แนวทางการแก้ปัญหาการศึกษาชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชน


กระบวนการพัฒนาชุมชน,การศึกษาชุมชน,การพัฒนาชุมชน

แนวทางการแก้ปัญหาการศึกษาชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชน

            ในการพัฒนาชุมชนนั้นเป็นกระบวนการพัฒนาคนและกลุ่มคนในชุมชนให้มีศักยภาพเพียงพอและร่วมมือกันปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชน ตามแผนและโครงการที่กำหนดไว้ ทั้งการใช้พลังของชุมชนและการสนับสนุนจากภายนอกชุมชน (สนธยา พลศรี, 2547 : 49) โดยการที่จะทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนได้นั้นจะต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “กระบวนการพัฒนาชุมชน” ซึ่งในกระบวนการพัฒนาชุมชนนั้นก็จะหมายถึง ขั้นตอนที่นำมาใช้ในการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันตามลำดับ (สนธยา พลศรี, 2547 : 87)  โดยในกระบวนการพัฒนาชุมชนที่จะพูดถึงนี้ก็ คือ “การศึกษาชุมชน” ซึ่งในการศึกษาชุมชนนั้นก็จะเป็นขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการพัฒนาชุมชน การศึกษาชุมชนจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเพราะเนื่องจาก “การศึกษาชุมชน” นั้นก็คือ การเข้าไปศึกษาชุมชนในด้านต่างๆ ทั้งทางด้าน กายภาพ ชีวภาพ ความเป็นอยู่ ระบบวิธีคิด การทำงาน ความสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนปัญหาและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมร่วมกันของนักพัฒนา และชุมชนเพื่อที่จะได้กำหนด และวางแผนเพื่อการพัฒนาชุมชนร่วมกัน (ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ, 2543 : 44) ซึ่งถ้าหากการศึกษาชุมชนนั้นได้ข้อมูลมาไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับความจริง ไม่ทราบถึงปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน กระบวนการพัฒนาทั้งหมดที่ดำเนินในขั้นตอนต่อไปก็อาจจะผิดพลาดกันตามๆไปหมดได้ การศึกษาชุมชนจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากและมีปัญหาที่จะต้องพบเจอมากในการเก็บข้อมูลเพื่อจะศึกษาชุมชน โดยในการศึกษาชุมชนนั้นก็จะมีวิธีการศึกษาหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีการศึกษาที่ผู้ศึกษาชุมชนนำมาใช้ก็จะเป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ทั่วๆไป ส่วนวิธีการที่เลือกมานั้นคงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการทางด้านเนื้อของชุมชนต่างๆตามความต้องการของผู้ศึกษาชุมชน การเลือกวิธีการศึกษาชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้ได้ข้อมูลมาอย่างสมบูรณ์ที่สุด แต่ถึงอย่างไรวิธีการต่างๆก็สามารถเกิดปัญหาได้เพราะเนื่องจากสภาพพื้นที่แต่ละพื้นที่ในแต่ละชุมชนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก วิธีการในการศึกษาชุมชนจึงต้องมีแนวทางการแก้ปัญหาซึ่งเกิดมาจากปัญหาต่างๆในการศึกษาชุมชน เพื่อที่จะนำมาพัฒนาให้ผู้ที่ศึกษาชุมชนเพื่อที่จะนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาชุมชนต่อยอดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้งานพัฒนาชุมชนนั้นตอบสนองการแก้ปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

                ปัญหาที่เกิดจากวิธีการศึกษาชุมชนนั้นก็จะมีหลากหลายรูปแบบโดยยึดจากวิธีการศึกษาชุมชนหลายๆวิธีที่นิยมโดยทั่วไป ดังต่อไปนี้  1.การสังเกต (Observation) การสังเกตนั้นก็จะเป็นการศึกษาชุมชนเบื้องต้นโดยตรงของชุมชน ด้วยการบันทึกสภาวการณ์ที่เป็นจริงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสังเกตจึงเป็นการที่ไม่สามารถจะควบคุมข้อมูลให้ได้ตามความต้องการได้ โดยผู้ที่สังเกตจะต้องพยายามรับรู้ข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดระยะเวลาที่สังเกต โดยบางครั้งก็อาจจะทำให้ใช้เวลานานเกินความจำเป็นกว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการ ในการแก้ปัญหาเบื้องต้นผู้ที่ศึกษาโดยใช้วิธีการสังเกตนั้นจึงต้องมีการตื่นตัวตลอดเวลามีการเตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ เช่น กล้องถ่ายรูป สมุดจดบันทึก อื่นๆ เพื่อใช้ในการช่วยสังเกต และสามารถเก็บข้อมูลที่มาอย่างกะทันหันได้อย่างรวดเร็วที่สุดในการเก็บข้อมูลชุมชนนั่นเอง  2.การสัมภาษณ์ (Interview) การสัมภาษณ์นั้นเป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลด้วยการพบปะกันโดยตรงทำให้สามารถได้ข้อมูลโดยตรงมากที่สุด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสัมภาษณ์นั้นก็คือ เรื่องเวลาว่างจากผู้ให้สัมภาษณ์นั้นบางคนซึ่งเป็นผู้ที่ต้องทำงานหนัก เวลาว่างก็ไม่ค่อยจะมี และบางคนก็จะอยู่ที่ใดที่หนึ่งอย่างไม่เป็นเวลา วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นบางครั้งจึงต้องอาศัยผู้ที่สามารถให้สัมภาษณ์แทนได้ไปก่อน แล้วถ้าอยากรู้ข้อมูลมากกว่านั้นจึงค่อยหาเวลาสัมภาษณ์ผู้ให้สัมภาษณ์ใหม่ในวันหลัง 3.การใช้แบบสอบถาม (Questionaire) ในการใช้แบบสอบถามนั้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ง่ายต่อการเก็บข้อมูล แต่ปัญหาที่ได้รับนั้นก็คือ การที่ผู้ตอบแบบสอบถามนั้นไม่มีการศึกษาก็จะทำให้ผู้ตอบไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ แบบสอบถามจึงเหมาะสมมากสำหรับผู้ที่มีการศึกษาในระดับหนึ่ง วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นจึงต้องแจกแบบสอบถามให้เฉพาะแก่ผู้ที่อ่านออกเขียนได้ ส่วนผู้ที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ก็อาจจะต้องใช้วิธีการโดยการให้ผู้ที่แจกแบบสอบถามอ่านให้คนตอบแบบสอบถามฟังแล้วจึงตอบแบบสอบถามตามที่ผู้ตอบแบบสอบถามตอบกลับมา 4.การศึกษาจากเอกสาร ในการศึกษาจากเอกสารนั้นเป็นวิธีหนึ่งที่ง่ายมากต่อการศึกษา โดยจะศึกษาจากเอกสารต่างๆที่หน่วยงานราชการได้ศึกษาไว้แล้ว หรือ หนังสือที่ถูกเขียนไว้ และงานวิจัยต่างๆที่ถูกเขียนขึ้นมาก็ได้ ปัญหาที่ได้รับบ่อยๆจากการศึกษาจากเอกสารนั้นก็จะเกิดจากการได้รับข้อมูลที่เก่าไปแล้ว หรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง วิธีการแก้ปัญหาจึงต้องนำเอกสารที่ศึกษามาถามผู้รู้อีกครั้งเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ศึกษามา ข้อมูลนั้นจึงจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องต่อไป 5.การสนทนากลุ่ม (Focus group) เป็นการนำผู้รู้ในเรื่องต่างๆมาพูดคุยกันเพื่อจะได้นำข้อมูลมากลั่นกรองให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด การใช้วิธีสนทนากลุ่มนี้จึงเป็นวิธีที่ดีมากเพราะได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้ดีที่สุด แต่ปัญหาที่พบจากการสนทนากลุ่มนั้นก็คือ การที่จะรวมผู้รู้มาอยู่ในเวลาเดียวกันได้นั้นเป็นเรื่องยากเพราะว่าแต่ละคนมีเวลาไม่ตรงกันเนื่องจากอาชีพของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ในการแก้ปัญหาจึงต้องอาศัยการประชุมเพื่อหาวันนัดให้ตรงกันมากที่สุด หรืออาจจะต้องแบ่งวันนัดเพื่อแยกเป็นกลุ่มย่อยลงไป ซึ่งก็มีประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลในเฉพาะเจาะจงลึกลงไปอีก ซึ่งก็เป็นข้อดีของการสนทนากลุ่มและเป็นประโยชน์ต่อการทำข้อมูล ซึ่งในวิธีทั้งหมดที่กล่าวมาก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรกับสถานการณ์ในการศึกษาชุมชนจริงๆนั่นเอง

               วิธีการศึกษาชุมชนดังที่กล่าวมานี้เป็นเพียงวิธีการศึกษาเพียงทั่วไป ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะมีวิธีการต่างๆอีกมากมายที่ใช้ในการศึกษาชุมชน โดยในแต่ละวิธีก็จะมีปัญหาของมันตามความต้องการของข้อมูลในเรื่องต่างๆ ซึ่งในวิธีการทั้งหมดนี้การแก้ไขปัญหาก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการเก็บข้อมูล แต่ในความเป็นจริงการใช้วิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับข้อมูลนั้นๆ ก็จะทำให้เราเกิดปัญหาน้อยที่สุดต่อการศึกษาชุมชน และที่สำคัญการศึกษาชุมชนโดยได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ได้ข้อมูลที่เป็นจริงที่สุด รับรู้ได้ถึงปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนนั้น ก็เป็นสิ่งที่เป็นฐานสำคัญสำหรับกระบวนการพัฒนาชุมชน ในการที่จะทำอะไรสำเร็จได้นั้นปัจจัยสำคัญก็จะมาจากการได้ทราบถึงปัญหาและความต้องการจริงๆ และเมื่อได้รู้ถึงข้อมูลที่แท้จริงก็จะทำให้ส่งเสริมขั้นตอนต่อไปโดยเฉพาะขั้นตอนของการวางแผน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากและสามารถกำหนดอนาคตของชุมชนได้โดยมีรากฐานจากการศึกษาข้อมูลชุมชนที่มีความสำคัญต่อไปในอนาคตของชุมชนและเพื่อพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยใช้ “การศึกษาชุมชนเป็นรากฐาน” ที่สำคัญ

                เมื่อได้แนวทางการแก้ไขปัญหาการศึกษาชุมชนแล้ว ผู้ที่ศึกษาชุมชนก็จะต้องนำวิธีการศึกษาชุมชนและแนวทางการแก้ไขปัญหาจากวิธีการศึกษาชุมชนดังกล่าวไปใช้กับการเก็บข้อมูลชุมชน โดยนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาด้านทรัพยากรทางธรรมชาติภายในชุมชน ซึ่งในการเก็บข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชนนั้นปัญหาส่วนใหญ่ที่ได้รับก็จะมาจากปัญหาการศึกษาโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ เพราะเนื่องจากวิธีการสัมภาษณ์นั้นเป็นวิธีที่ได้รับการใช้กันมากที่สุด โดยใช้การสอบถามจากผู้รู้ซึ่งทำให้ผู้ศึกษาสามารถได้รับข้อมูลอย่างละเอียดและถูกต้องที่สุด แต่ปัญหาที่พบเจอจากการสัมภาษณ์นั้นก็คือการที่ผู้ให้สัมภาษณ์ซึ่งเป็นผู้รู้ทางด้านทรัพยากร ธรรมชาติภายในชุมชนนั้นไม่ค่อยมีเวลาว่าง เพราะเนื่องจากการประกอบอาชีพและวิถีชีวิตส่วนใหญ่ของเขาเหล่านี้มักจะไม่เป็นเวลา  จึงสามารถทำให้นำแนวทางการแก้ไขวิธีการศึกษาที่เสนอไว้มาประยุกต์ใช้ได้ เช่น การไปถามผู้รู้คนอื่น การหาเวลาอื่นไปสัมภาษณ์หรืออาจจะต้องสละเวลาของตนเองเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูล

                นอกจากนั้นวิธีการศึกษาอื่นๆก็สามารถนำมาใช้ได้กับประเด็นข้อมูลทรัพยากร ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีประโยชน์กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลทางด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนนั้น ซึ่งในแต่ละชุมชนก็มีข้อมูลทรัพยากรทางธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพพื้นที่ และลักษณะภูมิอากาศ โดยในแต่ละพื้นที่ก็จะพบปัญหาจากวิธีการศึกษาข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความถูกต้องและได้ข้อมูลที่ตรงประเด็นเนื้อหาของข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งที่ต้องเน้นเรื่องการจัดการทรัพยากร ธรรมชาตินั้นก็เพราะเนื่องจากการที่ชุมชนสามารถจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นฐานนั้นจะสามารถส่งผลให้ชุมชนนั้นได้พัฒนาศักยภาพต่างๆในการทำงานพัฒนาอีกหลายเรื่องทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาชุมชนนั้นๆก็จะเน้นการใช้ทรัพยากรเป็นฐานของชุมชนเพื่อประโยชน์ของคนในชุมชนและจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนภายในอนาคตข้างหน้านั่นเอง โดยเน้นการศึกษาชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติที่เป็นฐานของชุมชนต่อไปในอนาคต

                กล่าวโดยสรุป ในแนวทางการแก้ปัญหาการศึกษาเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนนั้นจะสามารถนำไปใช้ในงานพัฒนาได้ต่อไปได้โดยที่ผู้อ่านนั้นจะต้องนำวิธีการศึกษาชุมชนที่ผู้เขียนได้เสนอไว้นั้นไปประยุกต์ใช้กับงานพัฒนา ตามความเหมาะสมที่ได้อธิบายไว้ รวมไปถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาการศึกษาชุมชนที่ได้เสนอไว้นั้นก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาชุมชนได้ โดยเฉพาะการศึกษาชุมชนในประเด็นการศึกษาชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นผู้อ่านจะต้องรู้จักนำแนวทางการแก้ปัญหานั้นมาประยุกต์ให้นำมาใช้ได้จริง โดยยึดวิธีการแก้ไขปัญหาจากศึกษาชุมชนที่ผู้เขียนได้เสนอไว้เป็นหลัก เพื่อเป็นฐานต่อยอดในการทำงานพัฒนาได้ต่อไปในอนาคต

อ้างอิง

สนธยา พลศรี. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2547.

ทวี ทิมขำ. การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2528.

ธนพรรณ ธานี. การศึกษาชุมชน. ขอนแก่น : บริษัทเพ็ญพริ้นติ้ง, 2540.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) , 2543.

หมายเลขบันทึก: 479271เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2012 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

หัวข้อเข้มเกินไปคระ เป็นบทความที่ให้ความรู้ได้มากในเชิงวิชาการ สามารถที่จะนำไปใช้ประกอบองค์ความรู้และการศึกษาได้

แต่ในบางครั้งควรเพิ่ม สีสัน เพื่อลดความตึงเครียดในการอ่านบ้างก็ได้นะคระ ^v^

ขอบคุณมากครับ ที่ให้คำแนะนำ

ควรมีการสรุปรวบยอดของใจความหรือประเด็น/องค์ความรู้หลักๆจริงๆ

เพื่อจะได้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นแก่ผู้อ่าน และควรจะยกตัวอย่างกรณีศึกษาขึ้นมาเพื่อจะได้เห็นภาพของปัญหาชุมชนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยอาจกล่าวถึงจุดอ่อน/จุดแข็ง และแนวทางการแก้ปัญหาของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้อ่านได้มองถึงความเป็นสภาพของชุมชนที่ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย...^^

บทความนี้ เป็นบทความที่ดีและมีประโยชน์ต่อการใช้เป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี แต่เนื้อหาบางย่อหน้ามีเยอะเกินไป ทำให้ผู้อ่านจับใจความสำคัญได้ยาก น่าจะแบ่งประเด็นย่อย ๆ ได้อีก และควรจัดรูปแบบตัวอักษรไม่ให้มีการฉีกคำ เช่น คำว่า "เตรียม" ในย่อหน้าที่ ๒ รวมทั้งการเว้นวรรคตอนให้สม่ำเสมอด้วย

อ่านได้ความรู้ดีครับ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ไม่มากก็น้อยแหละครับ

ขอบคุณ สำหรับคำแนะนำ ดีดีดครับแล้วผม จะนำไปปรับปรุง นะครับ ถ้ามีโอกาสเขียนบทความใหม่ๆ

เป็นการให้ความรู้ทางวิชาการที่ดีมาก เหมาะกับผู้ที่สน เพื่อจะนำไปสู่การต่อยอดทางความรู้ได้ดี

หมั่นว่าเนื้อหาโอเคแล้วนะ แต่ว่าจัดเรียงไม่ค่อยสวยอ่ะ เอาตรงๆคือจัดเรียงไม่ค่อยน่าอ่านอ่ะ >"< ,, เอิ่มม แรงไปป่ะเนี่ยย หนูขอโทดดด :D

ออ ครับ ไม่เป็นไรครับแนะนำ ได้หมด ขอบคุณมาก หมั่นโถว

เก่งมากค่ะทำได้ขนาดนี้เป็นบทความทางด้านวิชาการที่ให้ควารู้ได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะดูเครียดไปบ้างก็ไม่ว่ากัน บางอย่างยังงงๆน่าจะมีตัวอย่างเพิ่มเติมนะคะ แต่โดยรวมก็ดีมากคะ

จากบทความ แนวทางการแก้ปัญหาการศึกษาชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชน

เนื้อหาที่นำมาเสนอเป็น เนื้อหาที่ดีมากนะค่ะ เยอะและเข้าใจได้ง่าย

แต่ควรมีการ นำเสนอ กิจกรรม หรือ โครงการ ต่างๆที่ลงไปทำกับชุมชนมานำเสนอให้ทราบ

เพื่อที่จะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

เช่น เจเคยทำโครงการ SIFE THAILAND ประกวดเมื่อปีก่อน

เป็นโครงการที่ให้เราไปพัฒนา ชุมชน สังคม และ เศรษฐกิจ

เจเลือกทำที่เขาคอหงษ์ เขาคอหงษ์มีปัญหาการบุกรุกของคนในชุมชนเข้าไปทำลายพื้นที่ป่า

และปลูกยางพารา บ้างก็เอาที่ดินไปขายให้นายทุน ทำให้พื้นที่ป่าลดน้อย

เราจึงไปคุยกับผู้นำชุมชน และ คนในชุมชน ว่าเพราะอะไรสาเหตุอะไรถึงปล่อยให้ป่าโดยทำลาย

สาเหตุ คือ เงิน และ ความไม่มั่นคงของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่เอาผิดกับผู้ทำผิดอย่างจริงจัง ทำให้ป่าโดยทำลาย

การแก้ไขของเรา คือ เข้าไปคุยกับชาวบ้าน โดยเอาผลกระทบที่เกิดจากการทำลายเขาคอหงษ์ไปเป็นข้อมูลอ้างอิง และ มีอาจารย์ของทาง มอ. ร่วม ให้ข้อมูลของเขาคอหงษ์ แกชาวบ้าน

และอีกวิธืการหนึ่งคือ ไปปลูกฝังเด็กในชุมชนเขาคอหงษ์ ว่าไม่ควรทำลายป่าของพวกเขา

โดยให้น้องๆไปปลูกป่าบริเวณชุมชน เพื่อทดแทนป่าที่หายไป

ถ้ามีตัวอย่างที่สะท้อนปัญหาออกมาชัดเจน จะช่วยให้เข้าใจมากกว่าเดิม

ทรัพยากรธรรมชาติถือว่าเป็นทุนของชุมชนที่มีความสำคัญ เพราะจะเป็นการบ่งชี้ว่าชุมชนนี้มีการจัดการหรือมีการพัฒนาที่ดีหรือไม่

ผมคิดว่ามันน่าจะมีการเพิ่มเติ่มเหมือนดังเม้นข้างบนนะครับเพื่อให้ได้รูปธรรมที่ชัดเจนขึ้นมาหน่อยหรือไม่ก็จับเอาที่คุณได้ศึกษาชุมชนจริงลงไปว่ามันนำไปใช้ได้จริงหรือเปล่า เพื่อหาข้อถกเถียงในงานพัฒนาได้ครับ แต่เนื้อหาที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นวิชาการมากครับ และเป็นข้อมูลที่นำไปใช่ได้จริงเนื่องจากมีการอ้างอิงในหนังสือ ยังไงก็ขอบคุณครบที่ทำบทความดีๆๆแบบนี้มาให้พวกเราชาวนักพัฒนาได้อ่านและนำมาใช้ในงานพัฒนาครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับทุกคำแนะนำ

บทความก็มีเนื้อหาที่น่าสนใจดีน่ะค่ะ แต่น่าจะเพิ่มประสบการณ์หรือหยิบยกชุมชนมาประกอบ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน จะทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

บทความนี้มีเนื้อหาสาระดี เหมาะแก่การนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางประกอบการศึกษาได้อย่างมาก

บทความน่าสนใจสามารถนำไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในการศึกษา

การศึกษาชุมชนช่วยให้ผู้ที่ทำการศึกษาได้่เข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริงส่งผลให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชนประสบความสำเร็จและได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนอย่างเต็มที่

อภิสิทธิ์ พงศ์สุชาติ john

เนื้อหามีสาระแน่นดี แต่ควรเพิ่มเติ่มในโครงการหรือกิจกรรมของชุมชนให้ยกตัวอย่างบอกด้วย เพื่อให้คนที่สนใจได้รู้จักชุมชนศึกาาเพิ่มขึ้น เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการทำงานในชุมชนต่างๆได้ในอนาคต

ทรัพยากรจะหมดไป หากไม่มีการจัดการหรือดูแลให้ดี

เป็นบทความที่เนื้อหาดีน่ะค่ะ ได้รับประโยชน์อยู่พอสมควรในเรื่องของทรัพยากรแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทรัพยากรจะเกิดคุณค่าสูงสุดก็ขึ้นอยู่กับคนในชุมชนที่ควรจะมีการมีส่วนร่วมกันไม่ว่าจะร่วมคิด ร่วมทำ ในการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อความต้องการในอนาคตค่ะ

เป็นบทความที่ดีครับ...ถ้าเราศึกษาชุมชนและแนวทางของปัญหาชุมชนทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงด้านอื่นๆด้วย ถ้าศึกษาได้ดี เราก็สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนได้ตรงจุดครับ

เป็นความน่าสนใจครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องกระบวนการ

การศึกษาชุมชนล้วนต้องใช้กระบวนการในการพัฒนาชุมชน เป็นข้อมูลที่ดีนะค่ะ

เป็นบทความที่ดีเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท