seminar II (ครั้ง7)


จินตนาการเป็นบ่อเกิดของความคิดสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่น่าสนใจมากมาย

การเรียนในห้องเรียนที่ผ่านมา ได้รับความรู้และประสบการณ์ต่างๆมากมาย การเรียนการสอนที่อาจารย์นำมาใช้ก็น่าสนใจและก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตามมา นอกจากจะได้ความรู้จากสิ่งที่ร่ำเรียนตามตำรา ยังได้มิตรภาพและสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน ได้รู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากมาย อย่างเช่นในการฟังการนำเสนอครั้งนี้ก็เช่นกัน

เมื่อได้ฟังคนนึงผู้เป็นผู้เริ่มต้นทางความคิดสร้างสรรค์แล้ว ต่อมาก็มีคนนำไปประยุกต์ใช้ ทำให้เกิดความแตกต่างที่น่าสนใจ และการนำเสนอในครั้งนี้ของคุณพิมประไพก็น่าสนใจเช่นเคย การนำเอาการ์ตูนอมตะอย่างโดเรม่อนมาเป็นตัว intro ก่อนเข้าสู่กรณีศึกษาของตนเอง ทำให้เกิดความน่าสนใจ ติดตาม และคิดตาม

โนบิตะผู้ที่ต้องพึ่งพาโดเรม่อนเสมอในวัยเยาว์ แต่เมื่อเติบใหญ่แล้วไม่มีโดเรม่อน โนบิตะก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะเกิดทักษะในด้านของ self-management ที่ดีคือ มีทักษะการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ตัดสินปัญหาด้วยตนเอง

แม้การ์ตูนที่เราเคยดูตอนเด็ก ซึ่งในตอนนั้นคิดว่าดูเพื่อสนุก คลายเครียด โนบิตะเป็นตัวตลกที่ไม่ได้เรื่อง มาตอนนี้กลับสอนอะไรหลายอย่างให้เรามากมาย เมื่อมาคิดดู สิ่งรอบตัวเราสามารถให้ความรู้เราได้มากมาย อยู่ที่ว่าเราจะเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาหรือไม่

สำหรับคลังสมบัติที่รวบรวมมาจากการนำเสนอของเพื่อนๆ ในครั้งนี้มีดังนี้

- PIP เป็นอาการที่กินน้ำเข้าไปมากเกิน ทำให้เกิดอาการชักได้ ซึ่งมักเกิดในผู้ป่วยจิตเวช

- PRPP เป็นการประเมินเพื่อสังเกตพฤติกรรม โดยใช้กระบวนการทำงานคล้ายกับ SI (sensory intregration) ประกอบด้วย Persive (เช่น ช่วงระยะเวลาความสนใจ), Recall (เช่น ความจำ), Plan (การวางแผน), และ Perform (ความสามารถ) 

- Robort assisted therapy เป็นการบำบัดฟื้นฟูโดยใช้เกม เช่น เกมนินเทนโด้ ซึ่งอาศัยการฝึกทำซ้ำๆ และเป็น functional activity โดยสามารถเพิ่ม motor recovery และ hand function ได้

- ES เป็นการกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลด pain โดยใช้หลักของ proprioceptive ซึ่งวิชาชีพที่สามารถทำ ES ได้ก็คือวิชาชีพกายภาพบำบัด สำหรับวิชาชีพกิจกรรมบำบัด หากต้องการใช้ ES ต้องได้รับการอบรมก่อน

- functional pupping exercise เป็นการทำกิจกรรมการออกกำลังกายในระดับสูง

- retrograde massage กับ manual mobilization ใช้หลักการเดียวกันคือการนวดจาก distal ไป proximal ต่างกันตรงที่จุดนวด คือ manual mobilization เป็นการนวดตามจุดที่มีน้ำเหลือง

- FES คือการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้ากระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

- ankle conus เป็นอาการของข้อเท้ากระตุก ซึ่งเป็นอาการของคนไข้ SCI ไม่ใช่อาการของ spastic tone

ขอขอบคุณอาจารย์และเพื่อนๆทุกคนที่ได้ให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ดีๆให้ค่ะ^^

หมายเลขบันทึก: 476982เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2012 02:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท