พุทธศาสนะสุภาษิต


อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัญฑิตย่อมฝึกตน

 สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา.
ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา  

 

ปุตฺเต วิชฺชาสุ ฐาปย.

บิดามารดาพึงให้บุตรเรียนศิลปวิทยา

สพฺพํ สุตมธีเยถ.
สรรพวิทยา   ควรเรียนรู้ให้หมด 

โยคา เว ชายเต ภูริ.
ปัญญา   ย่อมเกิดเพราะการฝึกฝน 

ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย. 
ปัญญานั่นแหละ    ประเสริฐกว่าทรัพย์

สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ.
ผู้ตั้งใจศึกษา   ย่อมได้ปัญญา 

ปญฺญา นรานํ รตนํ.
ปัญญา    เปรียบเสมือนเครื่องประดับแห่งตน

ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต.
ปัญญา   เป็นแสงสว่างในโลก

อวิทฺทสู มารวสานุวตฺติโน.
คนโง่     มักตกอยู่ในอำนาจแห่งมาร 

นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน.
คนไม่พินิจพิจารณา    เป็นคนไม่มีปัญญา

นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา.
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา  นั้นไม่มี

ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ.
คนย่อมเห็นแจ้งเนื้อความอย่างเด่นชัดด้วยปัญญา

ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ.
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา

นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส.

คนไร้ปัญญา    ไม่มีความพินิจพิจารณา

สาธุ โข สิปฺปกํ นาม.

ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา     ดีทั้งนั้น

ทุกฺเข สุขานิ วินฺทติ.
คนมีปัญญา    เมื่อถึงคราวตกทุกข์     ก็ยังหาสุขได้

มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ.
คนเรียนน้อย   เจริญแต่เนื้อหนังมังสา

ปญฺญาชีวึ ชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ.

มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา     ปราชญ์กล่าวว่าประเสริฐสุด 

อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิวทฺโทว ชีรติ.
คนเรียนน้อย    แก่เปล่า  เหมือนโคถึก

ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ.
คนเรียนน้อย    ปัญญาย่อมไม่พัฒนา

ปญฺญา เจนํ ปสาสติ.
ปัญญาเป็นเครื่องปกครองคน

โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ.
พึงพินิจพิจารณาเรื่องราวโดยรอบคอบ

ญาโต อตฺโถ สุขาวโห.
ผู้รู้จักประโยชน์แล้วย่อมนำสุขมาให้

ปญฺโญว เสยฺโย น ยสสฺสิ พาโล.
คนมีปัญญาประเสริฐกว่า  คนโง่ที่มียศ

ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ.
ในหมู่มนุษย์     คนที่ประเสริฐ   คือคนที่ฝึกแล้ว

อวิชฺชา ปรมํ มลํ.

ความไม่รู้    เป็นมลทินร้ายที่สุด

ตสฺส สํหีรปญฺญสฺส วิวโร ชายเต มหา.
เมื่ออ่อนปัญญา    ช่องทางวิบัติก็เกิดได้มหันต์

ลาภกมฺยา น สิกฺขติ.
บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ

กิจฺฉา วุตฺติ อสิปฺปสฺส.
คนไม่มีศิลปวิทยา     เป็นอยู่ยาก

โหติ ตาทิสโก กาโล ยตฺถ อตฺถาวหํ สุตํ.
สักวันหนึ่ง    ความรู้ที่เรียนมาจะให้ประโยชน์

ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ อปิ วิตฺตปริกฺขยา.
คนมีปัญญา    ถึงไร้ทรัพย์    ก็ยังดำรงอยู่ได้

ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ.
ปราชญ์กล่าวว่าปัญญา     ประเสริฐสุด

ปญฺญาย ติตฺตีนํ เสฏฺฐํ.
บรรดาความอิ่มทั้งหลาย    อิ่มปัญญาประเสริฐสุด

ปญฺญา สุตวินิจฺฉินี.
ปัญญาเป็นเครื่องตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนมา

ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ.
คนเกียจคร้าน     ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา

สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ.
สิ่งที่ควรศึกษา     ก็พึงศึกษาเถิด

วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺฐา.
บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา      วิชาความรู้ประเสริฐสุด

ปญฺญาย อตถํ ชานาติ.
ปัญญาช่วยให้รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์

สุตํ ปญฺญาย วฑฺฒนํ.
ความรู้ที่เรียนมา    เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา

สุสฺสูสา สุตวฑฺฒนี.
การใฝ่ใจศึกษา    เป็นเครื่องพัฒนาความรู้

ภเวยฺย ปริปุจฺฉโก.
พึงเป็นคนชอบไตร่ถามเพื่อหาความรู้

อวิชฺชา นิปตตํ วรา.
บรรดาสิ่งที่โรยราร่วงหายทั้งหลาย      ความไม่รู้หมดไปได้เป็นดีที่สุด

สํวิรุฬฺเหถ เมธาวี เขตฺเต พีชํว วุฏฺฐิยา.
คนมีปัญญาย่อมงอกงาม     ดังพืชในนาที่งอกงามด้วยน้ำฝน 

วรมสฺสตรา ทนฺตา อาชานียา จ สินฺธวา กุญฺชรา จ มหานาคา อตฺตทนฺโต ตโต วรํ.
อัสดร   อาชาไนย   สินธพ   กุญชร    และช้างหลวง  ฝึกดีแล้ว  ล้วนดีเลิศ แต่คนฝึกตนแล้ว ประเสริฐยิ่งกว่านั้น

สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิ ยาทิสิกีทิสํ.
ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา  ไม่ว่าอย่างไหนๆให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมนุเส.
คนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา

กิตฺติญฺจ ปปฺโปติ อธิจฺจ เวเท สนฺตึ ปุเณติ จรเณน ทนฺโต.

เล่าเรียนสำเร็จวิทยา ก็ย่อมได้เกียรติ แต่ฝึกอบรมด้วยจริยธรรมแล้วต่างหาก  จึงจะพบสันติสุข

หีนชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺฐาตา ธิติมา นโร อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสติ.
คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ   แต่หากขยันหมั่นเพียรมีปัญญา    ประกอบด้วยอาจาระและศีล   ก็รุ่งเรืองได้เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืด  ก็สว่างไสว

สุสฺสูสา สุตวฑฺฒนี สุตํ ปญฺญาย วฑฺฒนํ ปญฺญาย อตถํ ชานาติ ญฺาโต อตฺโถ สุขาวโห.
ความใฝ่เรียนสดับ  เป็นเครื่องพัฒนาความรู้   ความรู้จากการเรียนสดับนั้น  เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา  
บุคคลที่อยู่ด้วยปัญญา   ก็รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์   ประโยชน์ที่รู้จักแล้วก็นำสุขมาให้

โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ วินโย วา สุสิกฺขิโต วเน อนฺธมหึโสว จเรยฺย พหุโก ชโน.
ถ้าไม่มีพุทธิปัญญา     แลมิได้ศึกษาระเบียบวินัย    คนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิต เหมือนดังกระบือบอดในกลางป่า

สพฺพํ สุตมธีเยถ หีนมุกฺกฏฺฐฺมชฺฌิมํ สพฺพสฺส อตฺถํ ชาเนยฺย น จ สพฺพํ ปโยชเย โหติ ตาทิสโก กาโล ยตถ อตฺถาวหํ สุตํ.
อันความรู้   ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ  สูง  หรือปานกลาง   ควรรู้ความหมาย  เข้าใจทั้งหมด  แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง  วันหนึ่งจะถึงเวลาที่ความรู้นั้นจะนำมาซึ่งประโยชน์

พทฺธาปิ ตตฺถ มุจฺจนฺติ ยตฺถ ธีรา ปภาสเร.
คนมีปัญญา  แม้มีปัญหา  และถูกผูกมัดอยู่ พอพูดในเรื่องใดก็หลุดได้ในเรื่องนั้น

 

หมายเลขบันทึก: 477301เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2012 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท