การเเขียนบทความสาธารณะ


คิดยากกว่าลงมือทำ คิดจนกระทั่งไม่ได้ทำ

   ได้รู้จักบทความสาธารณะในระบบอินเตอร์เนตหลายสื่อ และก็ชอบที่จะเข้าไปอ่าน และแสดงความคิดเห็นในสื่อบทความที่ท่านผู้มีความรู้ได้เขียนไว้ แล้วก็รู้สึกชื่นชมท่านเหล่านั้นที่สามารถถ่ายทอดความคิดของท่านออกมาเป็นตัวหนังสือที่น่าอ่านได้  และโดยสวนตัวแล้วก็ชอบ เรื่องเล่าจากตัวอักษรมาก เพราะได้รับการถ่ายทอดมาจากคนใกล้ชิดคือพ่อ พ่อเป็นครูประชาบาล ท่านเป็นหนอนหนังสือ ชอบอ่าน และชอบเล่าให้ลูกๆฟัง แล้วก็แนะนำหนังสือดีๆ สนุกๆให้อ่าน  นอกจากท่านชอบอ่านหนังสือแล้ว ท่านยังชอบเขียนหนังสือด้วย ท่านจะจดไว้ในสมุดเล่มละบาท ตัวเราชอบไปเปิดอ่าน ก็จะมีเคล็ดวิชาต่างๆ เช่น การเพาะพันธ์ต้นไม้ ตำหรับยาแก้กินผิด หรือแม้แต่คาถาป้องกันโรคห่า อ่านแล้วสนุกดี 

   แต่ได้รู้จักแบบอย่างในการเขียนบทความในสื่ออินเตอร์เนทที่เป็นรูปแบบคนแรก คือ ท่านอาจารย์บุญชัย ธีระกาญจน์ ซึงท่านเป็นนายแพทย์สสจ.หนองบัวลำภูในขณะนั้น ท่านแนะนำการใช้เทคโนโลยี ไอที ให้เกิดประโยชน์ ได้รู้จักการใช้ 4 share, dropbox และได้ติดตาม blog ของท่าน บทความของท่านน่าอ่านมาก ทั้งสีสันที่สดสวย เนื้อหาน่าสนใจ หักมุมลงมุกตลกสนุกสนาน อ่านทุกเรื่อง ติดตามทุกตอน เสพติดเหมือนการอ่านนวนิยาย เมื่ออ่านมานานก็มีความรู้สึกอยากเขียน เพื่อให้มีคนติดตามอ่านของเราบ้าง 

    ก็เริ่มจากการสร้าง blog ของตนเอง ลงโปรไฟล์เรียบร้อย นึกเรื่องที่จะเขียน จะเขียนเรื่องอะไรดี เรื่องนี้ก็ไม่น่าสนใจ เรื่องนั้นก็ ไม่สนุก เรื่องนี้จะเกิดประโยชน์กันคนอ่านมั้ย ลองใช้ความกล้าเรียบเรียงเป็นเนื้อเรื่องในกระดาษ พออ่านทบทวนก็รู้สึกว่า ไม่น่าอ่าน สาระน้อย พาดพิงคนอื่นหรือเปล่า อ่านแล้วเขาจะคิดอย่างไร .... สุดท้ายไม่ได้ลงบทความ จนถึงทุกวันนี้ ก็เลยได้คิดว่า ถ้ามัวแต่คิด แล้วไม่ลงมือทำก็คงจะไม่เกิดผล จึงต้องลงมือทำ ณ วันนี้

   

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 476692เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท