Learning doesn't converge II


การนำเสนอ Case study ครั้งที่ 1 ของนักศึกษากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 11-20

1.  Constraint-induced movement therapy เป็นเทคนิคที่ใช้เพิ่มความสามารถของการเคลื่อนไหวแขนของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก โดยมีหลักการ คือ จำกัดแขนข้างดี แล้วกระตุ้นใช้แขนข้างพยาธิสภาพทำงาน

*ข้อควรระวัง  ไม่ควรฝึกระยะเวลานานคิดต่อกันอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดได้

 

2.  Dystonia คือ ความตึงตัวขิงกล้ามเนื้อไม่คงที่ ทำให้กล้ามเนื้อแสดงออกมาในรูปแบบเกร็ง และอ่อนแรงสลับกัน ซึ่งอาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโรคสมองพิการหรือเรียกว่า “Cerebral Palsy”

 

3.  การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก โดยใช้หลักการของ Neurodevelopmental FoR

ได้แก่ วิธีการของ Brunnstrom Movement Therapy คือ การใช้สิ่งเร้าเข้ามากระตุ้นเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของแขนในรูปแบบปฏิกิริยาสะท้อนกลับ(Reflex)  หลังจากนั้นจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวแบบเป็นกลุ่มก้อนและพัฒนาไปสู่การเคลื่อนไหวแบบแยกส่วน

 

4.  ผู้ป่วย Hand injury ที่เป็น Reflex Sympathetic Dystrophy ซึ่งมีอาการสำคัญ ได้แก่

            - severe chronic pain

            - sensory abnormal

            - edema

วิธีการลดบวม ดังนี้

           1)  Retrograde massage คือ การนวดไล่น้ำเหลืองต่าง ๆ เริ่มจากส่วนปลายไปยังส่วนต้น คือ ปลายนิ้วไปยังต้นแขน โดยแขนต้องวางตั้งตรง

           2)  String Wrapping คือ การใช้เชือกพันตั้งแต่ปลายนิ้วมายังฝ่ามือ โดยวางมือในลักษณะข้อศอกแล้แขนตั้งตรงเช่นกัน

           3)  Elevation คือ การจัดท่าทาง โดยให้แขนยกอยู่สู่เหนือกว่าระดับหัวใจ ทั้งขณะพักและนอน โดยอาจให้มือและแขนวางอยู่บนหมอนก็ได้

 

5.  Oral Ball Rolling Exercise คือ การออกกำลังกายปาก เป็นการฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหวปาก วิธีการนี้จะใช้ลูกปิงปองที่มีขนาด 1.8 เซนติเมตร มีเชือกไนลอนผูกติดไว้ โดยให้ผู้ป่วยอมอยู่ในปากแล้วเคลื่อนไหวลูกปิงปองไปมา

 

6.  Intermittent Pneumatic Compression เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สวมที่ขาหลักการคล้าย ๆ กับ Air splint ใช้แรงดันอากาศเข้าไป เพื่อช่วยให้การสูบฉีดเลือดที่บริเวณขาทำได้ดีเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มการรับรู้สัมผัสและการรับรู้การเคลื่อนไหวข้อต่อ และช่วยลดเกร็งได้ด้วย

 

7.  วิธีการ Cognitive Behavioral Therapy, Interpersonal Therapy และ การเล่นโยคะ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยทางจิตเวชที่มีอาการซึมเศร้าให้ลดลงได้

-  หลักการของ Cognitive Behavioral therapy จะเป็นการ Feed back ต่อผู้ป่วยในด้านการกระทำและความคิดต่าง ๆ

-  หลักการของ Interpersonal Therapy เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ โดยจะมีคำถาม 4 ข้อ ดังนี้      1. ความเศร้า

           2. ความขัดแย้ง

           3. การปรับตัว

           4. การขาดทักษะทางสังคม

 

8.  การฝึกผู้ป่วยที่บาดเจ็บของไขกระดูกสันหลัง สามารถฝึกการทรงตัวไปพร้อม ๆ กับการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 477403เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2012 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท