ

การมีส่วนร่วมทำให้งานพัฒนาเกิดการขับเคลื่อน

เป็นความที่ดีครับ...ทุกกระบวนการในการพัฒนาชุมชนต้องมาจากการร่วมคิดและร่วมทำจึงจะทำให้งานพัฒนาเกิดประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ครับ

ชุมชนเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนา ซึ่งทุกคนในสังคมย่อมมีบทบาทเท่าเทียมกัน

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ ร่วมคิดหรือร่วมทำในการพัฒนาจะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้า

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

เพราะประชาชนทุกคนควรได้สิทธิ และความเท่าเทียม จึงเห็นด้วยกับการ มีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อการบริหารปกครองท้องถิ่น

เป็นบทความที่ดีเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

เห็นด้วยค่ะ เพราะการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้าจะต้องอาศัยคนในชุมชน เพราะถ้าหากคนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือ การพัฒนาก้อเป็นไปอย่างยากลำบาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท