การแบ่งกลุ่มเด็กตามความสามารถ


การแบ่งกลุ่มเด็กตามความสามารถ

                        ประเภทของกลุ่มตามความสามารถ

                        มีวิธีการในการแบ่งกลุ่มเด็กตามความสามารถซึ่งแพร่หลายในหมู่นักการศึกษา 4 วิธีด้วยกัน คือ การแบ่งกลุ่มความสามารถระหว่างห้องเรียน การจัดกลุ่มใหม่ แผนของจอปลิน (Joplinplan) และการแบ่งกลุ่มภายในชั้น

                        1. การแบ่งกลุ่มตามความสามารถระหว่างห้องเรียน เป้าหมายในการจัดกลุ่มแบบนี้เพื่อให้แต่ละห้องเรียนมีนักเรียนที่สัมฤทธิผลและระดับสติปัญญา (คะแนนแบบทดสอบสติปัญญา) ใกล้เคียงกัน อาจแบ่งเด็กออกเป็น 3 ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ แม้ว่าบางโรงเรียนอาจแบ่งออกเป็น 4 ระดับ นักเรียนในแต่ละห้องมีการปฏิสัมพันธกันน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลยในแต่ละวัน ขณะที่แต่ละกลุ่มจะเรียนวิชาเหมือนๆ กัน เด็กในห้องที่มีระดับคะแนนสูงจะเรียนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางกว่าห้องที่มีระดับคะแนนต่ำ

                        2. การจัดกลุ่มใหม่ กลุ่มที่จัดภายใต้แผนการจัดกลุ่มใหม่จะมีความยืดหยุ่นในการมอบหมายงานให้ทำตามกำหนดขอบเขตได้ดีกว่าการแบ่งตามห้องเรียนที่มีระดับอายุ ความสามารถ คะแนนใกล้เคียงกันต่างจากห้องต่างๆ จะมารวมกลุ่มกันในเฉพาะบางวิชา การจัดกลุ่มใหม่มีข้อเสียเปรียบด้วยกัน 2 ประการคือ ประการแรกจะต้องมีการวางแผนและประสานงานกันระหว่างครู ประการที่สองครูรู้สึกอึดอัดใจที่ต้องสอนเด็กที่ตนเห็นเพียงครั้งเดียวเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง ในแต่ละวัน

                        3. แผนของจอปลิน (Joplinplan) เป็นการจัดกลุ่มใหม่อีกประเภทหนึ่งแตกต่างไปจากการจัดกลุ่มใหม่คือ ใช้ระดับชั้นแตกต่างกัน เช่น ชั้น ป.1 ป.2 ป.3 โดยเอาเด็กที่มีคะแนนการอ่านใกล้เคียงกันมาเรียนด้วยกัน วิธีการอย่างเดียวกันนี้อาจใช้ได้กับวิชาคณิตศาสตร์

                        4. การแบ่งกลุ่มตามความสามารถภายในห้องเรียน เป็นการแบ่งกลุ่มที่แพร่หลายที่สุดในชั้นประถม การแบ่งกลุ่มตามความสามารถภายในห้องเรียน จะแบ่งเด็กออกเป็น 2-3 กลุ่ม เพื่อเรียนการอ่านหรือคณิตศาสตร์ ข้อเสียเปรียบของวิธีการนี้คือ ครูต้องมีความเชี่ยวชาญทำให้นักเรียนในห้องมีสมาธิสนใจงานในขณะครูกำลังอยู่กับกลุ่มอื่น

 

คำสำคัญ (Tags): #teacher
หมายเลขบันทึก: 478287เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2012 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

There are good points (less frictions, faster learning, ease of teaching,...)

there are bad points (elitism/class system --> social conflicts --> non-cooperative/fragmented society -->...)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท