mirror therapy


mirror therapy

 Mirror Therapy (MT)

นักวิทยาศาสตร์ในอิตาลี (Giacomo Rizzolatti and Laila Craighero) ทำงานอยู่ มหาวิทยาลัยปาร์มา ในประเทศอิตาลี ได้ศึกษาวิจัยเรื่องของ เซลล์สมองกระจกเงา (The Mirror-Neuron System)   ค้นพบว่าในสมองของมนุษย์เรานั้น มีเซลล์ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “Mirror Neuron” หรือ “เซลล์สมองกระจกเงา” ซึ่งเป็นเซลล์ที่สามารถตอบสนอง ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การตอบสนองต่อการมองเห็น การได้ยิน การได้เห็นภาพ และการได้กลิ่น ตัวกระตุ้นที่เรารับผ่านประสาทสัมผัส เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ โดยเฉพาะผ่านการกระทำของผู้อื่น ถ้าเราต้องการที่จะอยู่รอด เราต้องเข้าใจการกระทำของคนอื่น ถ้าปราศจากสิ่งนี้ ก็ไม่มีสังคมมนุษย์ ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา ในระยะเริ่มแรก ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่อง การพัฒนาเด็ก เพราะสมองของเด็กนั้น มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้เด็กเห็น และทำให้เด็กเกิดการลอกเลียนแบบ นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ ในการนำมาใช้ในการ ขัดเกลาคนในสังคม ขณะเดียวกันการพยายามที่จะ ปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่น ยังมีส่วนนำมาพัฒนาควบคู่กับการ เข้าถึงภาวะจิตใจของผู้อื่นอีกด้วย กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของบุคลิกภาพของมนุษย์ ในปัจจุบันทฤษฎีเซลล์กระจกเงา มีการนำไปใช้พัฒนาเด็กแล้ว เเละยังถูกนำไปใช้ในการบำบัดรักษาโรค ได้อีกด้วย เช่น อัมพาตครึ่งซีก และ โรคออทิสติก 

- มีการนำทฤษฏีเซลล์กระจกเงา มาใช้ในการฟื้นฟู ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต 

การใช้ Mirror Therapy (MT) ในกิจกรรมบำบัด

Mirror Therapy (MT) or Mirror Visual Feedback

วิธีการ ผู้ป่วยนั่งหน้ากระจกตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างกระจกให้ผู้ป่วยเห็นมือข้างปกติในกระจกทำ action แล้วผู้ป่วยจะพยายามทำ action มือด้านที่อ่อนแรงตาม การมอง ภาพลวงตาในกระจกจะกระตุ้นการทำงานของสมอง และจะช่วยให้ motor และ sensory recovery

ตัวอย่างการรักษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(จาตุรนต์ บุญพิทักษ์, 2553; 20(1): 20-28)

การศึกษานำร่องผลการฝึกมือและแขนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด

สมองเรื้อรังโดยการฝึกด้วยกระจก

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป มีอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองนานมากกว่า 6 เดือน และระดับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการมือและแขน (Brunnstrom stages of motor recovery) ตั้งแต่ 4 ขึ้นไป

วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง 12 คน (ชาย 10 คน หญิง 2 คน) ออกเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มควบคุม ได้รับการฝึกแบบดั้งเดิมนาน 2 สัปดาห์ ฝึกต่อเนื่องกันทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการฝึกแบบดั้งเดิมร่วมกับ ฝึกโดยใช้กระจกเพิ่มอีก 1 ชั่งโมงต่อวัน ประเมินระดับการฟื้นตัว

ของระบบประสาทสั่งการมือและแขน ความแข็งแรงของมือและ นิ้วมือข้างที่อ่อนแรง (grip and pinch strength) และประเมิน ความคล่องแคล่วของการใช้มือและแขนโดย (Minnesota manual dexterity test, MMDT) ก่อนและหลังการฝึก

ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองที่ฝึกเพิ่มด้วยกระจกมีค่าเฉลี่ย ความแข็งแรงของมือ/นิ้วมือข้างที่อ่อนแรง ก่อนและหลังการฝึก

เท่ากับ 14.88/6.03 และ 17.11/6.30 กิโลกรัม ตามลำดับ (p = 0.188, p = 0.192); เวลาที่ใช้ทำ MMDT ลดลงจาก 222 เป็น 193 วินาที (p = 0.133) ส่วนกลุ่มที่ฝึกแบบดั้งเดิมมีค่าเฉลี่ย ความแข็งแรงของมือ/นิ้วมือข้างที่อ่อนแรง ก่อนและหลังการฝึก เท่ากับ 17.17/5.83 และ 18.06/6.41 กิโลกรัม ตามลำดับ (p = 0.309, p = 0.132); เวลาที่ใช้ทำ MMDT ลดลงจาก 707 เป็น 368 วินาทีเช่นกัน (p = 0.152) เมื่อเปรียบเทียบผลต่างก่อนและ หลังการฝึกพบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความแข็งแรงของมือ/นิ้วมือ และความคล่องแคล่วของการใช้มือและแขนเพิ่มขึ้นไม่ต่างกัน (p = 0.771, p = 0.901, p = 0.761) ส่วนการฟื้นตัวของระบบ ประสาทสั่งการมือและแขนคงเดิม

สรุป: การศึกษานำร่องครั้งนี้ไม่สามารถสรุปได้ว่าการเพิ่มการ ฝึกด้วยกระจกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองเรื้อรัง เพิ่มความสามารถใช้มือและแขนได้แตกต่างกับ การฝึกด้วยวิธีแบบดั้งเดิมอย่างเดียว

คำสำคัญ (Tags): #mirror therapr
หมายเลขบันทึก: 476119เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2012 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท