ฝ้าย
นางสาว มุทิตา ได๋ แดงกล้าหาญ

ประโยชน์ของน้ำ


ประโยชน์น้ำ

 

น้ำ(Water) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ โดยเฉพาะมนุษย์เราที่ต้องการน้ำประมาณวันละ 1 - 1.5 ลิตร เพื่อทดแทนน้ำที่เราสูญเสียไปวันละ 1 - 1.5 ลิตรเหมือนกัน น้ำเป็นองค์ประกอบของธาตุออกซิเจน(O2)และไฮโดรเจน(H2) ที่ประกอบด้วยอัตราส่วนต่อมวล คือ 8 ต่อ 1 น้ำมีสถานะอยู่ได้ 3 สถานะ คือ ของเหลว ของแข็ง แก๊ส มีจุดเยือกแข็ง 0 องศาเซลเซียส จุดหลอมเหลว 0 องศาเซลเซียส จุดเดือด 100 องศาเซลเซียส

น้ำบนโลกมีปริมาณมากมายและมีอยู่ทุกที่ บนดิน ใต้ดิน และอากาศ บนโลกเราเมื่อเทียบพื้นที่แล้ว น้ำมีประมาณ 3 ส่วน พื้นดิน 1 ส่วน น้ำบนโลกมีอยู่ 2 ประเภท คือ น้ำเค็ม มีร้อยละ 97 และน้ำจืด มีร้อยละ 3 แต่มีเพียงร้อยละ 1 จากปริมาณน้ำจืดร้อยละ 3 เท่านั้นที่ให้คนบนโลกเกือบ 6 พันล้านคนใช้อุปโภคและบริโภค เพราะอีกร้อยละ 2 เป็นน้ำแข็งอยู่ที่ขั้วโลกเหนือและใต้ น้ำที่มีคุณภาพดีต้องปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ 3 มิลลกรัมต่อลิตรเป็นอย่างต่ำหรือมากกว่า ถ้าหากต่ำกว่านี้ถือว่าเป็นน้ำเสีย

ประโยชน์ของน้ำ

1. น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งพืช และสัตว์ ประมาณร้อยละ 70 ของน้ำหนัก

2. การใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม

3. การใช้น้ำเพื่อการคมนาคม

4.  การใช้น้ำเพื่อการบริโภคและอุปโภค

5. การใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม

6. การใช้น้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

7. การใช้น้ำเพื่อการท่องเทียวและนันทนาการ

 

การใช้น้ำ

  1. มนุษย์ใช้น้ำดื่ม น้ำชนิดนี้ต้องสะอาดปลอดภัย สิ่งเหล่านี้เริ่มสำคัญและจำเป็นมากขึ้นเมื่อตอนรู้จักว่าน้ำไม่
สะอาดนั้นเปรียบเสมือนยาพิษ
      2. มนุษย์ใช้ในบ้านเรือน เช่น ใช้อาบ ใช้ซักฟอก ใช้ปรุงอาหาร ชำระล้าง ถ่ายเทของเสีย กะกันว่าคนหนึ่ง ๆ ถ้าจะใช้น้ำให้พอดี ๆ คนหนึ่ง ๆ จะต้องใช้น้ำ 100 ลิตรต่อวัน
      3. ใช้ในด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมทุกชนิดต้องใช้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการ
ถลุงเหล็ก ต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก คือจะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมแต่ละชนิด บางครั้งถ้าโรงงาน
อุตสาหกรรมขาดแคลนน้ำมากเข้าก็อาจเลิกกิจการการอุตสาหกรรมใช้น้ำดังนี้
          3.1 ใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
          3.2 ใช้เป็นตัวละลายวัตถุที่ใช้ในอุตสาหกรรม
          3.3 ใช้เป็นตัวทำความสะอาดล้างวัตถุดิบ
          3.4 ใช้กำจัดของเสียของโรงงานอุตสาหกรรม
       4. น้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลา และสัตว์น้ำ
       5. ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ว่ายน้ำ พายเรือ และอื่น ๆ
       6. ใช้เป็นทางคมนาคม การขนส่งทางน้ำมีความสำคัญมาก เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
       7. น้ำให้พลังงาน อาจจะนำพลังงานไปใช้ในโรงงานโดยตรง หรือนำไปเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า
       8. ใช้ในการเกษตรเป็นเรื่องสำคัญ เพราะน้ำจำเป็นสำหรับความเจริญงอกงามของพืชซึ่งหมายถึงพืชที่มนุษย์
เพาะปลูกด้วย น้ำที่ใช้ในการนี้มีมากกว่าการใช้น้ำประเภทอื่น ๆ 
        สำหรับเรื่องน้ำในประเทศไทยบริเวณที่มีปัญหาเรื่องน้ำมีอยู่ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของเนื้อที่ทั้งหมดของประเทศ บริเวณนี้อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณเงาฝน (Rain shadow) ถ้าพิจารณาน้ำฝนเฉลี่ยในประเทศทั่วไปมีไม่ต่ำกว่า 50 นิ้ว ปริมาณฝนนี้มีพอที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาถึงความแห้งแล้งในประเทศไทยอาจพิจารณาได้ดังนี้
        1. การกระจายของฝน ส่วนใหญ่ฝนที่ตกในประเทศ มักจะตกอยู่ในช่วงระยะ 6-7 เดือน หลังจากนั้นอาจกล่าวได้ว่าไม่มีฝนเลย จึงทำให้เกิดแห้งแล้งได้
       2. ความสม่ำเสมอของฝน ส่วนมาก ฝนที่ตกในประเทศไทย มักจะไม่สม่ำเสมอบางทีอาจตกเป็นปริมาณมาก บางทีตกน้อย ขึ้นอยู่กับภาวะของอากาศ

 

น้ำ...ถือได้ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งไม่เพียงแต่จะใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคแล้ว น้ำยังกลายเป็นปัจจัยสำคัญในอันที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดำเนินต่อไป ทั้งในส่วนของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งเราอาจสรุปคุณประโยชน์ของน้ำได้ดังนี้คือ
1. การอุปโภคบริโภค มนุษย์ต้องการน้ำสะอาดเพื่อดื่มกิน และใช้ในการประกอบอาหาร และใช้น้ำชำระล้างร่างกาย ชะล้างสิ่งสกปรกและใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน
2. การเกษตรกรรม พืชสัตว์ต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโต น้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
3. อุตสาหกรรม น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในขบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม น้ำถูกใช้เป็นวัตถุดิบใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อนไห้แก่เครื่องจัก ใช้ทำความสะอาดเครื่องจักเครื่องยนต์ของโรงงานและใช้ชะล้างกากของเสียจากโรงงาน
4.การคมนาคมขนส่ง การคมนาคมขนส่งทางน้ำนับว่าสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากสามารถขนส่งได้ จำนวนมากและเข้าไปถึงทุกแห่งที่มีแม่น้ำลำคลอง
แต่ในปัจจุบัน จากการขยายตัวของสังคมเมืองไปสู่สังคมอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทำให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่เคยอยู่ในสภาพที่ดีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำในปัจจุบัน ซึ่งไม่เพียงแต่จะเกิดผลกระทบขึ้นกับการดำเนินชีวิตโดยตรงแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมอื่นๆ อีกตามมา อาทิ เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค, เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงนำโรค, มำให้เกิดปัญหามลพิษต่อดินและอากาศทำให้เกิดความรำคาญ เช่น กลิ่นเหม็น รวมไปถึงความสูญเสียต่างๆ ทางเศรษฐกิจ เช่น สูญเสียพันธุ์ปลาบางชนิด และที่สำคัญ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบนิเวศในระยะยาว
ในปัจจุบันความเจ็บป่วยที่เกิดจากความเกี่ยวข้องทางน้ำ(Water-related diseases)แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1. Waterborne diseases เป็นโรคหรือความเจ็บป่วยที่มีน้ำเป็นสื่อในการแพร่กระจาย เกิดจากการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคประเภทต่างๆ ตลอดจนสารเคมี โลหะหนัก รวมทั้งการปรุงอาหารโดยไม่ใช้น้ำไม่สะอาดที่มีการปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคและสารเคมี ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วง รวมไปถึงอากาป่วยด้วยโรคอื่นๆ คือ บิด ไทฟอยด์ ตับอักเสบและพยาธิ
2. water-washed diseases โรคหรือความเจ็บป่วยที่เนื่องมาจากการขาดแคลนน้ำสะอาดในการชำระล้างทำความสะอาดร่างกาย และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม มักจะเป็นอาการโรคติดเชื้อตามเยื่อบุตา ผิวหนังทั้งภายในและภายนอกร่างกาย อาทิ ริดสีดวงตา หิด เหา แผลตามผิวหนัง เป็นต้น
3. water-based diseases โรคหรือความเจ็บป่วยเนื่องจากเชื้อโรคหรือสัตว์นำโรคที่มีวงจรชีวิตอาศัยอยู่ในน้ำ เช่น พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิใบไม้ในเลือด เป็นต้น
4. water-related insect vectors โรคหรือความเจ็บป่วยเนื่องมาจากแมลงเป็นพาหะนำโรค ที่ต้องอาศัยน้ำในการแพร่พันธ์เป็นสำคัญ พาหะนำโรคส่วนใหญ่เกิดจากยุง เช่น มาลาเรีย ไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง ไข้เหลือง เป็นต้น
เติมชีวิตให้สาย...น้ำ
น้ำเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต เราทุกคนจึงควรเห็นคุณค่าในความสำคัญของน้ำและเพื่อประโยชน์ใช้สอยได้ต่อไปอีกยาวนาน สำหรับกระบวนการและขั้นตอนทางการบำบัดน้ำเสียนั้น ทางรัฐบาลได้จัดทำแผนและนโยบายเพื่อบำบัดน้ำเสียในระดับประเทศ โดยกระบานการนั้นจะประกอบด้วยการบำบัดทางกายภาพ (ขั้นตอนการดักสิ่งเจือปนในน้ำเสียที่มีขนาดใหญ่และแยกออกจากน้ำเสีย)ทางชีวภาพ(เป็นการทำให้ปริมาณความสกปรกในน้ำลดลง)จนไปถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการบำบัดโดยทางเคมี(เป็นการบำบัดสุดท้ายเพื่อให้น้ำใสสะอาดและปราศจากเชื้อโรค)และสำหรับวิธีที่จะช่วยเติมชีวิตให้สายน้ำนั้น ก็จะอยู่ในชีวิตประจำวันทั่วไปของเรานั่นเองก็คือ
1. การอาบน้ำ ควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็นหรือก่อนนอน หรือภายหลังจากการออกกำลังกาย 30 นาที โดยใช้สบู่ที่เป็นด่างอ่อนๆ ไม่เจือสีฉูดฉาดและมีกลิ่นไม่แรงเกินไป ทั้งนี้การอาบน้ำบ่อยเกินไป มากเกินไปหรือนานเกินไป หรือฟอกสบู่มากเกินไป จะทำให้ผิวหนังซีดเซียว อักเสบ ทำให้ร่างกายขาดเกราะป้องกันได้


2. การแปรงฟัน ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยใช้แก้วน้ำรองน้ำจะประหยัดกว่าการเปิดน้ำจากก๊อกน้ำโดยตรง และไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ในระหว่างแปรงฟัน


3. การล้างจาน ก่อนล้างภาชนะหรือถ้วยจาน หากมีเศาอาหารติดอยู่ในจานอาหาร ควรเขี่ยทิ้งลงในถังเสียก่อน ส่วนคราบน้ำมัน ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษที่ใช้แล้วเช็ดออก หรือเศาผ้าเช็ดออก และควรเลือกน้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมที่ระบุว่าไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งน้ำที่เหลือนั้นสามารถนำไปรดต้นไม้ได้อีกด้วย


4. การซักผ้า ก่อนซักผ้านั้น ควรใส่ผงซักฟอกแช่น้ำทิ้งไว้ก่อนประมาณ 3 นาที แล้วค่อยตีให้เกิดฟอง ควรใช้ผงซักฟอกที่มีสารอนินทรีย์ คือ ประเภทสารฟอตเฟต และใส่ในปริมาณที่พอดีกับผ้าที่จะซัก เมื่อซักเสร็จแล้ว หากมีผ้าอื่นๆ ที่สามารถซักต่อได้ เช่น ผ้าถูพื้น หรือผ้าเช็ดเท้า ถุงเท้า ก็ให้ซักต่อได้ จะช่วยประหยัดได้อีกมาก


5. การใช้ห้องสุขา การรักษาความสะอาดห้องสุขาและห้องอาบน้ำ ควรใช้แปรงสำหรับขัดถูคราบสบู่หรือหินปูนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาเคมีใดๆ เพราะอาจทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในถังเกรอะและถังกรองให้ตายได้ ทำให้กระบวนการย่อยสลายกากตะกอนและสิ่งปฏิกูลผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหาถังสุขาเต็มหรือท่อสุขาอุดตันบ่อย

กิจกรรมรณรงค์
สำหรับประชาชนโดยทั่วไปนั้นก็สามารถแบ่งเบาภาระอันหนักหน่วงของรัฐบาลทางด้านการจัดการขยะมูลฝอยและน้ำเสียได้เช่นกัน โดยเฉพาะการจัดทำแผนการรณรงค์ในชุมชนซึ่งจะสามารถขยายผลจากชุมชนหนึ่งไปยังอีกชุมชนหนึ่ง และในที่สุดก็ขยายผลไปถึงระดับประเทศได้ อาทิ
1. โครงการด้านภัยขยะและน้ำเสียสุดสัปดาห์
การรวมตัวของชาวบ้านในชุมชนเพื่อร่วมกันกำจัดขยะและทำความสะอาดสายน้ำในชุมชนทุกสุดสัปดาห์ 2. โครงการคัดแยกขยะเป็นการจัดการก้านการแยกทิ้งขยะให้ถูกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเศษกระดาษ ขยะเปียก หรือขยะมีพิษ เป็นต้น โดยในชุมชนนั้นๆ อาจจะกำหนดขยะแต่ละประเภทขึ้นมาตามแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่
3. โครงการขยะเงินล้าน ในชุมชนนั้นๆ อาจตั้งกลุ่มบุคคลขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้จัดการในการนำขยะที่สามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ โดยเงินที่ได้มาก็สามารถเข้ากองทุนหมู่บ้านเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชนต่อไป
4. โครงการขยะและน้ำเสียสัญจร หากชุมชนใดๆ เกิดปัญหาขยะหรือน้ำเสียขึ้นมา ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลให้ทันท่วงที ซึ่งอาจจะต้องเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อศึกษาวิธีการใหม่ๆ ในการกำจัดขยะและน้ำเสีย
5. โครงการสะอาดใสในสิ้นเดือน จัดทำแผนการรณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆ รักความสะอาด โดยทุกๆ สิ้นเดือนจะต้องมาช่วยกันทำความสะอาดหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเก็บขยะหรือทำนุบำรุงดูแลสายน้ำในหมู่บ้าน เป็นต้น

 

 

โทษของน้ำ

สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางน้ำ
สาเหตุของมลพิษทางน้ำ

1. ธรรมชาติ แหล่งน้ำต่างๆ อาจเกิดจากการเน่าเสียได้เองเมื่ออยู่ในภาวะที่ขาดออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วของแพลงค์ตอน แล้วตายลงพร้อม ๆ กันเมื่อ จุลินทรีย์ทําการย่อยสลายซากแพลงค์ตอนทําให์ออกซิเจนในน้ำถูกนําไปใช้มาก จนเกิดการขาดแคลนได้ นอกจากนี้การเน่าเสียอาจเกิดได้อีกประการหนึ่งคือ เมื่อน้ำอยู่ในสภาพนิ่งไม่มีการหมุนเวียนถ่ายเท
2. น้ำทิ้ง และสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน ได้แก่ อาคาร บ้านเรือน สํานักงาน อาคารพาณิชย์ โรงแรม เป็นต้น สิ่งปะปนมากับน้ำทิ้งประกอบด้วยสารอินทรีย์ซึ่งจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายสาร อินทรีย์ที่สําคัญคือ แบคทีเรีย ซึ่งมีทั้งแบคทีเรียแอโรบิก (aerobic bacteria) เป็นแบคที่เรียที่ต้องใช้ออกซิเจนอิสระในการย่อยสลายสารอินทรีย์ กับแบคทีเรียแอนาโรบิก (anaerobic bacteria) เป็นแบคทีเรียที่ยอยสลายสารอินทรีย์ได้โดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนอิสระ อีกชนิดหนึ่งคือ แบคทีเรียแฟคัลเตตีฟ (facultativebacteria)เป็นแบคทีเรียพวกที่สามารถดํารง ชีวิตอยู่ได้ทั้งอาศัยและไม.ต.องอาศัยออกซิเจนอิสระ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณออกซิเจนในสภาวะ แวดล้อมนั้น บทบาทในการย่อยสลายสารเหล่านี้ของแบคทีเรียแอโรบิกต้องใชออกซิเจน ในปริมาณมาก ทําให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ(ดีโอ DO = dissolved oxygen) ลดลงต่ำมาก ตามปกติน้ำในธรรมชาติจะมีออกซิเจนละลายปนอยู่ประมาณ 8 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ 8 ส่วนในล้านส่วน (ppm) โดยทั่วไปค่า DO ต่ำกว่า 3 มิลลิกรัม/ลิตรจัดเป็นน้ำเสีย การหาปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย.ต.องการใช.ในการย.อยสลายอินทรียสารใน น้ำ (biochemical oxygen demand) เรียกย่อว่า BOD เป็นการบอกคุณภาพน้ำได้ ถ้าค่า BOD สูง แสดงว่าในน้ำนั้นมีอินทรียสารอยู่มาก การย่อยสลายอินทรียสารของจุลินทรีย์ต้องใช้ออกซิเจน ทําให้ออกซิเจนในน้ำเหลืออยู่น้อย โดยทั่วไปถ้าในแหล่งน้ำใดมีค่า BODสูงกว่า 100มิลลิกรัม/ลิตร จัดว่าน้ำนั้นเป็นน้ำเสียถ้าในแหล่งน้ำนั้นมีค่า BODสูงหรือมีอินทรียสาร มาก ปริมาณออกซิเจนในน้ำจะลดน้อยลงแบคทีเรียแอโรบิกจะลดน้อยลงด้วย อินทรียสาร จะถูกสลายด้วยแบคทีเรียแอนาโรบิกและแบคทีเรียแฟคัลเตตีฟต่อไป ซึ่งจะทําให้ก๊าซต่าง ๆ เช่น มีเทน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ แอมโมเนีย ก๊าซเหล่านี้เองที่ทําให้เกิดกลิ่นเหม็นและสีของน้ำ เปลี่ยนไปนอกจากสารอินทรีย.แล.ว ตามแหล.งชุมชนยังมีผงซักฟอกซึ่งเป.นตัวลดความตึงผิว ของน้ำ ซึ่งหมุนเวียนไปสู.คนได.ทางโซ.อาหาร
3. การเกษตร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้น้ำเสีย เช่น การเลี้ยงสัตว์ เศษอาหารและน้ำทิ้งจากการ ชําระคอกสัตว์ ทิ้งลงสู่แม่น้ำ ลําคลอง ซึ่งก่อให้เกิดโรคระบาด การใช้ปุ๋ยไนเตรตของเกษตรกร เมื่อปุ๋ยลงสู่แหล่งน้ำจะทําให้น้ำมีปริมาณเกลือไนเตรตสูงถ้าดื่มเข้าไปจะทําให้เป็นโรคพิษไนเตรต ไนเตรตจะเปลี่ยนเป็นไนไตรต์แล้วรวมตัวกับฮีโมโกลบินอาจทําให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้เกษตรกรนิยมใช้สารกําจัดศัตรูพืชมากขึ้น สารที่ตกค้างตามต้นพืช และตามผิวดิน จะถูกชะล้างไปกับน้ำฝนและไหลลงสู่แหล่งน้ำ สารที่สลายตัวช้าจะสะสมในแหล่งน้ำ นั้นมากขึ้นจนเป็นอันตรายได้
4. โรงงานอุตสาหกรรม ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานปลาป่น โรงงาน ผลิตภัณฑ์นม โรงโม่แป้ง โรงงานทําอาหารกระป๋อง ส่วนใหญ่มีสารอินทรีย์พวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตปนอยู่มากสารอินทรีย์ที่ถูกปล่อยออกมากับน้ำทิ้งนี้ก็จะถูกย่อยสลายทําให้เกิดผล เช่นเดียวกับน้ำทิ้งที่ถูกปล่อยจากชุมชน นอกจากนี้อาจมีสารพิษชนิดอื่นปะปนอยู่ด้วย ขึ้นอยู่กับ ประเภทของโรงงาน เช่นปรอทจากโรงงานผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นสารพิษต่อสัตว์น้ำ และผู้นําสัตว์น้ำไปบริโภคนอกจากนี้น้ำทิ้งจากโรงงานบางประเภท ทําให้สภาพกรดเบส ของแหล่งน้ำนั้นเปลี่ยนไป เช่นน้ำทิ้งจากโรงงานกระดาษมีค่า pH สูงมาก น้ำทิ้งจากโรงงาน บางประเภท เช่นจากโรงไฟฟ้าอาจทําให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงไป สภาพเช่นนี้ไม่ เหมาะกับการดํารงชีพของสิ่งมีชีวิตในน้ำ
5. การคมนาคมทางน้ำ ในการเดินเรือตามแหล่งน้ำ ลําคลอง ทะเล มหาสมุทร มีการทิ้งของ เสียที่ประกอบด้วยสารอินทรีย์ และน้ำมันเชื้อเพลิงถ้ามีโอกาสรั่วไหลลงน้ำได้และมีจํานวนมาก ก็จะทําให้สัตว์น้ำขาดออกซิเจน และเป็นผลเสียต่อระบบนิเวศ

ผลกระทบของมลพิษทางน้ำ
1. การประมง น้ำเสียทําให้สัตว์น้ำลดปริมาณลง น้ำเสียที่เกิดจากสารพิษอาจทําให้ปลาตายทัน ที ส่วนน้ำเสียที่เกิดจากการลดต่ำของออกซิเจนละลายในน้ำถึงแม้จะไม่ทําให้ปลาตายทันที แต่อาจทำลายพืชและสัตวน้ำเล็ก ๆ ที่เป็นอาหารของปลาและตัวอ่อน ทําให้ปลาขาดอาหาร ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการประมงและเศรษฐกิจ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำถ้าหารลด จํานวนลงมาก ๆ ในทันทีก็อาจทําให้ปลาตายได้นอกจากนี้น้ำเสียยังทําลายแหล่งเพาะวางไข่ ของปลาเนื่องจากการตกตะกอนของสารแขวนลอยในน้ำเสียปกคลุมพื้นที่วางไข่ของปลา ซึ่งเป็นการหยุดยั้งการแพร่พันธุ์ ทําให้ปลาสูญพันธุ์ได้
2. การสาธารณสุข น้ำเสียเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ทําให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคอหิวาตกโรค ไทฟอยด์ บิด เป็นแหล่งเพาะเชื้อยุงซึ่งเป็นพาหะของโรคบางชนิด เช่น มาเลเรีย ไข้เลือดออก และสารมลพิษที่ปะปนในแหล่งน้ำ ถ้าเราบริโภคทําให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรค มินามาตะ เกิดจากการรับประทานปลาที่มีสารปรอทสูง โรคอิไต-อิไต เกิดจากการได้รับสาร แคดเมียม
3. การผลิตน้ำแพื่อบริโภคและอุปโภค น้ำเสียกระทบกระเทือนต่อการผลิตน้ำดื่ม น้ำใช้อย่าง ยิ่ง แหล่งน้ำสําหรับผลิตประปาได้จากแม่น้ำ ลําคลอง เมื่อแหล่งน้ำเน่าเสียเป็นผลให้ คุณภาพน้ำ ลดลง ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตเพื่อให้น้ำมีคุณภาพเข้าเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มจะเพิ่มขึ้น
4. การเกษตร น้ำเสียมีผลต่อการเพาะปลูก และสัตว์น้ำ น้ำเสียที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ การเกษตร ส่วนใหญ่เป็นน้ำเสียที่มีความเป็นกรดเป็นด่างสูง น้ำที่มีปริมาณเกลืออนินทรีย์ หรือ สารพิษสูง ฯลฯ ซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียและเกิดจากผลของการทํา เกษตรกรรมนั่นเอง เช่น การชลประทาน สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติน้ำในธรรมชาติประกอบด้วยเกลืออนินทรีย์เจือปนอยู่โดยเฉพาะ เกลือคลอไรด์ ขณะที่ใช้น้ำเพื่อการเกษตร น้ำจะระเหยเป็นไอโดยธรรมชาติ ปริมาณเกลือ อนินทรีย์ซึ่งได้ระเหยจะตกค้างในดิน เมื่อมีการสะสมมากเข้า ปริมาณเกลือในดินสูงขึ้น ทําให้ดินเค็มไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ปริมาณเกลืออนินทรีย์ที่ตกค้างอาจถูกชะล้าง ภายหลังฝนตก หรือโดยระบายน้ำจากการชลประทาน เกลืออนินทรีย์จะถูกถ่ายทอดลงสู่ แม่น้ำในที่สุด
5. ความสวยงามและการพักผ่อนหย่อนใจ แม่น้ำ ลําธาร แหล่งน้ำอื่น ๆ ที่สะอาดเป็นความ สวยงามตามธรรมชาติ ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ใช้เล่นเรือ ตกปลา ว่ายน้ำ เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #น้ำ
หมายเลขบันทึก: 477925เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2012 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท