ผชช.ว.ตาก (๕๗): รางวัลคุณภาพการบริหารระบบสาธารณสุขระดับอำเภอ


เป็นรางวัลที่ใช้แนวคิดเชิงระบบในการพัฒนาหลักเกณฑ์การประเมิน

ผมมีความตั้งใจที่จะพัฒนา "รางวัลคุณภาพการบริหารระบบสาธารณสุขระดับอำเภอ" เพื่อนำมาใช้ในการประเมินให้รางวัลอำเภอต่างๆโดยให้คะแนนสะสมจากการออกนิเทศงานของทีม สสจ.ตาก ปีละ ๒ ครั้ง แต่ยังไม่ได้เริ่มอย่างเป็นรูปธรรมนัก ปีที่ผ่านมาใช้การประเมินง่ายๆออกเป็น ๓ ส่วนคือ ปัจจัยนำเข้า๓๐% กระบวนการ ๓๐% และผลลัพธ์ ๔๐% เป็นการประเมินโดยไม่ได้ใช้การประกวด แต่ประเมินทุกหน่วยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ส่วนเกณฑ์การประเมินแบบสมบูรณ์ ผมได้กำหนดไว้ ดังนี้

รางวัลคุณภาพการบริหารระบบสาธารณสุขระดับอำเภอ

The District Health System Management Quality Award (DHSM-QA)

องค์ประกอบของเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารระบบสาธารณสุขระดับอำเภอ

1.   ภาวะการนำ การจัดองค์กรและเป้าหมายร่วมของระบบสาธารณสุขระดับอำเภอ (Leadership, Organizing and Shared Vision)

1.1.    ภาวะการนำ

1.1.1. ผู้นำ

1.1.2. รูปแบบการนำ

1.2.    การจัดองค์กร

1.2.1. องค์กรแนวดิ่ง

1.2.2. องค์กรแนวราบ

1.3.    เป้าหมายร่วม

1.3.1. วิสัยทัศน์

1.3.2. พันธกิจ

1.3.3. จุดมุ่งหมาย

1.4.    ธรรมาภิบาล

1.4.1. องค์กรธรรมาภิบาล

1.4.2. แนวทางหรือรูปแบบการดำเนินการ

2.      การวางแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Strategic and Action Planning)

2.1.    แผนยุทธศาสตร์ (Strategic planning)

2.1.1. กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์

2.1.2. แผนยุทธศาสตร์

2.2.    แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (5 years Service planning)

2.2.1. แผนพัฒนาโครงสร้างและรูปแบบบริการ

2.2.1.1.              ระดับปฐมภูมิ

2.2.1.2.              ระดับทุติยภูมิ

2.2.1.3.              การเชื่อมต่อระบบสาธารณสุขอำเภอกับระบบบริการทุติยภูมิ

2.2.2. แผนสนับสนุนทรัพยากร

2.2.2.1.              แผนด้านครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

2.2.2.2.              แผนด้านทรัพยากรบุคคล

2.2.3. แผนพัฒนาคุณภาพ

2.2.3.1.              แผนพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ

2.2.3.2.              แผนพัฒนาคุณภาพทุติยภูมิ

2.2.3.3.              แผนพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ

2.3.    แผนปฏิบัติการ (Action planning)

3.      การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ประชาชน ชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเครือข่าย (Clients, Population, Community, Partnership and Network Focus)

3.1.    การกำหนดกลุ่มผู้มารับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

3.2.    การสำรวจความต้องการ/การรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนและชุมชน

3.3.    การมีส่วนร่วมของชุมชน

3.4.    การประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือหุ้นส่วน

3.5.    การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย

4.      ระบบนิเทศ ติดตาม กำกับ สนับสนุน ประเมินผล ระบบสารสนเทศและการจัดการความรู้ (Supervision, Monitoring, Supporting, Evaluation, Information system and Knowledge Management)

4.1.    ระบบนิเทศ ติดตามกำกับ

4.2.    ระบบสนับสนุน

4.3.    ระบบประเมินผล

4.4.    ระบบสารสนเทศ

4.5.    การจัดการความรู้

5.      การจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ (Human Resources for Health Management)

5.1.    ระบบสรรหา (Procurement system)

5.2.    ระบบพัฒนา (Development system)

5.3.    ระบบธำรงรักษา (Maintenance system)

5.4.    ระบบการใช้ประโยชน์ (Utilization system)

6.      การจัดการกระบวนการในระบบสาธารณสุขระดับอำเภอ (Process Management)

6.1.    กระบวนการหลัก (Core process)

6.1.1. การส่งเสริมสุขภาพ

6.1.2. การควบคุมป้องกันโรค

6.1.3. การรักษาพยาบาล

6.1.4. การฟื้นฟูสุขภาพ

6.1.5. การคุ้มครองผู้บริโภค

6.1.6. อนามัยสิ่งแวดล้อม

6.2.    กระบวนการสนับสนุน (Supportive process)

6.2.1. การบริหารงบประมาณ

6.2.2. การบริหารโครงสร้างกายภาพ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

6.2.3. การบริหารความเสี่ยง

7.      ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ (Health outcomes/status)

7.1.    ประชาชน (Healthy population)

7.2.    บุคลากร (Healthy personnel)

7.3.    หน่วยงาน (Healthy organization)

7.4.    ชุมชน (Healthy community)

 

หมายเลขบันทึก: 476765เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท