Exercise OT and PT


การออกกำลังกาย (Exercise) คือ กิจกรรมทางกายที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อลาย เพื่อให้ร่างกายหรือส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดการเคลื่อนไหว พร้อมกับการได้แรงงาน รวมทั้งมีการทำงานของระบบอื่นๆเพิ่มขึ้น เพื่อ โดยการออกกำลังกายในแต่ละกิจกรรมนั้นอาจใช้กำลังมากน้อยแตกต่างกันไปตามลักษณะของกิจกรรม 

การออกกำลังกายในทางกายภาพบำบัด คือ การเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมีแบบแผนซ้ำๆ เพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) โดยมุ่งเน้นที่การเคลื่อนไหวเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross motor) 
สมรรถภาพทางกายประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
                1. ความทานทานของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ (Cardiopulmonary endurance or aerobic capacity)
                2. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular strength)
                3. ความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscular endurance)
                4. ความยืดหยุ่นของร่างกาย (Flexibility)
                5. สัดส่วนไขมันในร่างกาย (Body composition) 

 

การออกกำลังกายในทางกิจกรรมบำบัด คือ กิจกรรม (Occupation) หนึ่งในการดำเนินชีวิตโดยเป็นเป็นงานอดิเรก (Leisure) อย่างหนึ่ง ซึ่งหากเป็นนักกีฬาอาจมองเป็นงาน (work) ได้เช่นกัน โดยอาจมีหรือไม่มีคุณค่าขึ้นอยู่กับผู้รับบริการแต่ละราย ซึ่งในทางกิจกรรมบำบัดจะมุ่งเน้นที่การทำงาน (Function) ของส่วนต่างๆในร่างกาย และเพื่อให้เกิดทักษะเป็นหลัก แต่อาจนำมาใช้ในวัตถุประสงค์อื่นๆเช่น เพื่อคลายเครียด หรือเข้าสังคม ได้เช่นกัน

 

Occupational therapy

Physical therapy

เป้าหมาย

ความสามารถในการทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิต , ทักษะ, สุขภาวะ,คุณภาพชีวิตที่ดี

การเคลื่อนไหว,
เพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพทางกาย

จากการรวบรวมความคิดของสมาชิกในกลุ่มทั้ง 5 คน คิดว่า กายภาพบำบัดน่าจะมอง exercise  ในเชิง therapeutic exercise ส่วนกิจกรรมบำบัดน่าจะมอง exercise ในเชิง occupation คือ การออกกำลังกาย โดยใช้กิจกรรมที่มีคุณค่า และมีเป้าหมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่สำคัญของมนุษย์  โดยขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ความชอบ ความสนใจของผู้รับบริการด้วย  เช่น การออกกำลังเพื่อคลายเครียด เพื่อฝึกฝนทักษะ เพื่อเข้าสังคม  ฯลฯ

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้การออกกำลังกาย (Exercise) ในทาง Occupational therapy แตกต่างจาก Physical therapy คือ การนำ Model ต่างๆทาง Occupational therapy เช่น Model of Human Occupation มาใช้ร่วมในการเลือกและออกแบบการออกกำลังกายให้แก่ผู้รับบริการเพื่อให้สามารถมองผู้รับบริการแบบองค์รวมคลอบคลุมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

 

สมาชิก

นศ.กบ.เลขที่ 16-20

 

References :

  1. udru.ac.th. Udon thani: Udon thani rajabhat university, การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและนันทนาการ. c2010 – [updated 2012 Jan 16; cited 2012 Jan 16]. Available from: http://www2.udru.ac.th/~sci102/Data/Unit3/Unit3-2.htm
  2. sensory-processing-disorder.com. The sensory processing disorder resource center. What is occupational therapy anyways?. [cited 2012 Jan 16]. Available from: http://www.sensory-processing-disorder.com/what-is-occupational-therapy.html
  3. จตุพร วงศ์สาธิตกุล. การให้โปรแกรมการออกกำลังกาย. ใน : การบำบัดด้วยการออกกำลังกาย I. นครปฐม : 2553 : หน้า 2
  4. Buzzle.com. Intelligent life on the web. occupational therapy vs physical therapy. c2011-2012 [ cited 2012 Jan 16]. Availble from: http://www.buzzle.com/articles/occupational-therapy-vs-physical-therapy.html
  5. Tussing M. occupational therapy exercises for fine motor control. Demand media, Inc. c1999-2012 [cited 2012 Jan. 16]. Available from: http://www.ehow.com/list_6401132_occupational-exercises-fine-motor-control.html
หมายเลขบันทึก: 476771เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณชลที่มาแบ่งปันความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท