ผชช.ว.ตาก (๗๑): การจัดตั้งมหาวิทยาลัยประจำจังหวัดตาก


จังหวัดตากมีความสำคัญในการเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในอนาคต การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่ตัวจังหวัดตากเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดจึงมีความสำคัญมาก

ผมได้มีโอกาสร่วมรับทราบติดตามและเป็นคณะทำงานของจังหวัดตากในการขับเคลื่อนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยประจำจังหวัดตากโดยได้มีการพยายามขับเคลื่อน การศึกษาข้อมูลและการจัดทำเอกสารต่างๆมากว่า ๕ ปี ทั้งรูปแบบการจัดตั้งใหม่การยกฐานะมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ตากหรือการควบรวมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอดและสุดท้ายข้อสรุปที่ได้จากการพูดคุยร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปว่า"ควรยกฐานะมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ตากขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ในรูปแบบของมหาวิทยาลัยในกำกับแต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก และได้พยายามเสนอไปทางครม.คณะที่แล้วแต่ก็ไม่ผ่านการพิจารณา

เมื่อ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ มติ ครม.ได้เห็นชอบร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวมยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามที่ ศธ.เสนอและได้ยกตัวอย่างที่มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในจังหวัดตากอยู่ด้วย

ผมได้ลองคิดวิเคราะห์จัดทำข้อเสนอการจัดตั้งมหาวิทยาลัยประจำจังหวัดตากขึ้นมาตามความเห็นส่วนตัวไว้ ดังนี้

เหตุผลความจำเป็นในการยกฐานะมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวิทยาเขตตากเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ของจังหวัดตาก

  1. 1.  ด้านการเมือง

1.1     ความสอดคล้องเชิงนโยบายรัฐบาลได้ประกาศนโยบาย “หนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัด”เพื่อให้มหาวิทยาลัยช่วยเป็นแหล่งสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในด้านต่างๆโดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาจังหวัด

1.2    ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาประเทศจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยที่มี ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสได้เสนอให้รัฐบาลจัดให้มีมหาวิทยาลัยในแต่ละจังหวัดเพื่อช่วยขับเคลื่อนผลักดันในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศไทย

1.3    การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากการสำรวจประชามติขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดตากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งมีความเห็นร่วมกันว่าให้สนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ของจังหวัดตากขึ้น

  1. ด้านประวัติศาสตร์

2.1    จังหวัดตากเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตมาอารยธรรมมายาวนานกว่า 2500 ปี ทั้งเมืองตากเมืองฉอดและเมืองสร้อยที่ปัจจุบันจมอยู่ใต้ทะเลสาบแม่ปิงเหนือเขื่อนภูมิพล

2.2    ความเกี่ยวพันกับพระราชประวัติของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตหลายพระองค์มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวว่ามีพระมหากษัตริย์ที่ทรงปรีชาสามารถได้พระราชสมัญญา“มหาราช” 4 พระองค์ คือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชรวมทั้งเป็นจังหวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเสด็จมาทรงเปิดเขื่อนภูมิพลที่เป็นเขื่อนแห่งแรกของประเทศไทยจังหวัดตากจึงมีความเป็นมาที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ชนชาติไทยที่นับวันจะเลือนหายไปเนื่องจากขาดการศึกษาค้นคว้าอดีตอย่างเป็นระบบการจัดตั้งมหาวิทยาลัยจะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาและคงคุณค่าความงดงามแห่งอดีตของเมืองตากได้เหล่านี้ได้

  1. 3.     ด้านการศึกษา

3.1    ความเหมาะสมของการเป็นเมืองการศึกษา

3.2     ความต้องการทางการศึกษา

  1. 4.     ด้านภูมิศาสตร์

4.1     เมืองชายแดน ทุรกันดารสภาพภูมิประเทศและขนาดพื้นที่

4.2     เมืองศูนย์กลางอินโดจีน

4.3     เมืองอุตสาหกรรม

4.4     เมืองหน้าด่าน ประตูการค้าชายแดน

4.5     เมืองท่องเที่ยว

4.6     เมืองธรรมชาติ

4.7     เมืองเกษตรกรรม

  1. 5.     ด้านภูมิสังคม

5.1     ประชากรทั้งคนไทยในพื้นที่ราบและพื้นที่สูง ประชากรต่างด้าว

5.2     ความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม

5.3     ปัญหาสาธารณสุข

5.4     ปัญหาความมั่นคง

  1. 6.     ด้านเศรษฐกิจ

6.1     การเกษตรกรรม

6.2     การอุตสาหกรรม

6.3     การท่องเที่ยว

6.4     การค้าชายแดน

6.5     การคมนาคมขนส่ง มีสนามบินพาณิชย์ 2แห่งเป็นเส้นทางผ่านของทางหลวงสายเอเชียและเป็นเส้นทางผ่านของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-พม่า

  1. 7.     ด้านการพัฒนาประเทศ

7.1     เขตเศรษฐกิจพิเศษมติคณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้อำเภอทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดตากโดยมีอำเภอแม่สอดเป็นศูนย์กลางให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีทั้งด้านอุตสาหกรรมด้านการเกษตรกรรมและด้านการค้าชายแดนโดยจะมีการเชื่อมโยงการเดินทางกับประเทศพม่าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-พม่าแห่งแรกและจะมีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกหนึ่งแห่ง

7.2     เขตหกเหลี่ยมเศรษฐกิจเป็นโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(Greater Mekong Subregional Economic Cooperation: GMS-EC)ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศคือไทย ลาว พม่า จีน (ยูนนาน) กัมพูชาและเวียดนาม

7.3     ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกจังหวัดตากเป็นช่องทางผ่านที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและการเดินทางในอนาคตที่เชื่อมเขตหกเหลี่ยมเศรษฐกิจและเชื่อมระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกของเอเชีย2 ประเทศคือจีนและอินเดีย

  1. 8.     ด้านความพร้อมของสถาบันในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

8.1     อาคารสถานที่

8.2     บุคคลากร

8.3     หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

8.4     นักศึกษา

8.5     ความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ

8.6     การคมนาคมขนส่ง

8.7     แหล่งสนับสนุนเพื่อการเรียนรู้

8.7.1        ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

-         โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 310 เตียงปัจจุบันเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร มีประสบการณ์ในการสอนนิสิตแพทย์ชั้นปี 4-6 จำนวน 5รุ่น

-         โรงพยาบาลแม่สอด ขนาด 420 เตียงปัจจุบันเป็นแหล่งฝึกงานของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

-         โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 6 แห่ง ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง ขนาด 60 เตียง 4แห่งและขนาด 90 เตียง 1 แห่งปัจจุบันเป็นแหล่งฝึกงานของนิสิตแพทย์และนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพของหลายมหาวิทยาลัย

-         สถานีอนามัยจำนวน 115 แห่ง

-         งานบริการการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลจำนวน 8 แห่งได้มาตรฐานจากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นที่จัดการฝึกอบรมหลักสูตรทางการแพทย์แผนไทยและแหล่งฝึกงานของนักศึกษาการแพทย์แผนไทยจากหลายสถาบัน

8.7.2        ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

-         สนามบินพาณิชย์ 2 แห่งคือสนามบินตาก และสนามบินแม่สอด

-         โรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 300 กว่าแห่ง

-         โรงถลุงสังกะสี บริษัทผาแดงอินดัสตรี จำกัด

-          โรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล

8.7.3        ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 479169เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2012 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท