การศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กวัย 3 - 4 ปี


การศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กวัย 3 - 4 ปี

พัฒนาการของเด็กวัย 3-4 ปี

เริ่มเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่เฝ้าในการเล่น ใช้พลังงานไปกับการเล่น จะรู้สึกดีที่ได้แสดงออกในสิ่งที่ตนต้องการ เต็มใจลองของใหม่และสิ่งแปลกใหม่ พัฒนาการเด็กวัยนี้ในแต่ละด้าน เป็นดังนี้
- พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เด็กสามารถเดินด้วยปลายเท้าเดินบนเส้นตรงกว้าง5 ซม. ในขณะที่วิ่งแล้วหยุดวิ่ง เลี้ยวหรือหลบสิ่งกีดขวางได้เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ ปีนตาข่ายเชือกได้ ขว้างและรับลูกบอลขนาดเล็กได้วิ่งไปเตะลูกบอลได้โดยไม่ต้องหยุดเล็ง กระโดดสองเท้าได้ไกล30 ซม. หรือกระโดดลงจากบันไดขั้นสุดท้ายได้ ถีบจักรยาน 3 ล้อได้
- พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ประกอบชิ้นส่วนของรูปภาพได้ วางเรียง ก้อนไม้ที่มีขนาดต่างกัน เรียงตามลำดับได้ จับคู่และแยกรูปภาพ สี วัตถุ ตัวอักษรได้ เลียนแบบการเขียนเครื่องหมายบวก(+) ตัววี (V) วาดรูปคนที่มีส่วนของร่างกายอย่างน้อย 3 ส่วน ร้อยลูกปัดขนาดเล็ก ใช้กรรไกรตัดกระดาษได้สั้น ๆ
- พัฒนาการด้านความเข้าใจภาษา ชี้อวัยวะของร่างกายได้มากขึ้นเลือกรูปภาพชายหญิงได้ รู้จัก ผิวสัมผัสแข็งและนิ่ม รู้จักคำว่าปิดเปิด เลือกรูปภาพที่แสดงสีหน้า สุข เศร้า โกรธ รู้ขนาดใหญ่และเล็ก รู้ตำแหน่ง เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง ข้าง ๆ ห่าง ๆ ตอบคำถามง่าย ๆ ได้ โดยการพูดหรือชี้ในขณะฟังนิทาน
- พัฒนาการด้านการใช้ภาษา พูดกระซิบหรือตะโกน ร้องเพลงง่าย ๆ ได้ พูดโต้ตอบสนทนา บอกหน้าที่อวัยวะของร่างกายได้ และบอกประโยชน์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น ห้องน้ำ เตาไฟ สามารถเล่าเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปได้ บอกชื่อจริง นามสกุลเต็มของตนเองได้ พูดคำที่มีความหมายตรงข้ามได้พูดเป็นประโยคได้
- พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม เล่นกับเด็กอื่น โดย วิธีการผลัดกันเล่น บอกเพศของตนเองได้ ช่วยงานง่าย ๆ ได้ สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายได้ ใช้ช้อนส้อม รับประทานอาหารได้ เทน้ำจากเหยือกได้โดยไม่หก ถอดกระดุมเม็ดใหญ่ได้ ถอดเสื้อผ้าได้ ไม่ปัสสาวะรดที่นอนในเวลากลางคืน ล้างมือล้างหน้าได้เอง
- พัฒนาการด้านการแสดงออกทางอารมณ์ เมื่อรู้สึกโกรธจะแสดงออกโดยการร้องไห้ กระทืบเท้า กลัวแสดงออกโดยการหลบซ่อน วิ่งหนีรักและเรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันกับเพื่อน มีการอิจฉาริษยา อยากรู้ อยากเห็น  มากขึ้น
เด็กอายุ 3 - 5 ปี เป็นวัยที่มีการพัฒนาทักษะในการรับรู้ทางความคิด สติปัญญา และความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น เด็กจะเริ่มคิด เริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ และชอบถามคำถามบ่อยๆ เช่น นั่นอะไร ทำไม เป็นต้น ซึ่งพ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กบางคนไม่เข้าใจ อาจจะดุเด็กได้จนเด็กบางคนขยาดหวาดกลัวว่า จะทำผิด เพราะถูก ผู้ใหญ่ว่ากล่าวมาแต่เล็ก ความรู้สึกนี้มาปิดกันความคดิ ของเดก็ และจะติดตัวจนถึงวัยผู้ใหญ่ ฉะนั้นพ่อ แม่ / ผู้ดูแลเด็กจึงไม่ควรดุว่าเด็ก เมื่อเด็กถามคำถามควรตอบสั้นๆ ง่ายๆ ให้เด็ก เข้าใจทุกครั้ง และอาจตั้งคำถามเพื่อถามเด็กตามความสนใจของเด็ก โดยใช้คำถามปลายเปิด ช่วยขยายความคำตอบของเด็ก ชมเชยเมื่อเด็กตอบได้ดี ช่วยเหลือเท่าที่เด็กต้องการในบรรยากาศที่สนกุ สนานร่วมกัน เป็นการฝึกนิสัย ช่างซัก ช่างถามให้กับเด็กการอ่านหนังสือ เล่า
นิทาน จะเป็นการกระตุ้นการซักถามของเด็กได้ดี นอกจากนี้เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่เด็กอยากให้เพื่อนรัก อยากให้เพื่อนชอบ เด็กต้องการที่จะเอาใจเพื่อน อยากเป็น เหมือนเพื่อน เด็กจะยอมทำกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เขาชอบ เด็ก มักชอบร้องเพลงชอบเต้นระบำ อยากเป็นตัวของตัวเอง อยากจะออกไปหาเพื่อนข้างบ้าน อยากจะไปเล่นกับเพื่อน ๆ ครู/พี่เลี้ยงควรสนับสนุนให้เด็กเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่ม ในวัยนี้เด็กอาจจะดื้อเพราะมีความเป็นตัวของตัวเอง ที่สำคัญผู้ดูแลต้องใจเย็น ไม่หงุดหงิด อารมณ์เย็น ควรอธิบายให้เด็กฟัง ถ้าผู้ดูแลโกรธ ดุ หรือใช้วิธีลงโทษที่ไม่เหมาะสม เด็กจะยิ่งมีพฤติกรรมที่ไม่ดีเด็กในช่วงนี้กำลังเรียนรู้สิ่งที่ถูกที่ผิด ไม่เข้าใจรายละเอียดของ
จริยธรรมของความดี เช่น ถ้าเด็กทำของแตก เด็กจะคิดว่าไม่ดี ผู้ดูแลต้องอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และความตั้งใจทำให้ของเสียและจะต้องแยกตัวเด็กออกจากพฤติกรรมของเขา เช่น จะต้องบอกว่า “ครูรักหนู แต่ครูไม่ชอบในสิ่งที่หนูทำ หนูทำแจกันแตกเป็นสิ่งที่ไม่ดี มันทำให้เกิดอันตราย” แต่ถ้ามันเป็นอุบัติเหตุก็ต้องอธิบายให้ฟังว่า ไม่เป็นไรมันเป็นเพียงอุบัติเหตุ คราวหน้าหนูควรทำอย่างนี้ และที่สำคัญครูควรต้องระวัง ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นโดยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของเด็ก ควรให้เด็กคิดถึงสิ่ง
ที่เขาควรทำได้ สำหรับวัยนี้และจะต้องชมเชยเมื่อเด็กทำได้ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง รวมทั้งเรื่องความคิด การตัดสินใจ การสร้างทัศนคติที่ดี ทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความสามารถที่จะทำได้
 
สิ่งที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้
แลนเดร็ธ (Landreth) กล่าวว่า ในการเรียนรู้ของเด็กนั้น เด็กในวัยนี้
ควรได้รับการฝึกฝนให้พัฒนาทักษะทางด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ทักษะเกี่ยวกับประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวพื้นฐาน
2. กระบวนการคิดและตัดสินใจ
3. การเกิดความคิดรวบยอด
4. การฝึกรูปแบบในการพูด
หมายเลขบันทึก: 478286เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2012 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท