ผชช.ว.ตาก (๕๐): หลักสูตรการฝึกอบรมแกนนำชาวบ้านตามโครงการพัฒนาราษฎรชาวไทยภูเขา จังหวัดตาก


เป็นการเรียนรู้ในการพัฒนาบุคคลให้มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในชุมชนได้อย่างมีความสุข ใช้แนวคิด INNE ของ UNDP

หลักสูตรการฝึกอบรมแกนนำชาวบ้านตามโครงการพัฒนาราษฎรชาวไทยภูเขา จังหวัดตาก มีเนื้อหาประกอบด้วย ๖ หน่วยการเรียนรู้ (Module) คือ

M1: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
๑. วัตถุประสงค์ เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดแรงบันดาลใจ (Aspiration) และได้รับการเสริมพลัง (Empowerment) จนทำให้เกิดความกล้า มั่นใจ มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง ครอบครัว ชุมชน โดยให้เกิดการเติบโตจากภายในหรือการระเบิดจากภายใน 
๒. ประเด็นการเรียนรู้ ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง จิตวิทยาการจูงใจคนความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงบวก การวิเคราะห์ตนเอง การมองเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
๓. รูปแบบการฝึกอบรม กระบวนการกลุ่มและกิจกรรมAIC
๔. ผู้รับผิดชอบ ทีมวิทยากรกระบวนการ (อาจารย์เสนอ ทองคำ)
๕. ระยะเวลาฝึกอบรม  3 ชั่วโมง (กลุ่มสัมพันธ์อีก 4 ชั่วโมง)
M2: การพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น
๑. วัตถุประสงค์ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาของตนเอง ครอบครัว หมู่บ้านและสิ่งแวดล้อม และหาแนวทางแก้ไขพัฒนาได้อย่างเหมาะสมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นกับภูมิปัญญาสากลและสร้างเครือข่ายการทำงานได้
๒. ประเด็นการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาครัวเรือน การวิเคราะห์ชุมชน เครื่องมือชุมชน บัญชีครัวเรือน แผนที่ชีวิต การสร้างเครือข่ายและการทำงานเป็นทีม แผนที่ยุทธศาสตร์ชุมชน
๓. รูปแบบการฝึกอบรม กระบวนการกลุ่มและกิจกรรมAIC
๔. ผู้รับผิดชอบ ทีมวิทยากรกระบวนการ (อาจารย์เสนอ ทองคำ)
๕. ระยะเวลาฝึกอบรม 3 ชั่วโมง (กลุ่มสัมพันธ์อีก 3 ชั่วโมง)
M3: การพัฒนาสุขภาพในชุมชนหรือด้านสาธารณสุข
๑. วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีความตระหนักรู้ในปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน มีความเข้าใจในปัญหาสุขภาพของตนเองและคนในชุมชนและสามารถเชื่อมโยงปัญหาสุขภาพกับชีวิตความเป็นอยู่ การศึกษา อาชีพและสิ่งแวดล้อม
๒. ประเด็นการเรียนรู้ ความเชื่อมโยงของระบบสุขภาพชุมชนกับมิติด้านอื่นๆ การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพในหมู่บ้านและแนวทางแก้ไข
๓. รูปแบบการฝึกอบรม การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติผ่านฐานการเรียนรู้
๔. ผู้รับผิดชอบ ทีมงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก (คุณสมร)
๕. ระยะเวลาการฝึกอบรม 4 ชั่วโมง (ร่วมกับM5ของ ทสจ.ตาก)
M4: การพัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน
๑. วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีทักษะในการทำอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง ครอบครัวและท้องถิ่น ให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง
๒. ประเด็นการเรียนรู้ วิธีการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมตามความเหมาะสมกับตนเอง ครอบครัวและชุมชน
๓. รูปแบบการฝึกอบรม การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติผ่านฐานการเรียนรู้
๔. ผู้รับผิดชอบ เกษตร ปศุสัตว์ ประมง ศูนย์ส่งเสริมฯพื้นที่สูง พัฒนาชุมชน (คุณสมนึก)
๕. ระยะเวลาฝึกอบรม 4 ชั่วโมง
M5: การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑. วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีความตระหนักในคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีทักษะในการอนุรักษ์และประกอบอาชีพหรือดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒. ประเด็นการเรียนรู้ การอนุรักษ์ การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓. รูปแบบการฝึกอบรม การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติผ่านฐานการเรียนรู้
๔. ผู้รับผิดชอบ ทสจ.ตาก (คุณชยาภรณ์)
๕. ระยะเวลาฝึกอบรม 4 ชั่วโมง (ร่วมกับM3 สสจ.ตาก)
M6: การบูรณาการสู่การปฏิบัติในหมู่บ้าน
๑. วัตถุประสงค์ เพื่อให้แกนนำชาวบ้านที่เข้ารับการอบรมได้นำเอาสิ่งที่ได้ไปสู่การปฏิบัติจริงในชีวิตของตนเองและในหมู่บ้านที่ตนเองอาศัยอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมชุมชนที่เข้ามาอบรมด้วยกัน
๒. ประเด็นการเรียนรู้ การจัดทำโครงการพัฒนาอาชีพส่วนบุคคลตามความสนใจและความสมัครใจ และการจัดทำโครงการกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขหรือสิ่งแวดล้อมของชุมชนตามความสนใจและความสมัครใจของกลุ่มแกนนำชาวบ้านที่มาจากหมู่บ้านเดียวกัน ติดตามประเมินผลภายใน 3-6 เดือน
๓. รูปแบบการฝึกอบรม กระบวนการกลุ่มและกิจกรรมAIC
๔. ผู้รับผิดชอบ วิทยากรกระบวนการ (อาจารย์เสนอ ทองคำ)และพี่เลี้ยงแต่ละอำเภอ ตำบล หมู่บ้านที่จังหวัดแต่งตั้งร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๕. ระยะเวลาฝึกอบรม 3 ชั่วโมง (สรุปบทเรียนอีก 1 ชั่วโมง)
หมายเลขบันทึก: 476724เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท