Mirror Neuron


กิจกรรมบำบัด

นเซลล์ๆหนึ่งที่อยู่ในสมอง ทำหน้าที่เป็นกระจกเงา ที่กำลัง "สะท้อนภาพ" หรือ "เลียนแบบ" พฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ รวมทั้งตอบสนองพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เช่น พฤติกรรมArt ตัวแม่ ส่วนหนึ่งเนื่องมากจากการกระทำของละครหลังข่าว ที่หญิงสาวชอบดูกัน , เด็กๆดูไอ้มดแดงแปลงร่าง แล้วเด็กสามารถทำท่าเคลื่อนไหวและแสดงพฤติกรรมซุปเปอร์ฮีโร่ตามได้ เป็นต้น
สมมุติฐานของเซลล์กระจกเงา นั้นคือการสะท้อนการเคลื่อไหวและการทำงานของคนอื่น โดยเซลล์กระจกเงานั้นจะอยู่ในบริเวณของสมอง Premotor contex ส่งผลต่อการเรียนรู้

      ทฤษฎีเซลล์กระจกเงาในระยะเริ่มแรกถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องการพัฒนาเด็ก เพราะสมองของเด็กนั้นมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้เด็กเห็นและทำให้เด็กเกิดการลอกเลียนแบบ นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้ในการปรับตัว กลายเป็นจุดเริ่มต้นของบุคลิกภาพของมนุษย์ และยังนำไปใช้ในการบำบัดรักษาโรค ได้อีกด้วย เช่น อัมพาตครึ่งซีก และโรคออทิสติก

     ในทางกิจกรรมบำบัดแนวทางการใช้ทฤษฏีกระจกเงา คือ เน้นส่งเสริมการเคลื่อนไหวของมือก่อนนำไปสู่การประกอบกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมที่มีความหมายต่อผู้ป่วยได้ด้วยตนเอง โดยวางกระจกไว้ตามแนวกึ่งกลางของลำตัว หันกระจกไปทางด้านมีรยางค์ปกติ ให้ผู้ป่วยสังเกตการณ์เคลื่อนไหวของรยางค์ข้างปกติอย่างจดจ่อ แล้วจินตนาการว่ารยางค์ที่อยู่ในกระจกนั้นเป็นข้างที่เป็นพยาธิสภาพ ให้รู้สึกเหมือนเราเคลื่อนไหวรยางค์ทั้งสองข้างไปพร้อม ๆ กันก่อนการใช้ Mirror therapy สิ่งที่ควรสังเกตผู้ป่วย คือ ช่วงความสนใจ, การรับรู้สิ่งต่าง ๆและความสามารถในการประมวลผลขณะนั้นของผู้ป่วย หากสิ่งที่กล่าวมานั้นผู้ป่วยอยู่ในช่วงต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ Mirror therapy  

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 477559เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2012 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012 01:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท