mirror neuron system เป็นอย่างไร??


mirror neuron system เป็นการเลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลอื่น ซึ่งในทางการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดนำหลักการของ mirror neuron system มาใช้กับผู้รับบริการเด็ก ผู้ที่มีปัญหาด้านหลอดเลือดสมอง ผู้รับบริการทางจิตเวช เป็นต้น

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า "เซลล์สมองกระจกเงา" หรืออาจเคยได้ยินได้ชื่อของ "mirror neuron system" และคงเคยสงสัยว่าสิ่งนี้คืออะไร กระจกที่สะท้อนเงาของตัวเองหรือ??

คำว่า "mirror neuron system" เป็นการเรียนรู้แบบลอกเลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญสุดในเด็กที่มีพัฒนาการทางด้านภาษาและการสื่อสารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ โดยเด็กจะเรียนรู้จากพ่อแม่เป็นส่วนใหญ่ ทั้งในด้านของการับรู้และแสดงออกทางอารมณ์ การสื่อสารกับบุคคลรอบข้าง และพฤติกรรมต่างๆ จะสังเกตได้จากเด็กเล็ก เช่น หากแม่ยิ้ม เด็กจะรับรู้และยิ้มตาม หากแม่ทำหน้าบึ้งตึง เด็กก็จะไม่ยิ้มและอาจทำหน้าบึ้งตามแม่ เป็นต้น ซึ่งเมื่อได้รับข้อมูลจากภาพที่เห็นหรือความรู้สึกที่บุคคลแสดงออกมา เด็กจะเก็บรวบรวม บันทึก และวิเคราะห์ประมวลผลเองในสมอง จึงแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาโดย mirror neuron จะเจริญเติบโตเต็มที่ตอนอายุ 7 ขวบ เด็กจะสามารถเข้าใจอารมณ์ พฤติกรรม และการสื่อสารของบุคคลอื่น รวมถึงแสดงออกมาอย่างมีความหมาย 

mirror neuron  ถูกค้นพบโดย Dr.Vittorio Gallese, Dr.Leonardo Fogassi และ Dr.Giacomo Rizzolatti เมื่อประมาณ 14 ปีที่แล้ว หรือในปี 1998  ซึ่งพวกเขาได้ทำการศึกษาการตอบสนองของเซลล์ประสาทในสมองของลิงบริเวณ interior frontal  cortex ใน primay motor cortex โดยพบว่า เมื่อนักวิจัยหยิบอาหารใส่ในถาดอาหารของลิง ลิงก็จะหยิบอาหารใส่ถาดของนักวิจัยด้วยเช่นกัน

ซึ่่งในวิชาชีพกิจกรรมบำบัดก็นำหลักการของ mirror neuron มาใช้ในการบำบัดฟื้นฟูผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือในเด็กออทิสติก เช่น

- ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก จะใช้เทคนิค mirror therapy ในการให้ผู้ป่วยนำแขนข้างที่มีพยาธิสภาพใส่ไว้ในกล่องหรือเก็บไว้ด้านหลังไม่ให้มองเห็น และนำแขนข้างที่ดีมาฝึกทำกิจกรรมต่างๆ โดยมีกระจกเงาเป็นตัวสะท้อนว่าแขนทั้งสองข้างทำงาน เพื่อหลอกการทำงานของสมองว่าแขนข้างที่มีพยาธิสภาพอยู่นั้นสามารถที่จะทำงานได้ เพื่อที่สมองซึ่งเป็นตัวสั่งการทำงานต่างๆของร่างกาย สั่งให้แขนข้างที่มีพยาธิสภาพเกิดการเคลื่อนไหว และฟื้นตัวกลับมาทำงานได้อีกครั้ง

- ในเด็กออทิสติก เซลล์กระจกเงาในสมองจะบกพร่อง ทำให้เด็กมีปัญหาในการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ และไม่สามารถเข้าใจอารมณ์หรือความรู้สึกของคนรอบข้าง ส่งผลให้มีความบกพร่องทางด้านการเข้าสังคม โดยจะจัดกิจกรรมให้เด็กนั่งหน้ากระจก และให้เด็กมองกระจกในระหว่างที่ทำกิจกรรมเพื่อเรียนรู้เข้าไปในสมอง ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดอาจช่วยชี้แนะด้วยวิธีการต่างๆ

เอกสารอ้างอิง
Pink brain. ห้องสมุด E-LIB: mirror neuron เลียนแบบเพื่อเรียนรู้, [update 25 Aug 2007]. Available from: http://www.elib-online.com/doctors50/child_brain005.html

Bure V. mirror neurons, Available from : http://www.sunriseguidance.com/mirror_neurons.htm

Sience dialy. mirror, mirror in the brain: mirror neurons, self-understanding and autism research, [update 6 Nov 2007]. Available from : http://www.sciencedaily.com/releases/2007/11/071106123725.htm

 

 

หมายเลขบันทึก: 476635เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2012 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 07:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท