Program Evaluation


การประเมินโครงการ

 

 

การประเมินโครงการ ( Program  Evaluation)

                คือ  กระบวนการเรียนรู้ที่ทำเพื่อพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงโครงการให้ดีขึ้น โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการมีการเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนแนวคิด  ซึ่งการประเมินโครงการต้องทำทุกขั้นตอน  เริ่มตั้งแต่การวางแผน  การตั้งวัตถุประสงค์ การดำเนินตามโครงการ  ติดตามควบคุมและประเมินผลหลังสิ้นสุดโครงการ    มักมีความเข้าใจผิดว่าการประเมินโครงการทำเมื่อสิ้นสุดโครงการเท่านั้น

การประเมินโครงการ อาจจะใช้หลัก  CIPP  Model  ได้แก่ 

               C :  Content  Evaluation    ควรทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่าสถานการณ์เกี่ยวข้องกับอะไร   ปัญหาคืออะไรและสาเหตุของปัญหาคืออะไร   การแก้ปัญหา  ควรมีวิธีลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา    เพิ่มปัจจัยปกป้อง  ตัวอย่างเช่น  ยุทธศาสตร์ของกรมสุขภาพจิต  3  ด้าน  เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย  ประกอบด้วย  การสร้างความตระหนักให้คนในสังคมรับรู้มีนโยบายสนับสนุน  การพัฒนาระบบเครือข่ายเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย     และการพัฒนาองค์ความรู้ที่ต่อเนื่อง

                I:  Input  Evaluation  เป็นกิจกรรมที่ควรพิจารณาในเรื่องของ  งบประมาณ  บุคลากร    ซึ่งโครงการจะได้ประโยชน์มากหากมีเป้าหมายที่คนกลุ่มใหญ่ การประเมินในระยะนี้จะต้องเก็บข้อมูลด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล  โดยวัดผลระยะสั้น  ระยะยาว  รวบรวมข้อมูลและสร้างกรอบแนวคิด (Logic  Model  )

                P:Process  Evaluation  เป็นกิจกรรมที่ค้นหาความผิดพลาดขณะดำเนินโครงการ

                P:Product  Evaluation   เป็นกิจกรรมที่ประเมินผลหลังโครงการ  รวมถึงการพิจารณาดำเนินโครงการต่อหรือหยุดโครงการนั้นไป

การประเมินผลและบริหารโครงการ

                 การประเมินผลและบริหารโครงการจะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์  พันธะกิจของแต่ละหน่วยงาน  ครอบคลุม  4  มิติเชื่อมโยงอย่างสมดุล  เรียกว่า  Balance  Score  card  หรือ   4 E  ได้แก่

                E:Economic         เป็นมุมมองด้านการเงิน

                E:Efficient     เป็นมุมมองด้านประสิทธิภาพ  ประเมินจากความพึงพอใจในบริการ  ภาพลักษณ์ของหน่วยงาน

                E:Effectiveness     เป็นมุมมองด้านประสิทธิผล  ประสิทธิผลตามพันธะกิจ  เพิ่มผลสำเร็จของงาน  เช่น  การลดอัตราป่วยหรือลดอัตราตาย

                E:Evolution  เป็นมุมมองด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในหน่วยงาน  ความพึงพอใจของบุคคลในหน่วยงาน 

 

 

สิ่งที่อยากทำ 

                มีตัวอย่างของการจัดการระบบสุขภาพในต่างประเทศ เช่น  ประเทศอังกฤษ  มี  Nation  Health  Service  (NHS)  ซึ่งรัฐเข้ามาจัดการในระบบสุขภาพของประเทศโดยตรง  คนอังกฤษจะต้องจ่ายภาษีแพงมาก  การพบแพทย์จะต้องพบแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวก่อนจะพบแพทย์เฉพาะทาง  เป็นบริการของระบบสุขภาพที่รัฐมีบทบาทมาก  ในประเทศญี่ปุ่น  มีระบบประกันสุขภาพ  ราคาบริการทางการแพทย์เท่ากันทั่วประเทศ  สามารถพบแพทย์เฉพาะทางได้เลย  ไม่ต้องรอคิวนาน  คนญี่ปุ่นจะชื่นชอบและพึงพอใจการจัดการระบบสุขภาพนี้มาก  แม้จะพบว่าโรงพยาบาลกว่าครึ่งในประเทศมีภาวะขาดทุน  ในเยอรมันมีการจัดการระบบสุขภาพคุ้มครองทุกด้านครอบคลุมด้านทันตกรรม  และสุขภาพจิต  มีกองทุนความเจ็บป่วย  มีระบบคนรวยจ่ายช่วยคนจน เป็นระบบเกื้อกูลที่ดีมาก  ข้อเสียคือ แพทย์จะได้รับเงินเดือนน้อย  และในไต้หวันมีการนำรูปแบบจัดการระบบสุขภาพจากประเทศต่างๆมาปรับใช้   ซึ่งพบว่าชาวไต้หวันทุกคนมี  Smart  card  เพื่อบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วยของแต่ละคน 

                ในประเทศไทยของเรามีการจัดการระบบสุขภาพหลายๆรูปแบบ  สิ่งที่ผู้เขียนอยากทำคือการศึกษาในรายละเอียดเพื่อที่จะนำมาใช้ในงานด้านบริการสุขภาพต่อไป

หมายเลขบันทึก: 478891เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2012 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท