Garfield
ทิพย์ผกา ทิพย์ ทิพย์มณเฑียร

สมุนไพรใกล้ตัว


สมุนไพรใกล้ตัว

 

 

            วิธีใช้สมุนไพรใกล้ตัว

 สรรพคุณและวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัว ที่สามารถหาได้ง่าย ๆ จากธรรมชาติ และยังรักษาโรคได้อย่างเห็นผลกันดีกว่าค่ะ

                  กระชาย ชื่อพื้นเมือง ได้แก่ กะแอน ระแอน (เหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม จี๊ปู่ ซีพู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) เป๊าซอเราะ เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ว่านพระอาทิตย์ (กร ุงเทพฯ)

          สรรพคุณและวิธีใช้ นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือ ต้มเอาน้ำดื่มแก้ท้องอืดเฟ้อ

             กานพลู ชื่อพื้นเมือง ได้แก่ จันจี่

สรรพคุณและวิธีใช้

1. ใช้ดอกแห้ง (เป็นส่วนของผลแต่เรียกทั่วไปว่าดอก) 5-8 ดอก (0.12-0.6 กรัม) ต้มหรือบดเป็นผงกินรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง

2. ใช้ดอกแห้ง 3 ดอก ทุบแล้วแช่ในน้ำเดือด 1 ขวดเหล้า ใช้น้ำนี้ชงนมให้เด็กกิน จะช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

3. ใช้ดอกแห้งตำพอแหลกผสมกับเหล้าโรงเล็กน้อยเพียงให้แฉะ แล้วใช้สำลีจิ้มอุดฟันที่ปวด จะบรรเทาอาการปวดฟัน

 

             กล้วยน้ำว้า 

สรรพคุณและวิธีใช้

1. หั่นผลกล้วยดิบ เป็นชิ้นบาง ๆ ผึ่งแดดให้แห้ง และบดให้ละเอียดจนเป็นแป้งใส่ขวดโหลไว้ เวลาปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะอาหารเอาผงกล้วยน้ำว้า 1-2 ช้อนโต๊ะ ใส่ลงไปในด้วยและเติมน้ำผึ้งแท้ 1 ช้อนโต๊ะผสมและคนให้ทั่ว กินวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน

2. ใช้เนื้อกล้วยห่ามกินสด หรือใช้ผงกล้วยน้ำว้าดิบกินรักษาอาการท้องเดิน

    ขิง ชื่อพื้นเมือง ได้แก่ ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) 

สรรพคุณและวิธีใช้
1. ใช้เหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่มรักษาอาการท้องอืด จุกเสียด ปวดท้องและคลื่นไส้อาเจียน
2. ฝนเหง้ากับน้ำมะนาว ผสมเกลือเล็กน้อยใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ระงับอาการไอและขับเสมหะ

             ข่า ชื่อพื้นเมือง ได้แก่ กฏกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก ข่าหลวง (เหนือ) เสะเออเคย สะเอเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) 

สรรพคุณและวิธีใช้

1. ใช้เหง้าขนาดเท่าหัวแม่มือ (ถ้าเป็นเหง้าสดจะหนักประมาร 5 กรัม ถ้าแห้งหนักประมาณ 2 กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม แก้ท้องอืด ท้อง เฟ้อและปวดท้อง

2. เอาเหง้าข่าแก่ ๆ มาล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบาง ๆ หรือทุบพอแตก นำไปแช่ในเหล้าโรง ทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูผิวหนัง บริเวณที่เป็นกลากหรือเกลื้อนจนแดงและแสบเล็กน้อย แล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาบริเวณนั้น จะรู้สึกแสบ ๆ เย็น ๆ ให้ทาเช้าและเย็น หลังอาบน้ำทุกวันติดกันประมาณ 2 สัปดาห์ กลากเกลื้อนจะหายไป เมื่อหายแล้วควรทาต่อไปอีก 1 สัปดาห์ และต้มเสื้อผ้าทุกชิ้นเพื่อให้ห ายขาด

             ขี้เหล็ก ชื่อพื้นบ้าน ได้แก่ ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง,สุราษฎร์ธานี) ขี้เหล็กหลวง (เหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (กลาง) ผักจี้ลี้ (ชาน-แม่ฮ่องสอน ) แมะขี้เหละพะโดะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มาเลย์-ปัตตานี)

สรรพคุณและวิธีใช้

1. ใช้ใบขี้เหล็ก 4-5 กำมือ ต้มเอาแต่น้ำดื่มก่อนอาหาร รักษาอาการท้องผูก

2. ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอน รักษาอาการนอนไม่หลับ

 

             ชุมเห็ดไทย ชื่อพื้นเมือง ได้แก่ ชุมเห็ดควาย ชุมเห็ดนา ชุมเห็ดเล็ก (กลาง) กิเกีย หน่อปะหน่าเหน่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) พรมดาน (สุโขทัย) ลับมืนน้อย (เหนือ) หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี)

สรรพคุณและวิธีใช้ ใช้เมล็ดแห้งที่คั่วแล้ว 2-2 1/2 ช้อนโต๊ะ ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้อาการท้องผูก

             ดีปลี ชื่อพื้นเมือง ได้แก่ ดีปลีเชือก (ใต้) ประดงข้อ ปานนุ (กลาง)

สรรพคุณและวิธีใช้ ใช้ผลแก่แห้ง 1 กำมือหรือประมาณ 10-15 ดอก ต้มเอาน้ำดื่ม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

   ตะไคร้ ชื่อพื้นเมือง ได้แก่ คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ไคร (ใต้) จะไคร (เหนือ) หัวสิงไค (เขมร-ปราจีนบุรี) เซิดเกรย เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์) 

สรรพคุณและวิธีใช้ นำตะไคร้ทั้งต้นและรากมา 5 ต้น สับให้เป็นท่อน ต้มกับน้ำ 3 ส่วนและเกลือเล็กน้อย ต้มให้เหลือ 1 ส่วน กินครั้ง ละ 1 ถ้วยชา วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ติดต่อกัน 3 วัน สำหรับรักษาอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียดในท้อง

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 478135เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2012 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท