กรุงเทพมหานคร


วันเดียวเที่ยวไม่หมดหรอกกรุงเทพฯ

กรุงเทพมหานคร

    กรุงเทพฯ เดิมเรียกชื่อกันว่า เมืองบางกอก ครั้นต่อ มา เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงเทพฯ ขึ้นเป็นเมือง หลวงใหม่แทนกรุงธนบุรีโดยทรงประกอบ พิธีตั้งเสาหลัก เมืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2325 เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2325 แล้วพระราชทานนามพระ นครนี้ว่า "กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์มหินทรายุ- ธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรม- ประสิทธิ์" ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนนามตรงบวรรัตนโกสินทร์ เป็น "อมรรัตนโกสินทร์" ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2514รัฐบาลได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 24 รวมจังหวัดพระนครและธนบุรีเข้าด้วยกัน เรียกชื่อว่า "นครหลวง กรุงเทพธนบุรี" หลังจากนั้นได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 334 วันที่14ธันวาคม 2515 ปรับปรุงการปกครองใหม่และ เรียกชื่อใหม่เป็น "กรุงเทพมหานคร"แต่นิยมเรียกันสั้นๆว่า"กรุงเทพฯ" ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย เป็นศูนย์ กลางทางด้านการปกครอง  การคมนาคมขนส่ง การค้าพาณิชย์ การสื่อสาร ฯลฯ กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ 1,568.737ตาราง กิโลเมตร

     กรุงเทพฯ แบ่งการปกครองออกเป็น 50 เขต คือ พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย ปทุมวัน สัมพันธวงศ์ บางรัก ยานนาวา สาธร บางคอแหลม บางซื่อ ดุสิต พญาไท ราชเทวี หัวยขวาง ดินแดง ประเวศ สวนหลวง จตุจักร ลาดพร้าว หนองจอก ลาดกระบัง ธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด จอมทอง ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ หนองแขม พระโขนง บางนา คลองเตย วัฒนา บางเขน สายไหม ดอนเมือง หลักสี่ บางกะปิ วังทองหลาง บึงกุ่ม คันนายาว สะพานสูง มีนบุรี คลองสามวา ภาษีเจริญ บางแค บางขุนเทียน บางบอน ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา

 

ทิปส์การท่องเที่ยว

          การโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบีทีเอส มีบัตรโดยสารประเภทคุ้มค่า เช่น บัตรโดยสารรายเดือนและบัตรโดยสารแบบเติมเงิน หากต้องการเที่ยวในเมืองหลายวันโดยใช้รถไฟฟ้าเป็นพาหนะหลัก ควรใช้ตั๋วดังกล่าว เพราะประหยัดและสะดวกกว่ามาก

         นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว ต้องแต่งกายสุภาพ ผู้ชายห้ามสวมกางเกงขาสั้นและรองเท้าแตะ ผู้หญิงห้ามสวมเสื้อกล้าม เสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้น กางเกงสามส่วน และรองเท้าแตะ และห้ามถ่ายภาพในอาคารและในพระอุโบสถด้วย

       ปัจจุบันตลาดนัดจตุจักรเปิดทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด โดยแต่ละโซนจะเปิดและปิดหมุนเวียนสลับกันไปในแต่ละวันไม่ซ้ำกัน แต่ในวันเสาร์และอาทิตย์จะเปิดหมดทุกโซน รวมทั้งเจเจ มอลล์ด้วย

       ถนนข้าวสารจะไม่ค่อยพลุกพล่านและมีของขายน้อยเป็นพิเศษในคืนวันจันทร์ เพราะเป็นวันหยุดของร้านแผงลอยหลายๆ ร้าน หากต้องการไปช็อปปิ้งที่นี่ แนะนำว่าให้เลี่ยงวันจันทร์

        ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในกรุงเทพฯ มีเวลาเปิดทำการแตกต่างกัน โดยมากจะเปิดตั้งแต่ 10.00–22.00 น. ซึ่งบางแห่ง ในวันเสาร์-อาทิตย์อาจมีเวลาเปิดทำการที่นานกว่าวันธรรมดา

 สถานที่ท้องเที่ยวที่ไม่ควรพลาด!!!!

1.พระบรมมหาราชวัง

 

         พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงสร้างขึ้นพร้อมสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อแรกสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนคือ พระมหาปราสาท พระราชมณเฑียรสถาน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีเนื้อที่ 132 ไร่  ในอดีตพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ลักษณะแบบแผนการก่อสร้างคล้ายคลึงกับพระบรมมหาราชวังเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาคือ มีวัดพระศรีรัตนศาสดารามอยู่ในบริเวณวังเหมือนกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เริ่มรับอิทธิพลจากตะวันตกทำให้สถาปัตยกรรมมีลักษณะผสมผสานกับทางตะวันตกมากขึ้น หมู่พระที่นั่งที่สำคัญมีดังนี้คือ
          พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  เดิมชื่อพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาท เป็นพระมหาปราสาทองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี และพระบรมวงศานุวงศ์ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีการมงคลและบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ
          พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท อยู่ใกล้กับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทใช้เป็นที่ประทับทรงพระราชพาหนะ และประทับเปลื้องเครื่องในงานพระราชพิธีที่มีขบวนแห่
          พระที่นั่งพิมานรัตยา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2332 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงใช้เป็นที่บรรทม และทรงใช้เป็นที่ชุมนุมมหาสมาคมสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารฝ่ายในเข้ารับพระราชทานเครื่องอิสริยยศ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และนอกจากนั้นยังเป็นที่สรงน้ำพระบรมศพพระบรมวงศานุวงศ์ก่อนที่จะประดิษฐานพระบรมโกศในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
          พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  สร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2419   ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะชั้นพระราชาธิบดี หรือชั้นประมุขของรัฐ  นอกจากนี้ยังมีหมู่พระที่นั่งสำคัญอื่น ๆ เช่น พระที่นั่งราชกรัณยสภา พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์  พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร  พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ฯลฯ
           วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว  เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) และใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ  วัดพระแก้วสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2327 และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-9 ตลอดทุกรัชกาล ภายในพระอุโบสถ และระเบียงรอบวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสวยงามมาก สิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ ภายในวัดได้แก่ พระปรางค์ 8 องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทนครวัดจำลอง ปราสาทพระเทพบิดร ฯลฯ
         ศาลาเครื่องราชอิสริยยศและเหรียญกษาปณ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวังด้านขวามือก่อนถึง   ทางเข้าพระราชวังส่วนใน จัดแสดงเหรียญกษาปณ์ และเงินตราที่ใช้ในประเทศไทยรวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสำนักฝ่ายใน  เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30–16.00 น. ค่าเข้าชม 10 บาท  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ส่วนจัดแสดงโทร. 0 2222 5864 ต่อ 18
         เวลาเปิดทำการ พระบรมมหาราชวังเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. (ห้องจำหบ่ายบัตรเข้าชม ปิดเวลา 15.30 น.) 
         ค่าเข้าชม   
         - ชาวไทยไม่เสียค่าเข้าชม 
         - ชาวต่างชาติค่าเข้าชมท่านละ  350 บาท  ซึ่งรวมบัตรเข้าชมศาลาเครื่องราชอิสริยยศและเหรียญกษาปณ์ พระที่นั่งวิมานเมฆ หรือพระที่นั่งอนันตสมาคม
         หมายเหตุ : โปรดแต่งกายสุภาพ 
         สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2623 5500 ต่อ 3100 หรือ 0 2224 3273 หรือ

2.สนามหลวงหรือทุ่งพระเมรุ

  

       เป็นลานโล่งอยู่ใกล้กับกำแพงพระราชวังหลวง และติดกับกำแพงวังหน้าด้านทิศตะวันออก เมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ บริเวณนี้เป็นที่ทำนาของประชาชน

3.ศาลหลักเมือง

    

       รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 บรรจุดวงชะตาของกรุงเทพฯ ไว้ภายใน

 

4.พระที่นั่งอนันตสมาคม

  

          ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร ศิลป์แผ่นดิน โดยสถาบันสิริกิติ์ สวนจิตรลดา  ตั้งอยู่ใกล้กับพระบรมรูปทรงม้าและพระที่นั่งวิมานเมฆ   
พระที่นั่งอนันตสมาคมเริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕  เพื่อเป็นที่รับรองแขกเมืองและประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน   ตัวอาคารเป็นอาคารหินอ่อนแบบเรอเนอซองส์ของประเทศอิตาลีและแบบนีโอคลาสสิก ภายนอกประดับด้วยหินอ่อนจากเมืองคารารา  ประเทศอิตาลี   ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้นแปดปี 
ภายในพระที่นั่งบนเพดานโดมมีภาพเขียนเฟรสโกที่สวยงามมาก  เป็นภาพเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑-๖ แห่งราชวงศ์จักรี จำนวน ๖ ภาพ โดยฝีมือเขียนภาพของนายซี. รีโกลีและศาสตราจารย์แกลิเลโอ กินี    ใต้โดมกลางเป็นโดมใหญ่ที่สุดมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ "จปร." ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงมีพระราชดำริก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่เพดานนับจากใต้โดมตลอดทั้งบริเวณท้องพระโรงกลางมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ "จปร." สลับกับ "วปร." อันเป็นพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระที่นั่งอนันตสมาคมได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ      พระที่นั่งอนันตสมาคมใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีรัฐพิธีต่างๆ   และเคยใช้เป็นที่ประชุมรัฐสภา ภายหลังจึงได้ย้ายการประชุมมายังรัฐสภาใหม่ซึ่งอยู่ด้านหลังของพระที่นั่งนี้  
           เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐-๑๘.๐๐ น. (ปิดขายบัตร ๑๗.๐๐ น. โปรดแต่งกายสุภาพ ผู้หญิงสวมกระโปรงสุภาพ) ปิดวันจันทร์ วันปีใหม่ วันสงกรานต์ 
ค่าเข้าชม  ๑๕๐ บาท เด็ก ๗๕ บาท ติดต่อสอบถามโทร. ๐ ๒๒๘๓ ๙๔๑๑, ๐๒ ๒๘๓ ๙๑๘๕  

5.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

  

             เดิมสถานที่นี้เป็นวังหน้าของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับวังหลวง มีพระที่นั่งที่สำคัญ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธศวรรย์       พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นที่ศาลาสหทัยสมาคม เรียกว่า “มิวเซี่ยม” แล้วจึงย้ายมาไว้ที่วังหน้าของกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งบางส่วน    กลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริเวณข้างเคียงมีโรงเรียนช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ และโรงละครแห่งชาติอยู่ในบริเวณเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจนอกจากพิพิธภัณฑ์แล้วยังมีวัดบวรสถานสุทธาวาส ตั้งอยู่ภายในบริเวณวังหน้าใกล้กับ       โรงเรียนช่างศิลป์ วัดนี้เรียกกันว่า “วัดพระแก้ววังหน้า” พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย และชาติเพื่อนบ้าน   พิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประจำปี 2545 รางวัลยอดเยี่ยม ประเภทโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว จากผลงาน โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เพื่อส่งเสริมให้รู้จักคุณค่าของวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของชุมชนของตนเพื่อการท่องเที่ยว  พิพิธภัณฑ์ฯ

          เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2224 1370, 0 2224 1333 หรือ 

6.บ้านพิพิธภัณฑ์

  

ตั้งอยู่เลขที่ 170/17 หมู่ 17 หมู่บ้านคลองโพแลนด์ ซอยคลองโพ 2 ถนนศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ 10170 หากขับรถมาตามถนนพุทธมลฑลสาย 2 ไปด้านทางรถไฟหรือคลองมหาสวัสดิ์จนสุด จะพบถนนศาลาธรรมสพน์เลี้ยวซ้ายไปตามป้ายพิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่จัดแสดงข้าวของของชาวเมืองชาวบ้านทั้งของเก่าและของใหม่ หลากหลายประเภท เช่น ของเล่น หนังสือ เครื่องเขียน เครื่องครัว และของใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ จึงเปรียบเสมือนคลังมรดกถ่ายทอดอดีตสู่ปัจจุบัน  สร้างอยู่ในพื้นที่ 58 ตารางวาเป็นอาคารสมัยใหม่กว้าง 3 คูหา สูง 3 ชั้นครึ่ง ชั้นล่างจำลองร้านค้าในอดีตเพื่อย้อนบรรยากาศยุคก่อนพ.ศ. 2500 ทั้งร้านขายกาแฟ ร้านขายยา ร้านตัดผม  เป็นต้น รวมทั้งมีห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียนตามหัวข้อต่าง ๆ ด้วย 

           เปิดให้เข้าชมเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 30 บาท เด็ก 10  บาท สอบถามรายละเอียด โทร. 08 9200 2803, 08 9666 2008

 

7.บ้านบางกอกดอลส์และตุ๊กตานานาชาติ

  

           ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 85 ซอยแยกรัชฏภัณฑ์ (ซอยหมอเหล็ง) ถนนราชปรารภ   ก่อตั้งโดยคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล เมื่อปีพ.ศ. 2499 หลังจากกลับจากเรียนประดิษฐ์ตุ๊กตาจากโรงเรียนโอซาวาดอลล์ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อประดิษฐ์ตุ๊กตาของไทยออกเผยแพร่   ตุ๊กตาของที่นี่เป็นที่รู้จักกันดีของนานาชาติ ตลอดจนนักสะสมตุ๊กตาทั้งหลาย เนื่องมาจากความสวยงามของตุ๊กตาที่ประดิษฐ์ออกมามีความเป็นเอกลักษณ์แบบไทยเคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดตุ๊กตาพื้นเมืองนานาชาติครั้งที่ 3 ประจำปีพ.ศ. 2521 ที่ประเทศโปแลนด์  สถานที่แห่งนี้เป็นทั้งสถานที่จัดแสดงและโรงงานผลิตตุ๊กตาชนิดต่างๆ  การผลิตจะทำด้วยมือทุกขั้นตอนโดยใช้วัสดุภายในประเทศเป็นหลัก ตุ๊กตาที่ผลิตออกมามีด้วยกันหลายประเภท อาทิเช่น ตุ๊กตาโขน  ตุ๊กตาชาวเขาเผ่าต่างๆ  ตุ๊กตาแสดงถึงชีวิตตามชนบทของคนไทยตลอดจนหัวโขนย่อส่วน  นอกจากนี้แล้วภายในโรงงานมีห้องหนึ่งจัดแสดงตุ๊กตาที่ได้มาจากทั่วโลก จำนวนประมาณ 400 ตัว  ซึ่งใช้เวลาสะสมเป็นเวลานานปี 

           เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-เสาร์ เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. โดยไม่เก็บค่าเข้าชม โทร. 0 2245 3008, 0 2245 4532 

8.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ

   

         อยู่ข้างสะพานพระปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า อดีตเคยเป็นโรงผลิตเหรียญกษาปณ์ของไทยปัจจุบันเป็นศูนย์รวบรวม และจัดแสดงผลงานศิลปะทั้งแบบประเพณีไทยโบราณ และแบบสากลร่วมสมัยของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีภาพเขียนสีน้ำมันฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ติดตั้งแสดงอยู่ด้วย

           เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์  ปิดวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2281 2224 และ 0 2282 2639-40

 

9.พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเก

หมายเลขบันทึก: 479331เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2012 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท