เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์ (ตอนที่ 3) : ผลิตภัณฑ์เลือดน่าใช้ Leukocyte poor red cells


การใช้ LPRC , การป้องกันภาวะ FNHTR ในผู้ป่วยรับเลือด

Leukocyte Poor Red Cells (LPRC)

               เลือดที่ได้รับจากการบริจาคมีส่วนประกอบที่เป็นของเหลวคือ พลาสมา หรือน้ำเลือด (Plasma) และส่วนที่เป็นเม็ดเลือด ที่ประกอบไปด้วย เม็ดเลือดแดง (red blood cell, RBC), เม็ดเลือดขาว (white blood cell, WBC) และเกร็ดเลือด (platelet) เมื่อทำการปั่นแยกออกเป็นส่วน ได้แก่ packed red cell (PRC) และ concentrated platelet พบว่ายังคงมีเม็ดเลือดขาวปะปนอยู่จำนวนหนึ่งประมาณ 1-3 x 1010 cell/unit of PRC ซึ่งเม็ดเลือดขาวที่หลงเหลือยู่นั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่างในการให้เลือดผู้ป่วย ได้แก่ ภาวะไข้จากการให้เลือด (Febrile Non-Hemolytic Transfusion Reaction: FNHTR), alloimmunization ต่อ Leukocyte antigen และ HLA, immunomodulation และการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ cytomegalovirus (CMV)

               การลดจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือด จะช่วยลดและป้องกันการเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งตามมาตรฐานของ American Association of Blood Bank (AABB) ที่ถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานสากลได้กำหนดไว้ว่าปริมาณเม็ดเลือดขาวที่น้อยกว่า 1.2 x 109  cell/unit จะช่วยลดอัตราการเกิด Febrile Non-Hemolytic Transfusion Reaction: FNHTR ได้  โดยการใช้เครื่องแยกส่วนประกอบของเลือดอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการเตรียมส่วนประกอบของเลือดที่เรียกว่า Leukocyte Poor Red Cells (LPRC)

                LPRC เป็นผลิตภัณฑ์ส่วนประกอบของเลือดที่เป็นเม็ดเลือดแดงอัดแน่นที่ถูกแยกเม็ดเลือดขาวออกไปด้วยวิธีการปั่นและบีบแยกด้วยเครื่องบีบแยกอัตโนมัติ สามารถกำจัดเม็ดเลือดขาวได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 70%   หรือมีจำนวนเม็ดเลือดขาวหลงเหลืออยู่น้อยกว่า 1.2 x 109  cell/unit of PRC  โดยยังคงมีเม็ดเลือดแดงเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 80%  ของจำนวนเดิม LPRC 1 unit มีปริมาตรประมาณ 150 – 200 ซีซี. อายุการใช้งานนาน 42 วัน

                 ขอบคุณข้อมูลจาก งานธนาคารเลือด รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

                                                        @New Lab

          

   

หมายเลขบันทึก: 476883เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2012 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แล้วถ้าผู้ป่วยแพ้เลือดครั้งแรกแล้วมารับเลือดอีกจะให้ LPRC พรือไม่มีทะเบียนคนไข้แพ้เลือดหรือไม่

แหวว

การพิจารณาให้ LPRC ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ครับ แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้เลือดมากๆ (จากการแพ้เม็ดเลือดขาว) ก็คิดว่าน่าจะให้นะครับ

สำหรับทะเบียนผู้ป่วยแพ้เลือด ร.พ. เราน่าจะยังไม่มี แต่คิดว่าตอนนี้สมควรจะมี... ขอบคุณมากครับสำหรับ idea ดีๆ

credit ม.ค.55' คุณภาณุพงษ์ บัวสระ คอลัมน์ สาระแนแชร์เรื่องเล่า 1 คะแนน//HUM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท