กุ้งza
นางสาว สิริวิมล กุ้งza รินวงษ์

เทศกาลคล้องช้าง


The Elephant Round-up Festival

The most popular of Northeastern festivals with foreign tourists is the Surin Elephant Round-up which is held annually in November. The people of Surin have long been renowned for their skill in capturing and training wild elephants and the round-up. In the past wild elephants lived in the forest areas of nearby Cambodia. Unfortunately, these areas have been inaccessible due to civil war in Cambodia, and at the same time, the elephant population is markedly decreasing thus the elephant catchers must now make a living by taking their charges around the country giving shows.

 

The greatest event of the Surin round-up is a beautifully organised display of the talents and abilities of these superb beasts. The round-up first took place in 1960. It begins with a mass procession of all the elephants taking part, usually 120-150, ranging from calves only a few weeks old to the well-trained elephants with many decades of experience.

 

During the show, hundreds of the huge animals demonstrate their prowess at moving logs, playing soccer and winning a tug-of-war against human teams. Other demonstrations are designed to show not only the great strength of the elephants but also show they can be very intelligent, gentle and obedient. The show concludeds with a mock battle illustrating what was formerly an important part of their duties.

 

The round-up is those days was an annual state ceremony presided over by the king himself. There were prayers and citations devised for the ceremony and for the taming of captured elephants afterwards. In recent times, the event has been revived and has become a major tourist attraction for the country, with the province of Surin as the main centre of activities. The event draws more and more visitors each year.

 

The event is the occasion for great fun in which the visitor is welcome to join. It also offers superb opportunities for learning about the distinct folk culture of the Northeast.

 

เทศกาลคล้องช้าง

เทศกาลที่เป็นที่ชื่นชอบกันมากที่สุดของภาคอีสานในหมู่นักท่องเที่ยวก็เห็นจะเป็นงานคล้องช้างที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤศจิกายน ชาวสุรินทร์มีชื่อเสียงเกี่ยวกับความสามารถในการจับช้าง ฝึกช้างป่าและคล้องช้างมาเป็นเวลานานแล้ว ในอดีตช้างป่าอาศัยอยู่ในป่าใกล้ประเทศเขมร แต่โชคร้ายที่ปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้เข้าไปไม่ได้แล้วเนื่องจากสงครามกลางเมืองในประเทศนั้น และในขณะเดียวกันประชากรของช้างก็มีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทุกวันนี้ควาญช้างจึงต้องอาศัยการดำรงชีพโดยนำช้างไปแสดงการละเล่นต่างๆ เพื่อขอเงินจากคนดูทั่วทั้งประเทศ

 

งานคล้องช้างสุรินทร์ที่จัดว่ายิ่งใหญ่ที่สุดก็คือการแสดงที่จัดไว้อย่างสวยงามเพื่อให้เห็นความชาญฉลาดและความสามารถของสัตว์ที่เก่งกาจเหล่านี้ งานคล้องช้างจัดขึ้นครั้งแรกในปี พุทธศักราช 2503 งานคล้องช้างนี้จะเริ่มด้วยขบวนใหญ่โตของช้างจำนวนหลายเชือก (โดยปกติประมาณ 120-150 เชือก) ซึ่งจะมีทั้งลูกช้างอายุ 2-3 สัปดาห์ ไปจนถึงช้างที่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดีและมีประสบการณ์หลายสิบปี

 

ในช่วงการแสดงช้างขนาดใหญ่หลายร้อยเชือกจะแสดงให้เห็นถึงพละกำลังของมันในการลากซุง เตะฟุตบอลและการแข่งขันชักเย่อกับมนุษย์ การแสดงอื่นๆ ที่นำมาแสดงไม่ใช่เพื่อให้เห็นถึงพละกำลังอันมหาศาลของช้างเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความชาญฉลาด ความสุภาพและความแสนรู้ของมันอีกด้วย การแสดงจบลงด้วยการจำลองการทำสงคราม ซึ่งช้างก็เคยมีส่วนสำคัญในการศึกอีกด้วย

 

ในอดีต การคล้องช้างเป็นพระราชพิธีประจำปีซึ่งพระมหากษัตริย์จะเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีและจะมีการสวดและร่ายเวทมนตร์เพื่อพิธีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็เพื่อให้ช้างที่จับมาได้เชื่อนั่นเอง พิธีนี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้และได้กลายเป็นจุดสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในประเทศในเวลาต่อมา โดยให้จังหวัดสุรินทร์เป็นศูนย์กลางของงานนี้ งานคล้องช้างก็เริ่มดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี

 

งานนี้เป็นงานที่นักท่องเที่ยวจะมีโอกาสได้สนุกสนานที่สุดงานหนึ่งที่จะเข้าชมได้ และเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวอีสานด้วย

คำสำคัญ (Tags): #ช้าง
หมายเลขบันทึก: 478119เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2012 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 02:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท