การจัดการระบบสุขภาพชุมชน


การพัฒนาระบบสุขภาพ

Topic:         1. Civil society organization (CSO) and Health

                   2. Community participation in health development

                   3. Human resource management

                   4. Financial management in health care         

วันที่ 21-22 มกราคม 2555

ผู้บรรยาย : ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

                   การพัฒนาระบบสุขภาพ องค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ หรือภาคธุรกิจ จะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการเป็นแปลงหรือการพัฒนาระบบสุขภาพ  เช่น การรวมตัวกันของกลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV เพื่อเรียกร้องสิทธ์การเข้าถึงยาต้านไวรัส จนถูกนำมากำหนดในชุมสิทธิประโยชน์การรักษา  การกลุ่มผู้ป่วยโรคเดียวกัน เช่นกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อโรคยาศาล  วัดคำประมง  จนเกิดเป็นจิตอาสา  และนำมาประยุกตืใช้ในกับกลุ่มผู้ป่วยโรคต่างๆทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน

                        บางสิ่งที่สังคมรับรู้ว่า เป็นสิ่งให้โทษกับสุขภาพ และสังคม  ในอีกมุมนึงกลับเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล  เช่น  กัญชา สังคมรับรู้ว่าเป็นยาเสพติดให้โทษ  แต่มีงานวิจัยว่าแท้ที่จริงเมื่อนำมาสกัดเป็นยารักษาโรค สามารถรักษาโรคที่ยาในแผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาให้หายได้ เช่น  มะเร็งผิวหนัง  เบาหวาน  ไมเกรน  หอบหืด เป็นต้น  แต่เนื่องจากถ้ามีการนำมาใช้ อาจทำให้บางกลุ่มเสียผลประโยชน์ จึงมีการสร้างกระแสผ่านสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ ให้สังคมเห็นว่ากัญชาเป็นสิ่งไม่ดี ผิดกฎหมาย  ในสังคมจึงยังไม่ได้นำมาใช้ในการรักษาโรค  โดยเฉพาะในประเทศไทย

                   การพัฒนาระบบสุขภาพยังมีเรื่องของการบริหารจัดการด้านการเงิน  และการบริหารทรัพยากรบุคคล เข้ามาเกี่ยวข้อง  หน่วยบริการจะต้องรู้ทันสถานการณ์  รู้องค์ประกอบที่สำคัญ ยึดวิสัยทัศน์พันธักิจ กลยุทธ์ นโยบาย  คิดให้ครบรอบด้าน  รู้วิธีวัดสถานะ  และการบริหารความเสี่ยง  เช่น กรณีผ่าตัดตาต้อกระจก ที่ รพศ.ขอนแก่น  แล้วเกิดการติดเชื้อจนตาบอด  นอกจากจะมีการจ่ายค่าชดเชย ตาม ม.41 ให้กับผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแล้ว  โรงพยาบาลก็ยอมที่จะใช้เงินของโรงพยาบาลเองสมทบจ่ายเพิ่มให้  รวมทั้งจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ป่วยสิทธิอื่นด้วย  และมีการไกล่เกลี่ยโดยผู้อำนวยการเอง  จนกระทั่งไกล่เกลี่ยสำเร็จ ถึงแม้ว่าจะเป็นกระแสมาแรงในสังคม ในที่สุดก็จัดการได้ไม่เกิดการฟ้องร้อง                  การบริหารทรัพยากรบุคคล เน้นการมองหาจุดแข็งในตัวบุคคล เพื่อนำมาพัฒนา ซึ่งบุคคลแต่ละคนมีศักยภาพที่แตกต่างกัน  การให้แต่ละบุคคลได้ดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ จะทำให้ได้วิธีการที่ออกไปนอกกรอบเดิมๆ แบบมีเหตุและผล และได้ลงมือทำเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป

                   ปัจจุบันหน่วยบริการมองว่าเรื่องของการบันทึกข้อมูลเป็นภาระ  แต่ในขณะเดียวกันหน่วยงานผู้จ่ายเงิน มองว่าข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นที่จะนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ  รวมทั้งการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ  เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มากำหนดเป็นนโยบายต่อไป  แต่อาจจะยังมีช่องว่างเรื่องของการคืนข้อมูลให้กับหน่วยบริการหรือ การวิเคราะห์ข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่ เป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนาและหาทางออกร่วมกันต่อไป                          

สิ่งที่อยากจะทำ

  1. การคืนข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบให้กับพื้นที่  เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ต่อไป
  2. สนับสนุนการสร้างเครือข่ายของภาคประชาชนให้เข้มแข็ง

เรื่องราวดีๆที่ได้ไปพบเห็น

  1. การดำเนินงานศูนย์ดำรงชีวิติสระของคนพิการ  คนพิการที่สามารถพึงตนเองได้ ในจังหวัดรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นชมรม  สมาคม  และติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มผู้พิการด้วยกันเองทั้งรายเดิมและรายใหม่  จากการเยี่ยมบ้านพบว่า  ผู้พิการรายใหม่หลายรายที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาล ยังรับกับสภาพความพิการของตัวเองไม่ได้  หลายรายนอนอยู่เฉยๆโดยไม่อยากทำอะไร จนเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมา  คนพิการกลุ่มนี้จึงประสานกับ รพ.หนองบัวลำภู  เพื่อขอเข้าไปจัดกระบวนการให้คำปรึกษากับผู้พิการรายใหม่ในโรงพยาบาลก่อนที่จะกลับบ้าน ด้วยความเชื่อว่า กลุ่มบุคคลที่มีความบกพร่องเหมือนกันจะเข้าใจกันได้มากกว่าบุคคลอื่น ซึ่งโรงพยาบาลก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ทำให้คนพิการรายใหม่ยอมลุกขึ้นมาสู้และกลับมาเข้ามาใช้ชีวิตในสังคมได้
  2. การสำรวจความพิการในชุมชนโดยใช้รหัส ICF (International Classification of Functioning) ของ จ.หนองบัวลำภู ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนฟื้นฟูที่จำเป็นต่อสุขภาพ จ.หนองบัวลำภู  ซึ่งข้อมูลที่สำรวจเกิดจากความร่วมมือของหลายหน่วยงานทั้งภายในจังหวัดและหน่วยงานภายนอกจังหวัด   ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ความยากลำบากในการทำกิจกรรมและการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม (activity and participation restrictions) พร้อมสาเหตุหรือสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเข้าสู่สังคม ทั้งนี้สามารถแสดงข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ได้ทั้งระดับภาพรวมทั้งชุมชนหรือจังหวัด และสามารถนำมาวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพในระดับบุคคล และการวางแผนพัฒนาระบบของจังหวัดได้  

 

หมายเลขบันทึก: 476691เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท