"ทำแผนพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสูงเนิน" ปี 2555


วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมศรีจนาศะ ปีนี้ทำแผน.. ไม่ได้ออกนอกสถานที่ แต่คงไม่มีใครเสียดาย เพราะนอกสถานที่.. ที่ว่าก็แค่ฝั่งศูนย์ฯหน้ารพ.สูงเนินนี่เอง (ไม่รู้จะบอกทำไม เนาะ)

เริ่มเปิดงานโดยท่าน ดร.พญ.นิลเนตร วีระสมบัติ ผู้อำนวยการรพ.คนเก่งของเราเอง ท่านเริ่มต้นอย่างไร kunrapee ไม่ทราบ แต่พอมาถึงได้ยินท่านให้ความรู้เรื่องของ SBAR + Early Warning Sign และบอก Road Map ปี 2555 ให้พวกเราทราบว่าช่วงไหน ต้องทำอะไร

คิวต่อไปเป็นพี่ยา'จรรยาวัฒน์ ทับจันทร์ เปิด VDO Clip  รายการคนค้นคนตอน "พยาบาลไร้หมวก และทีมไม้เลื้อย" http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=IMw-rDYpkIc#!
พอดูเสร็จ.. ให้ช่วยกันคิดและช่วยกันตอบ คำถาม ๓ ข้อ
๑. คุณรู้สึกอย่างไร ที่ได้ดู VDO Clip ชุดนี้
๒. โรงพยาบาลของเรามีสถานการณ์แบบนี้หรือไม่
๓. เราจะเพิ่มคุณภาพบริการด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ ให้เกินความคาดหวังอย่างอย่างพยาบาลไร้หมวก และทีมไม้เลื้อย คิดว่าต้องทำอย่างไร
ไม่เล่าหรอกค่ะ ว่าพวกเราตอบกันว่าอย่างไรบ้าง.. (เป็นความลับทางราชการ ไม่เอา ไม่พูด)



แต่จะเล่าประเด็นสุดท้าย ที่คุณหมอแดงขึ้นมาพูด "พี่ยา.. ชอบเอาเรื่องดีๆมาให้ชม ให้คิด ตั้งคำถาม แล้วผ่านไปอย่างรวดเร็ว จริงๆแล้ว ควรตั้งเป็นวาระแห่งรพ.สูงเนิน นำสิ่งดีๆมาให้ดู การทำงานด้วยหัวใจ ทำด้วยความเข้าใจ ไม่ได้ทำตามหน้าที่ (ผู้พิการ เราช่วยให้เค้าช่วยเหลือตัวเองได้ เป้นการช่วยลดภาระของครอบครัวได้มาก)

กระตุ้นให้คิดบ่อยๆ จะได้มีแรงใจอยากทำ คล้ายกับการปลูกต้นไม้ เราต้องค่อยๆรดน้ำพรวนดินทุกวัน ต้นกล้าก็จะเติบโตสูงใหญ่ขึ้น"
เป็นประเด็นเริ่มต้นที่ดีมากค่ะ สำหรับวันนี้


แล้วพี่แป้น'เบญจมา ก็แบ่งกลุ่มออกเป็น ๗ กลุ่ม (ซึ่งทีมงานคิดไว้แล้วว่าจะให้คุยประเด็นอะไรบ้าง)

kunrapee ได้อยู่กลุ่ม ๑ "การใช้ SBAR เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย" เราเลือกประธานกลุ่ม เลขาฯ คน present  (หลายกลุ่มแย่งกันเป็นและแย่งกันไม่เป็นค่ะ)
เริ่มด้วย.. ช่วยกันคิดปัญหาที่ผ่านมา ได้เยอะมากค่ะ ผู้ป่วยที่ต้องรายงานแพทย์แต่พยาบาลไม่ได้รายงาน, เกรงใจแพทย์ ช่วงเวรดึก รึไม่รู้ว่าต้องรายงาน, รายงานแพทย์ไม่ครอบคลุม ข้อมูลไม่ครบถ้วน, รายงานแล้วแพทย์ไม่ลงมาดูผู้ป่วย (แพทย์บอกว่า ไม่รู้ว่ารายงานทำไม เพื่ออะไร), ขาดการบันทึกข้อมูลที่รายงาน  ส่งผลให้ผู้ป่วยอาการทรุดลง ต้องช่วยชีวิตฉุกเฉิน, เสียชีวิตโดยไม่คาดฝัน หรือส่งต่อโดยไม่ได้วางแผน
แล้วเราก็ตั้วัตถุประสงค์ ต่อเพื่อจะได้มีเป้าเพื่อไปให้ถึง
- เพื่อพัฒนาระบบการรายงานแพทย์ให้มีแนวทางที่ชัดเจนขึ้น (มีการเตรียมความพร้อมก่อนรายงานแพทย์, รูปแบบวิธีการการรายงาน, การบันทึกที่ชัดเจน)
- มีเกณฑ์ทั่วไป, เฉพาะโรคในการรายงานแพทย์ (Early Warning Sign ที่ชัดเจน)
-  ป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาพยาบาล (ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิต, ช่วยฟื้นคืนชีพ, การส่งต่อจากสาเหตุไม่ได้ รายงานแพทย์ตามเกณฑ์)

ถึงเวลาต้องเสริมพลังงานแล้วค่ะ

อาการกลางวันของเราเป็นขนมจีน - ก๋วยเตี๋ยวเป็ด - ส้มตำหอยดอง - ปอเปี๊ยะทอด - ผลไม้คือส้มที่ไม่อร่อยเอาเสียเลย.. เมื่ออิ่มแล้วก็ขึ้นไปช่วยกันคิด กลวิธีที่จะได้ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการต่อ

กลวิธีที่เสนอแนะกันคือ

1. กำหนดให้เป็นนโยบายของโรงพยาบาล ต้องรายงานแพทย์โดยใช้ SBAR ในผู้ป่วยวิกฤติ, กึ่งวิกฤติ, ฉุกเฉินทุกราย (แต่งตั้งคทง.เฉพาะด้วย)

2. กำหนดรูปแบบการรายงาย, การบันทึก จัดทำแผ่นป้ายความหมาย SBAR และรายละเอียดของแต่ละตัวที่ต้องรายงานแพทย์ (เคลือบแจกกันลืม) จัดทำตรายาง Situation... Background… Assessment… Recommendation… แจกทุกหน่วยงาน เพื่อปั๊มที่ใบสั่งยา, Progress Note เมื่อต้องรายงานแพทย์ (สำหรับผู้ป่วยนอก ให้บันทึกในใบสั่งยาหรือใน HosXp ไม่ต้องปั๊มตรายาง)

3. กำหนด Early Warning Sign ที่ต้องเฝ้าระวัง และรายงานแพทย์ในภาพรวมของรพ.(เรารวบรวมมาจากหนังสือ Safety:SIMPLE เล่มสีแดง หน้า 83 และจากโรงพยาบาลอื่นๆ มาบูรณาการเป็นของเรา)

4. Early Warning Sign ของผู้ป่วยทั่วไป (เด็กทารก, ผู้ใหญ่) โดยจัดทำแผ่นป้าย 1 แผ่นเก็บไว้ที่หน่วยงาน หยิบจับง่ายสะดวกใช้ / Specific Early Warning Sign ผู้ป่วยเฉพาะโรค

5. จัดอบรมเรื่องแนวทางการรายงานแพทย์โดยใช้ SBAR (ทำเป็นมาตรการ)

6. ประเมินจากการบันทึก หัวหน้างานตรวจดู OPD card, Chart / จากการทบทวน Trigger Tools รายเดือน /  จากการสอบถามแพทย์ผู้รับการรายงาน

7. บูรณาการ การใช้ SBAR เพื่อการรับ - ส่งเวร / การติดตามนิเทศงาน โดยหัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล, ทีมนำทางคลินิก


 

ตัวชี้วัดความสำเร็จก็ล้อไปกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ในส่วนของกลุ่มอื่นๆคงจะไม่เล่ารายละเอียดนะคะ

- กลุ่ม Pain Management ได้แนวทางการประเมินระดับความปวดที่เป็นรูปธรรม (ใช้แบบประเมิน Numberic Pain Score และ CHEOP สำหรับประเมินเด็ก), การจัดการกับความเจ็บปวดด้วยวฃยาฉีด ยารับประทาน สมุนไพร การนวด ประคบ และกิจกรรมพยาบาลอื่นๆ

- กลุ่มสร้างสุขภาพ ในเจ้าหน้าที่รพ. ได้โครงการลดน้ำหนักถวายในหลวง โดยคิดน้ำหนักรวมเฉลี่ยของแต่ละหน่วยงาน จัดประกวด เพื่อจะคอยกระตุ้นกันเอง

- กลุ่ม Happy Work Place ได้หลายโครงการเพื่อความสุขในการทำงาน (Happy 8 ซึ่งประกอบไปด้วย Happy Heart/Body/Relax/Brain/Sosl/Money/Family/Society) โครงการตลาดนัดมือสอง, โครงการปันน้ำใจ โดยหยอดกระปุกครั้ง ๑ บาท เมื่อมาทำงานสาย ทำผิดกฎระเบียบ แล้วนำเงินที่ได้ไปทำบุญ, โครงการครอบครัวสูงเนิน โดยจัด Meeting/Work shop ให้คนภายในครอบครัวของแต่ละคน มาทำกิจกรรมร่วมกัน

- กลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้รับบริการกลุ่มเสี่ยง (ยังไม่ป่วย) ได้โครงการเรื่องลดละเลิกบุหรี่-เหล้า, โรคอ้วน (วิธีฝังเข็ม), เบาหวานที่ชาเท้า เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ตัดรองเท้าเบาหวาน

- กลุ่ม Outcome Mapping (ภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง) ต่อยอด COPD/DM, เริ่มกลุ่มผู้ป่วยจินเวช

- กลุ่มสร้างสิ่งแวดล้อม ได้โครงการเกี่ยวกับลดโลกร้อน Green + Clean (ทำ EM, การแลกซากเมื่อจะเบิกอุปกรณ์สิ้นเปลืองทั้งหลาย, เรื่อง 5 ส) อนุรักษ์พลังงาน (ตรวจสอบเครื่องเก่า โละทิ้งเพราะเปลืองไฟ)

ทำแผนปีนี้.. มีเครียดอยู่ ๒ กลุ่มค่ะ (SBAR+Pain Management) นอกนั้นไม่เครียด ทำกลุ่มเสียงดัง เฮฮากันไป ยิ่งตอน Present ยิ่งมันส์ ยิ่งสนุก ท่านผู้อำนวยการและพี่แป้น.. คงคิดหนักอยู่เหมือนกัน (เอ๊ะ! สนุกแล้วทำไมต้องเครียด) เพราะที่ผ่านมาโครงการคร่อมสายงานจากผลการทำแผน มักบรรลุผลสำเร็จไม่ถึง 80% แต่ปีนี้คาดหวัง 100% เชียวนะ

ก่อนกลับได้ฝากให้เลขาฯทุกกลุ่มรวบรวมข้อมูลที่ได้วันนี้

เขียนเป็นแผน ๗ ช่องส่งภายในวันที่ ๑๐ ก.พ.๕๕

และเริ่มดำเนินการได้ทันที

หมายเลขบันทึก: 476769เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทำแผนรพ.เสร็จก็ทำแผนเราต่อ เริ่มเดือน กพ. ลำปาง เดือนมีค.ยังว่าง เมย.กระบี่ พค.บาหลี แผนครึ่งปีก่อนนะ

ขมักเขม้นกันใหญ่เชียว..

 

ผ่านมาแล้วผ่านเลยไป

แผนคร่อมสายงานก็เริ่มๆกันไป

ส่วนแผนหน่วยงาน อิอิ เพิ่งจะเริ่มเมื่อเดือนที่หก ฮ่าฮ่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท