การนำเสนอกรณีศึกษา ครั้งที่ 2


เป็นการนำเสนอกรณีศึกษาที่เตรียมตัวนานที่สุด พอใจกับการนำเสนอกรณีศึกษาครั้งนี้มาก คะแนนไม่ได้เป็นตัวกำหนดทุกสิ่งแต่ความตั้งใจต่างหากที่ทำให้เราทำมันจนสำเร็จ

กรณีศึกษา ที่ 2 จากคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

กรณีศึกษาเพศชาย อายุ 67 ปี

การวินิจฉัยโรค : Lacunar infarct both basal ganglion (Left hemiplegia) อัมพาตครึ่งซีกด้านซ้าย

มือด้านถนัด : ขวา

ส่งต่อมาพบนักกิจกรรมบำบัดเพื่อ ฝึกการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง

Lacunar infarct คือ การที่สมองชั้นลึกขาดเลือดเป็นจุดเล็กๆและขาดเลือดไปเลี้ยงในส่วนของก้านสมอง พบประมาณ 20% ของผู้ป่วยอัมพาตทั้งหมด และอาจมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

 การประเมินกรณีศึกษา

1. การทำกิจวัตรประจำวัน

2. องค์ประกอบในการทำกิจกรรม

3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการทำกิจกรรม

ปัญหาที่พบ

1. การเคลื่อนไหวขณะอยู่ในท่านั่งยังไม่ดี เสี่ยงต่อการล้ม (fair dynamic sitting balance)

2. ข้อไหล่หลุด ประมาณ 2 เซนติเมตร (shoulder subluxation 1 finger based)

3. ต้องช่วยเหลือในการใส่เสื้อผ้าเล็กน้อย (dressing : minimal assistance)

4. กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscle : hypotone)

5. มีความยากลำบากในการทำกิจกรรมยามว่าง

6. ประตูห้องน้ำมีธรณีประตู (ล้อเข็นเข้าได้ลำบาก)

การรักษา

1. ฝึกการทรงตัวในท่านั่ง (balance training) เมื่อทำได้ดีขึ้นจะปรับระดับ เพิ่มความยากในการทำกิจกรรมการทรงตัว เช่น กิจกรรมหยิบลูกบอลใส่ตะกร้าจากซ้ายไปขวา/ขวาไปซ้าย หรือ โยนรับส่งบอลกับผู้บำบัด

2. การป้องกันภาวะแทรกซ้อน (prevent complication) เช่น การกระชับข้อไหล่ การป้องกันข้อไหล่ติด เป็นต้น โดยตัวอย่างกิจกรรมที่ให้ เช่น การยืดข้อไหล่(passive streching) การลงน้ำหนักข้อไหล่(weight bearing) การใส่ที่กระชับข้อไหล่(bobath arm sling)

3. การใส่เสื้อผ้าด้วยตนเอง จะใช้การสอนเทคนิคการใส่เสื้อผ้าที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

4. ใช้แบบสำรวจความสนใจ เพื่อดูว่าผู้รับบริการสนใจกิจกรรมอะไ และแนะนำการกลับไปทำกิจกรรมนั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาลพร้อมทั้งแนะนำการปรับกิจกรรมเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมนั้นได้สำเร็จโดยมีคนอื่นช่วยน้อยที่สุด

5. แนะนำการทำหลังเต่าบริเวณธรณีประตูห้องน้ำ เพื่อให้ล้อเข็นสามารถเข้าได้

หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence based)

Evidence based I : เรื่องเทคนิคที่ดีของนักกิจกรรมบำบัดในการให้การบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก

เทคนิคที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดที่ดี 5 เทคนิค คือ

1. CIMT and mCIMT

2. Robot-Assisted Therapy

3. Electrical stimulation (ES)

4. Mental imagery

5. Repettitive task practice (RTP)

*** สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ recommendation for best practice of occupational therapy in stroke rehabilitation for motor recovery and functional outcomes

Evidence based II : การฝึกผู้ดูแล ในการดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

        จะเป็นการฝึกโดยทีมสหวิชาชีพ โดยเริ่มแรกจะถามผู้ดูแลเกี่ยวกับปัญหาของผู้ป่วยเพื่อดูว่าผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับการดูแล และพยาธิสภาพของผู้ป่วยดีแค่ไหน ในกรณีที่ยังไม่ดี จะอธฺบายเพิ่มเติมให้แก่ผู้ดูแล อันดับที่ 2 จะฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยโดยให้แต่ละวิชาชีพฝึกผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยตามบทบาทของตน และสุดท้ายจะมีการติดตามผลของผู้ป่วยทางโทรศัพท์ หรือ ให้ผู้ดูและซักถามขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยเพิ่มได้ทางโทรศัพท์

       ผลของงานวิจัยชิ้นนี้พบว่า ผู้ป่วยมีความสามารถทางด้านร่างกายเพิ่มขึ้น และมีความเครียดลดลงรวมทั้งลดอัตราการเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลซ้ำ ในส่วนของผู้ดูแล พบว่า มีความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยลดลงและลดการเข้ามาดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลอีกด้วย

*** สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่  A cluster randomized controlled trial of a structured training programme for caregiver of patients after stroke

 

 

คำสำคัญ (Tags): #case study#กรณีศึกษา
หมายเลขบันทึก: 477561เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2012 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท