หมออนามัย กรดไหลย้อน


หมออนามัย โรคกรดไหลย้อน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

โรคกรดไหลย้อน หมายถึง ภาวะที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก โครงสร้างของกระเพาะอาหาร เมื่อเรารับประทานอาหารทางปาก อาหารจะถูกเคี้ยวและกลืนเข้าหลอดอาหาร และหลอดอาหารจะมีหูรูด หรือที่เรียกว่า Sphincter ทำให้ที่ปิดที่มิให้อาหารหรือกรดไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะ จะมีกรดออกมามีจำนวนมาก เมื่ออาหารได้รับการย่อย และจะถูกขับไปยังลำไส้เล็ก ดังนั้นหากการมีกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหารก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร คือภาวะที่กรดไหลย้อน จากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหารทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หรือ แสบหน้าอก บางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน Hiatus hernia โรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้น เข้าไปในกำบังลม การดื่มสุรา อ้วน ตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ การรับประทานอาหารรสเปรี้ยว เผ็ด ช็อกโกเลต อาหารมัน ของทอด หอมและกระเทียม มะเขือเทศ

ต้นเหตุของปัญหา

    โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การคลายตัวของหลอดอาหารส่วนปลาย โดยที่ไม่มีการกลืน พบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีจำนวนครั้งของภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยกว่าคนปกติ ซึ่งสาเหตุนี้ถือเป็นภาวะสำคัญของโรค นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้แก่ ความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าในคนปกติหรือเกิดมีการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารมากขึ้น ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร เชื้อแบคทีเรียบางชนิดหรือเกี่ยวกับพันธุกรรม

อาการของโรคกรดไหลย้อน

  1. 1.                   อาการทางหลอดอาหาร อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ ที่เรียกว่าร้อนใน (heart burn) บางครั้งจะจะร้าวไปที่คอได้ รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะตอนเช้ารู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดีหรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก มีเสมหะอยู่ในคอหรือระคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้ รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
  2. 2.                   อาการทางกล่องเสียง และปอด เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม ไอเรื้อรัง ไอหรือรู้สึกสำลักในเวลากลางคืน กระแอมไอบ่อย อาการแหบหรือแย่ลง เจ็บหน้าอก เป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆหายๆ

การรักษา

1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดน้ำหนักสำหรับผู้มีน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ จะทำให้เกิดกรดมาก ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ไม่ควรนอนออกกำลังกายหรือยกของหนักหลังออกกำลังกาย งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง งดอาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช็อกโกเลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ เผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด รับประทานอาหารพออิ่ม หลีกเลี่ยงชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา นอนให้หัวสูงประมาณ 6-10 นิ้วโดยหนุนที่ขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะ เพราะทำให้ความด้นในช่องท้องสูง

  

2.การรักษาด้วยยา Antacids เป็นยาตัวแรกที่ใช้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก ใช้ยา proton inhibitor ซึ่งเป็นยาที่ลดกรด ซึ่งเป็นยาที่ลดกรดได้เป็นอย่างดีอาจจะใช้เวลารักษา 1-3 เดือน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ก็อาจจะลดยาลงได้ ยาที่นิยมใช้ได้แก่ omeprazole, lansoprazole,rabprazole และesomeprazole หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมาก หรือทำให้หูรูดหย่อน เช่นยาแก้ปวด aspirin NSAID VITAMIN C

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อย

   โรคนี้ไม่สามารถ รักษาให้หายขาด (ยกเว้นการผ่าตัดแก้ไข) จะเป็นๆหายๆ อาการจะดีขึ้นหรือไม่ ไม่ไอยู่ที่ยา อยู่ที่การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเป็นสำคัญ อาการปวดแสบร้อน บริเวณหน้าอก ลิ้นปี่ และคอ เกิดจากกรดที่ไหลขึ้นมาจากกระเพาะผ่านบริเวณหน้าอก ลิ้นปี่ และคอ ทำให้เกิดอาการปวดแสบร้อนบริเวณดังกล่าว การที่เรอ คลื่นไส้ หรือมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่อก หรือคอ เกิดจากการที่ความดันช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจาก รับประทานอาหารมากเกินไปแต่ละมื้อ รับประทานอาหารที่ไม่แนะนำให้รับประทานโดยเฉพาะอาหารมันๆ อาหารที่ปรุงด้วยการผัด การทอดทุกชนิด (อาหารมันๆจะย่อยยาก ทำให้ท้องอืดได้ง่าย) นม น้ำเต้าหู้  ชาและกาแฟ ไข่ น้ำอัดลม น้ำหนักตัวที่เพิ่ม หรือเกินค่าปกติ ท้องผูก รับประทานผักและผลไม้ที่มีกากให้มากขึ้น ออกกำลังกาย เพื่อให้กระเพาะและลำไส้ เคลื่อนตัวได้ดี และลดอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง รสเปรี้ยว ในปากหรือลำคอ เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมา ส่วนรสขมในปากและลำคอ เกิดจากน้ำดีไหลย้อนขึ้นมา เสียงแหบ เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมา ไปโดนสายเสียงที่อยู่ทางด้านหน้า ทำให้สายเสียงบวมปิดไม่สนิท เกิดลมรั่ว ทำให้มีเสียงแหบตอนเช้า เกิดจากเลาเรานอน กรดจะไหลได้ง่ายกว่าเวลาที่เรานั่งหรือยืน สายเสียงจึงถูกกรดสัมผัสมากกว่าช่วงอื่นๆของวัน ทำให้ขณะตื่นมาตอนเช้า มีเสียงแหบได้

ไอเรื้องรัง เกิดจากกรดไหลย้อนลงไปในหลอดลม ทำให้ภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โดยหลอดลมจะมีความไว ต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ของฉุน ฝุ่น ควัน อากาศที่เปลี่ยนแปลงมากกว่าปกติ การที่มีอาการมากหลังรับประทานอาหารที่ไม่ควรรับประทาน ทำให้มีความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ทำให้กรดไหลลงไปในหลอดลม ทำให้ไอหลังรับประทานอาหาร ส่วนการที่ไอตอนกลางคืนหรือก่อนนอนมักเกิดจาก ห้องนอนอาจรก มีฝุ่นละอองมาก เวลาสูดหายใจเข้าไปจะไปกระตุ้นหลอดลมอักเสบ หรืออากาศในห้องนอนเย็นเกินไป อาการจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย มักเกิดจากสาเหตุเดียว อาการหอบหืด(ถ้ามี) แย่ลงหรือไม่ดีขึ้นนั้น เกิดจากกรดไหลลงไปในหลอดลม ทำให้มีภาวะหลอดลมอักเสบเพิ่มมากขึ้น อาการที่รู้สึกมีก้อนในคอ หรือแน่นคอ หรือกลืนติดๆขัดๆหรือกลืนลำบาก การที่มีเสมหะอยู่ในคอตลอดเกิดจากรดไหลขึ้นมา สัมผัสต่อมสร้างเสมหะในลำคอและกระตุ้นทำให้ต่อมดังกล่าวทำงานมากขึ้นนอกจากนั้นการที่กรดไปกระตุ้นเส้นประสาทในคอ อาจทำให้มีอาการคันคอ หรือระคายคอ และเมื่อกรดไหลลงไปในหลอดลม ทำให้มีอาการกระแอมไอได้  อาการเจ็บหน้าอก เกิดจากกรดไหลย้อนขึ้นมาผ่านหลอดอาหารที่อยู่ในช่องอก ทำให้มีอาการดังกล่าวได้ และเมื่อกรดไหลลงในหลอดลม ทำให้มีอาการกระแอมไอ อาการไอ สำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน เกิดจากกรดไหลลงไปในหลอดลม ทำให้หลอดลมอักเสบ และมีการหดตัวของหลอดลม ที่มักเป็นในเวลากลางคืน จึงหนนุหัวเตียงให้สูงขึ้น การที่กรดไหลย้อนทำให้มีอาการ คัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหลหรือมีเสมหะไหลลงคอได้ หรือทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ของจมูกอยู่แล้ว มีอาการแย่ลงได้

พบได้ในเด็กหรือไม่ โรคนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ทารกจนถึงเด็กโต ในเด็กเล็กอาการที่ควรนึกถึงได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ

การดำเนินชีวิต คือการเปลี่ยนพฤติกรรม

  1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
  2. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกเลต
  3. ระวังไม่ให้น้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป
  4. ระวังไม่ควรรับประทานอาหารในแต่ละมื้อมากเกินไป โดยเฉพาะมื้อเย็น และไม่ควรนอนทันที ห่างอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  5. นอนตะแคงซ้าย เนื่องจากการนอนตะแคงซ้ายทำให้หูรูดมีจำนวนครั้งของการคลายตัวน้อยลงและนอนหนุนหัวเตียงให้สูงอย่างน้อย6 นิ้ว
  6. ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป
  7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

โรคกรดไหลย้อน แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรงถึงชีวิต แต่เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมาน ให้กับผู้ป่วยคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานลดลง ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังถูก โรคกรดไหลย้อน คุกคาม ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อ เพราะหากละเลยไม่ยอมรักษานานๆไปอาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้เช่นกัน

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 479178เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2012 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 05:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท