จิตรลดา DJ-sun
นางสาว จิตรลดา จิตรลดา DJ-sun ซันนุ

มนต์เสียงแห่งการช่วยจำ


มนต์เสียงแห่งการช่วยจำ

          ครูทุกคนที่มีอาชีพนี้  ล้วนแล้วแต่จะต้องพัฒนาการสอน  พัฒนาความรู้ของตนเองให้ล้ำสมัยอยู่ตลอดเวลา  ต้องมีการจัดทำสื่อการสอน  ต้องมีอุปกรณ์ที่เป็นสื่อการสอนต่างๆ ที่มากกว่าตัวเล่มหนังสือเรียน  เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กๆ ให้อยากรู้ อยากเรียน  ในหลายๆครั้งสำหรับตัวข้าพเจ้าเอง  ข้าพเจ้ามักจะหารูปแบบในการดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้อยากเรียนให้ได้ก่อน  เนื่องจากพื้นฐานของคณิตศาสตร์มีเด็กน้อยคนนักที่ชอบจะเรียน  บางครั้งข้าพเจ้าใช้ power point เป็นสื่อการสอน เช่น เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต 2 มิติกับ 3 มิติ,  การคลี่รูป,  การมองงภาพ 3 มิติ เป็นภาพด้านหน้า  ด้านข้าง และด้านบน เป็นต้น  บางเรื่องใช้การอธิบายและร่วมสุรปกับนักเรียนเป็น flow charge ออกมา  บางเรื่องก็ใช้การอธิบายบนกระดาน  และแน่นอนว่าต้องมีบางเรื่องที่นักเรียนสับสน  ยากต่อการทำความเข้าใจในกฎเกณฑ์ต่างๆ 

        เมื่อกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ยากไปต่อการท่องจำของนักเรียน  ข้าพเจ้าก็พยายามสรรหาวิธีต่างๆ มาทำให้นักเรียนเข้าใจเพิ่มมากขึ้น  อย่างเช่น  การบวกและการลบจำนวนเต็มที่เป็นชนิดเดียวกัน  หรือต่างชนิดกัน  ซึ่งเรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องที่นักเรียนสับสนมากที่สุด วิธีที่ข้าพเจ้าใช้อธิบายกับนักเรียนก็คือ จำลองเหตุการณ์ขึ้นมา  โดยให้นักเรียนคิดว่า

จำนวนเต็มบวก หมายความว่า ตัวนักเรียนเองมีเงินเป็นของตัวเอง  

ส่วนจำนวนเต็มลบ  หมายความว่า  นักเรียนติดหนี้ครูอยู่

ด้วยกับวิธีนี้ก็ยังมีรักเรียนบางส่วนที่ยังสับสนอยู่ว่า แล้วจำทำไงต่อล่ะคะ? ตอนแรกหนูมีเงิน ไปซื้อของ ตังค์ไม่พอต้องยืมครูมา ละหนูจะใช้คืนเมื่อไหร่  ซึ่งมีมากมายหลายประเด็นที่ตามมา  ปรากฏว่าวิธีนี้ก็ใช้ไม่ได้ผล  ข้าพเจ้าจึงลองใช้บทเพลงมาช่วยเพิ่มความเข้าใจให้นักเรียนบ้างดีกว่า  คณิต-ศิลป์ มันคงช่วยกันได้อย่างดี  จากนั้นข้าพเจ้าก็ใช้เวลาในการแต่งบทเพลงเรื่อง บวกลบจำนวนเต็ม 1 วัน โดยแต่งตอนเช้าเมื่อนั่งรถไปทำงาน  และแต่งต่อตอนเย็นเมื่อนั่งรถกลับมาบ้าน  ซึ่งบทเพลงที่แต่ง มีดังนี้

การบวกจำนวนเต็ม        

        เครื่องหมายเหมือนกันไหมจ๊ะ (2)

          ปรากฏว่าเหมือนกันเหมือนกัน

          แล้วทำยังไงต่ออ่ะ (2)

          บวกกันซิ่ บวกกันได้เลย

          แล้วตามด้วยเครื่องหมายเหมือนเดิม (2)

         จบแล้วซิ่ ได้คำตอบแล้วเอย (2)

การลบจำนวนเต็ม

        เครื่องหมายต่างกันไหมจ๊ะ (2)

          ปรากฏว่าต่างกันต่างกัน

          แล้วทำยังไงต่ออ่ะ (2)

         ลบกันซิ่ ลบกันได้เลย

          แล้วตามด้วยเครื่องหมายที่มากกว่า (2)

         จบแล้วซิ่ ได้คำตอบแล้วเอย (2)

ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะคิดว่า อ้าว¡ บทเพลงที่ข้าพเจ้าแต่งขึ้น มันก็คล้ายๆ กับกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์นั่นแหละ  เมื่ออธิบายเด็กแล้ว เด็กยังไม่เข้าใจ  แล้วมาอธิบายเป็นบทเพลงเด็กจะเข้าใจได้อย่างไร?  ท่านเชื่อไหมคะว่า  ศาสตร์แห่งบทเพลงทำให้เด็กสนุกในเนื้อร้อง ทำนอง  เมื่อเขามองว่าครูสามารถทำคณิตศาสตร์ให้เป็นบทเพลงได้ แสดงว่ามันไม่ยากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว  เขาก็พากันเปิดใจ  ขจัดคำว่าอคติต่อคณิตศาสตร์ออกไป  แล้วเปลี่ยนมาเปิดใจทำความเข้าใจ เริ่มต้นเข้าใจใหม่อย่างสนุกครื้นเครงค่ะ

หมายเลขบันทึก: 477283เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2012 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท