"โมสาร์ท เอฟเฟ็กต์" เรื่องจริงหรือแค่อิงวิจัย


"โมสาร์ท เอฟเฟ็ก" ส่งผลต่อการพัฒนาสมองของเด็กหรือไม่ แล้วการฟังเพลงของโมสาร์ทตั้งแต่อยู่ในครรภ์จะทำให้ลูกเกิดมาเป็นเด้กฉลาดหรือเปล่า

"โมสาร์ท เอฟเฟ็ก" เรื่องจริงหรือแค่อิงวิจัย

       จุดเริ่มต้นของ "โมสาร์ท เอฟเฟ็ก" เกิดขึ้นเมื่อปี 1993 เมื่อ เราเชอร์ ชอว์ และไค ได้ทำการวิจัยโดยให้นักศึกษามหาวิทยาลัยฟังเพลงของโมสาร์ท 10 นาที แล้วทำแบบทดสอบ ปรากฎว่า นักศึกษาทำแบบทดสอบได้คะแนนดีมาก ซึ่งมีการทำการทดสอบซ้ำในเรื่องอื่นก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน

       ถึงประสิทธิภาพของการฟังเพลงโมสาร์ทเพียงแค่ 10 นาที ยังคงๆเป็นที่น่าสงสัย แต่จากผลการวิจัยนี้ ทำให้เกิดการฟังเพลงของโมสาร์ทดังไปทั่ว ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ อย่างกว้างขวางในเรื่องนี้

       ทำให้เชื่อว่าการให้เด็กฟังเพลงของโมสาร์ทตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองดีกว่าเด็กคนอื่นๆ

       หลายปีถัดมา มีการทำการวิจัยซ้ำในเรื่องนี้ ซึ่งได้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม แสดงความล้มเหลงว่าไม่สามารถเชื่อมโยงไปใช้ได้จริง และยังคงมีการทำการวิจัยซ้ำในเรื่องนี้อีกหลายครั้งก็ยังคงพบความล้มเหลว

       เมื่อเป็นเช่นนี้ คำถามที่ตามมา ว่า แม้เสียงดนตรีอาจไม่สามารถพัฒนาสมองได้อย่างที่คาด แต่น่าจะมีผลอะไรกับเด็็กทารกบ้าง เพราะพบว่าเด็กจำนวนมาก สามารถโยกย้ายไปตามทำนองและจังหวะของเสียงดนตรีได้

       ไม่เป็นที่น่าแปลกใจในเรื่องนี้ เพราะจากงานวิจัยมหาวิทยาลัยบราวน์ พบว่า เด็กที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป สามารถแยกแยะระดับเสียงหรือทำนองได้ เด็กบางคนสามารถร้องให้ได้เมื่อได้ฟังเพลงบรรเลงในงานศพ แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น คือ นักประสาทวิทยามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบว่า การที่้เด็กเล่นดนตรี คือเล่นเป็นเพลง ไม่ใช่แค่ฟังเพลงจะทำให้เซลล์สมองมีการเคลื่อนไหว โดยงานวิจัยทดสอบเด้กอายุ 3-5 ขวบ ที่มีการเรียนเปียโนมาอย่างน้อง 6 เดือน เปรียบเทียบกับเด็กที่เรียนร้องเพลง เรียนคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ได้ผลว่าเด็กกลุ่มแรกมีความสามารถเชิงตรรกะเชิงสัญลักษณ์(เป็นพื้นฐานวิชาวิศวกรรมและคณิตศาสตร์) มากกว่าเด็กกลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังพบว่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อนำไปใช้ในเด้กโต พบว่าเด็ก ป.2 ที่ได้เรียนเปียโน สามารถทำโจทย์คณิศาสตร์ได้เทียบเท่าดีกว่าเด็ก ป.4 ปกติที่ไม่ได้เรียนเปียโน

เครดิต : มหิดลสาร ปีที่ 36 ฉบับที่ 12 (31 ธันวาคม 2554) MU Newsletter 2011. Vol.12 หัวข้อเรื่อง "โมสาร์ท เอฟเฟ็กต์" เรื่องจริงหรือแค่อิงวิจัย เขียนและเรียบเรียงโดย อ.ดร.ปรียาสิริ มานะสันต์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมาย และแพทยศาตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

      

หมายเลขบันทึก: 476121เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2012 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท