มัจลิสอิลมีแห่งที่๓


จุดหมายปลายทางเพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

Upacara perasmian Majlis Ilmi

Pada tanggal 26 Muharram1433

    โครงการเปิดมัจลิสอิลมีย์[1] แห่งที่๓ มัจลิสอิลมี เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ๒๐ปีที่แล้ว โดยใช้สถานที่มัสยิดอีบาดุรเราะฮฺมานมีการเรียนการสอนทุกๆวันเสาร์ เป็นสถานที่การเรียนการสอน โดยโต๊ะครู (ผู้รู้หรือ อุลามาอฺ) ผู้เรืองนาม ได้แก่ ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา  อ. อะฮฺมัด อัลฟารีตีย์ และผู้ทรงคุณวุฒอีกหลายท่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ถ่ายทอดความรู้ (meyampai Risalah dakwah) หรือเป็นการเผยแพร่ความรู้   นำมนุษย์ไปสู่ความดี ไปสู่ความสว่าง และจุดหมายปลายทางเพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขปราศจากความขัดแย้งภายใต้กรอบขอบเขตที่พระผู้เป็นเจ้าได้กำหนดเอาไว้  มัจลิสแห่งที่สองก็ได้อุบัติขึ้นที่ปารามีแต ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนทุกๆวันอาทิตย์ เมื่อไม่นานมานี่เอง และล่าสุดมัจลิสอิลมีแห่งที่สามก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในผืนดินโสร่งแห่งนี้ ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนทุกๆวันพุธ

แรกเริ่มในวันแรกของเราเพื่อให้เกิดความบารอกะฮฺ ด้วยการเรียนเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งอ่านโดย อ. อาลาวี  รอยูโมง หลังจากนั้นเป็นการเรียนเชิญผู้ใหญ่บ้านออกมากล่าวโอวาท และประวัติความเป็นมาของโครงการในครั้งนี้  ผู้ใหญ่ก็ได้ขึ้นมากล่าวคำขอบคุณต่อเอกองค์อัลลอฮฺซุบฮานาฮูวาตาอาลาที่ให้โครงการในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเพราะความอนุมัติจากอัลลอฮฺ เนื่องจากมีการพยายามเป็นเวลาแรมปีด้วยกันหากจะคิดแล้ว มันเป็นความประสงค์ของเราไม่ใช่ของอัลลอฮฺโครงการจึงไม่สำเร็จ  แต่ ณ วันนี้อัลลอฮฺทรงอนุมัติแก่เราแล้วเพื่อให้มีการเรียนการสอน 

ผมขออนุญาตเล่าประวัติศาสตร์เกี่ยวกับหมู่บ้านโสร่งนิดหนึ่ง เพราะเนื่องจากหลายต่อหลายเข้าใจผิดเกี่ยวกับโสร่ง เป็นอย่างมาก หากจะพูดแล้วไม่มีใครหน้าไหนที่จะกล้าเข้าหมู่บ้านโสร่งเป็นแน่ เพราะโสร่งเป็นคนเขา หรือคนป่านั้นเอง จึงขอเล่าประวัติที่แท้จริงให้ฝัง เรื่องมันก็มีอยู่ว่า คำว่า “โสร่ง” นั้นเพี้ยนมาจากคำว่า “สูรง” (sungung) อันหมายถึง ไม้ไผ่ที่ไว้เปิด ปิดประตูเป็นเสมือนกำแพง เมื่อคนต้องการเข้าออกหมู่บ้านจะต้องเข้าออกเพียงประตูเดียวเท่านั้น เพราะสาเหตุที่มีประตูเข้าออกเพียงบานเดียวนั้นเป็นการป้องกันสัตว์ดุร้ายต่างๆเนื่องจากเป็นพื้นที่ป่ารก และการป้องกันขโมยอีกทางหนึ่งด้วย ขโมยมีอยู่ชุ่มมาก จึงมีการเข้าออกเพียงประตูเดียว นานนานเข้าจึงพูดกันติดปากว่าเมื่อต้องการเข้าหมู่บ้านนั้นจะต้องอาออกสูรงก่อนจึงจะเข้าได้ คนนอกก็มีการเข้ามาภายในชุมชนเช่นกัน จึงตั้งชื่อเป็น “สูรง” และเพี้ยนมาเป็น โสร่งจนถึงปัจจุบัน

ส่วนการศึกษาของคนสมัยก่อนก็จะต้องรอนแรมไปศึกษาหาความรู้จากนอกพี้ที่  แต่ทวดของผมนั้นคือครอบครัวแรกที่มีการศึกษาหน่อยในสมัยนั้นซึ่งอยู่ที่เกาะเล็กๆ (pula)ก็มีการเรียนการสอนอยู่บ้างเล็กน้อย  ซึ่งเราเรียกมันว่า “สมัยอดีตกาล” แต่ ณ ปัจจุบันอัลลอฮฺได้ทรงพลิกฟื้นแผ่นดินแห่งนี้จากรกไม้ รกหญ้ากลายมาเป็นผืนดินทอง เต็มไปด้วยนักปราชญ์ และนักศึกษาเป็นพันๆคน อย่างที่ประจักษ์ในสายตาทั่วโลก

ทองมาอยู่ตรงหน้าของเราแล้วอยู่ที่เรา เราจะหยิบมันเพื่อประดับประดาชีวิตของเรา หรือได้แค่มองผ่านไม่เอาประโยชน์จากมันเลย ดังนั้นจงเชิญชวนพี่น้องของเราอีกมากมายที่ไม่ยุ่งอยู่กับงานเรามานั่งฟัง เรามาเรียน มันน่าจะดีกว่า หรือถ้าไม่สามารถก็เปิดฟังวิทยุพลางทำงาน สุดท้ายนี้เนื่องจากความรู้นั้นสำคัญมากจึงอยากให้เรามั่นศึกษาหาความรู้ ผมขอฝากไว้

หลังจากนั้นเป็นการเสวนา โดย ดร.นูรดีนอับดุลลอฮฺ  ดากอฮา กับ อ. ซอและห์  ตาเล๊ะ โดยมีผู้ดำเนินรายการ อ. รุซดี ซึ่งมีหัวข้อในการเสวนาว่า  “ความสำคัญในการศึกษาหาความรู้” (kepentingan dalam menututii lmu)  โดยมีใจความสำคัญดังนี้

เกริ่นนำสภาพการศึกษาในสมัยอดีต หรือในปอเนาะ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย หรืออาศัยซึ่งกันและกัน ทางสถาบันก็ได้รับประโยชน์จากชุมชน และชุมชนก็ได้รับประโยชน์จากสถาบันปอเนาะภาพแห่งการช่วยเหลือกันก็ยังคงตราตรึงถึงความทรงจำนั้นได้ แต่ ณ ปัจจุบันสภาพการดังกล่าวได้หายไปจากปอเนาะ แม้กระทั้งชุมชนเองก็ไม่เคยได้รับประโยชน์อันใด สถาบันมีการแข่งขันกันอย่างเห็นได้ชัด มีการตีขอบเขตหรือรั้วเพื่อกันคนนอกเข้ามา จึงทำให้ภาพในอดีตเลือนหายไปตามกาลเวลาและความทันสมัย

ประเพณีของเรานั้นกระหายต่อความรู้เป็นอย่างยิ่ง (budaya dahaga kepada ilmu) ดังนั้นเราจึงต้องตอบสนองประเพณีดังกล่าวมาใช้ จึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ตามความสามารถของตนและดูความเหมาะสม

เพื่อยกระดับประชาชาติ ให้เป็นประชาชาติแห่งการเรียนรู้ สามารถรู้ เข้าใจโดยเฉพาะเรื่องฟัรฎูอีนและฟัรฎูกีฟายะฮฺตามความสามารถของตน เพราะเนื่องจากความรู้นั้นคือรากฐานในการสร้างประชาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเราคือ ประชาชาตินักอ่าน (Ummatul iqra’)

ความรู้คือแสงประทีป ความโง่เขล่าคือภยันตราย (ilmu cahaya jahil bahaya)อุปมาความรู้ อุปไมดั่งแสงสว่างแห่งชีวิต ขาดแสงสว่างความมืดมนก็เข้ามาแทนที่ทำให้การดำเนินชีวิตการังกาสังไม่รู้ที่มาที่ไป เขาไปไหนเราขอไปด้วยทั้งที่ไม่รู้ว่าเขาไปไหน ดังนั้นมั่นเติมเชื้อเพลิงอยู่บ่อยครั้ง เพื่อให้ตะเกียงยังคงทอดแสงสว่างให้ชีวิตยังคงดำเนินไปได้ดี ความรู้ที่แท้จริงนั้นมาจากอัลกุอานและซุนนะฮฺเพราะนี่คือแหล่งความรู้ที่แท้จริง (sumber ilmu)

ขอฝากไว้จงมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เป็นนิจเพื่อชีวิตของเราดำเนินไปในรีฎอของอัลลอฮฺพระเจ้าแห่งสากลโลก ขอให้เราประสบความสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อามีน

กล่าวเปิดพิธีโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ดร.อิสมาอีลลุตฟี  จะปะกียา ในการนี้ท่านได้กล่าวถึงความรู้อย่างน่าสนใจมีใจความดังนี้  “จงรู้เถิดว่าความรู้นั้นคือศาสนา หากปราศจากความรู้ก็ปราศจากศาสนา” อิสลามได้เน้นหนักถึงความรู้ เพราะโองการแรกที่ประทานลงมา เกี่ยวเนื่องกับความรู้คือ “จงอ่าน” จงอ่านด้วยพระนามขององค์อภิบาลของเจ้า และคำบัญชาของอัลลอฮฺแด่ท่านศาสนทูตและศอฮาบัตหมั่นสะสมความรู้อยู่ตลอดเวลาด้วยการขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ

وَقُلْ رَبِّ زِدْنِي عِلْمًا

ความว่า “และจงกล่าวเถิด “ข้าแต่พระเจ้าของข้า พระองค์ขอพระองค์ทรงโปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วย” (ฏอฮา.114)

                เนื่องด้วยความรู้ที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอ ถึงแม้จะมีมากก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มพูนความรู้อยู่เป็นนิจตามยุคกาลสมัย

                ดังนั้นมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เป็นนิจและเพื่อประดับประดาชีวิตของเราไปสู่การยินยอมของพระเจ้าแห่งสากลโลก วัลลอฮฺอะอฺลัม                                                                                     

 

 


[1]มัจลิสอิลมี หมายถึง ที่ชุมนุมเพื่อศึกษาหาความรู้ หรือแหล่งเรียนรู้นั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 479363เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2012 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท