case study II "CVA (Basal ganglion hemorrhage) "


เพราะถ้าบุคคลได้ไม่มีแรงจูงใจ ไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือความอยากให้ทำอะไร ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่บุคคลนั้นจะอยู่อย่างไร้ค่า ไม่สนใจการทำกิจกรรมใดๆ

สำหรับกรณีศึกษาที่ผมนำเสนอในครั้งที่ 2 นะครับ  เป็นผู้รับบริการฝ่ายกาย  ได้รับการวินิจฉัยคือ  CVA (Basal ganglion hemorrhage)  ซึ้งหลังจากการประเมินพบปัญหาดังนี้ครับ 

  • ขาดแรงจูงใจในการฝึกกิจกรรม
  • ไม่สามารถทำอาชีพของตนได้ดังเดิม
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรค  คือ Shoulder subluxation, Shoulder hand syndrome
  • ไม่มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อในส่วนแขนข้างซ้าย
  • การทรงตัวในท่านั่งยังไม่ดี
  • สภาพบ้านไม่เหมาะสม  มีปัจจัยเสี่ยง

ซึ่งในการนำเสนอครั้งนี้ผมได้หยิบยกเพียงแค่ปัญหาเรื่องการ "ขาดแรงจูงใจ" (Low motivation)  เท่านั้น  เพราะปัญหาด้านอื่นๆนั้นเพื่อนๆหลายคนได้นำเสนอไปแล้วในกรณีศึกษาของตนซึ่งมีความคล้ายคลึงการในการให้กิจกรรมการรักษา

สำหรับปัญหาในเรื่องการขาดแรงจูงใจนั้นผมมองว่าเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะถ้าบุคคลได้ไม่มีแรงจูงใจ  ไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือความอยากให้ทำอะไร   ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่บุคคลนั้นจะอยู่อย่างไร้ค่า  ไม่สนใจการทำกิจกรรมใดๆ  และเป็นธรรมดาครับที่ผู้ป่วยในระยะแรกอาจมีความเครียด  หรือทำใจไม่ได้กับอาการป่วยของตน  จนทำให่ขาดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ เช่นเดียวกับกรณีศึกษาของผม   ผมจึงเลือกความสำคัญของปัญหาดังกล่าวมานำเสนอ  โดยได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Evidence base support ด้วยกัน 2 เรื่อง ดังนี้ครับ

เรื่องที่ 1
Meaning of Context in Recapturing Self-CareAfter Stroke or Spinal Cord Injury เนื้อหาในเรื่องนี้จะกล่าวถึงบริบทที่สำคัญในการที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วย Stroke และ SCI ให้ความสำคัญและสนใจในการทำกิจกรรมการดูแลตนเอง  ดังนี้ครับ

  • การได้รับการสนับสนุนจากบุคคลอื่น
  • การตั้งความหวังที่มีความเป็นไปได้
  • การปรับเวลาให้เหมาะสม
  • การปรับโครงสร้างการทำกิจวัตรประจำวันใหม่ให้เหมาะสม
  • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดและผู้รับบริการ
  • การปรับกิจกรรมให้มีความท้าทาย

เรื่องที่ 2
The Concept of Patient Motivation A Qualitative Analysis of Stroke Professionals’ Attitudes
 
เนื้อหาในเรื่องนี้จะกล่าวถึงวิธีในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับบริการ ดังนี้ครับ

  • การตั้งเป้าประสงค์การบำบัดฟื้นฟูที่มีความเป็นไปได้ต่อระดับความสามารถสูงสุด
  • การให้ข้อมูลการบำบัดรักษาแก่ผู้รับบริการ
  • การคำนึงถึงบริบทของผู้รับบริการในการให้การบำบัดรักษา

นอกจากนนี้ในตอนท้ายของการนำเสนอครั้งนี้ อ.ดร.ป๊อปยังแนะนำบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด  ในการช่วมเพิ่มแรงจูงใจในผู้รับบริการดังนี้ครับ

  • Motivation  Interview  คือการสัมภาษณ์เพื่อค้นหาแรงจูงใจ
  • Motivation  Challenge คือดรสร้างแรงจูงใจให้มีความท้ายทาย

จะเห็นได้ว่าข้อมูลจากการศึกษา Evidence base support  นั้นในบางเรื่องผมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยใช้ในการกระตุ้นให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมมาบ้างแล้ว  แต่อย่างไรก็ดีผมคิดว่านี่คงไม่ใช่สูตรสำเร็จ  เราคงต้องปรับวิธีการสร้างแรงจูงใจให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละราย  เพื่อส่งเสริมในการเพิ่มทักษะความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างดีที่สุด

ท้ายสุดขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่กำลังท้อแท้  หรือขาดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ ขอให้ทุกท่านสู้ๆนะครับ  ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางออก  แต่อยู่ที่ว่าเราจะก้าวออกไปเองหรือไม่.......

ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ  เจอกันใหม่บันทึกหน้า  สวัสดีครับ
กีรติ   กีร์รักทุกคน...... 

 
 
หมายเลขบันทึก: 477798เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท