นวัตกรรมสุขภาพเพื่อชุมชน; ประชุมนวัตกรรมที่ธาตุพนม (๒))


ในที่ประชุมของ CDA เราได้ข้อสรุปคร่าวๆว่า ทุก รพร.จะต้องกลับไปพัฒนานวัตกรรมของตนเอง ให้เสร็จ ภายในเดือน ก.ค. ๒๕๕๕ โดยใช้การกระตุ้นจากสถาบันที่ปรึกษา ในการเยี่ยมพื้นที่อีกครั้งประมาณหลังเดือนมีนาคม ถึงแม้จะมีปัญหาบ้างในด้านของความรู้วิชาการ วิจัย และการรับรู้ของผู้บริหาร

  ประชุมนวัตกรรมที่ธาตุพนม(๑)           

                วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ วันแรกของการจัดการประชุม “นวัตกรรมสุขภาพเพื่อชุมชน เครือข่าย รพร.” (ชื่อย่อๆ) เราใช้ห้องประชุมของโรงแรมธาตุพนมริเวอร์วิว  และจัดห้องประชุมเป็นกลุ่ม มีโต๊ะตรงกลาง และมีเก้าอี้ประมาณ ๑๐-๑๒ ที่นั่ง  ซึ่งก็สามารถจัดได้ทั้งหมด ๑๖ กลุ่มพอดี และมีป้ายแบ่งโต๊ะตามโรงพยาบาล และแยกโต๊ะคณะทำงานและจุดลงทะเบียนไว้นอกห้อง (ริมถนนหน้าโรงแรม)  ที่ต้องแจงรายละเอียดขนาดนี้ เนื่องจากเราจัดห้องกันจนถึงคืนสุดท้ายก่อนวันงานเลยทีเดียว เพาะสถานที่ค่อนข้างจำกัด สามารถบรรจุผู้เข้าประชุมแบบ class room ได้ไม่เกิน 100 คน  ซึงการจัดนั่งเป็นกลุ่ม นอกจากสามารถดึงโต๊ะออกได้มากกว่าครึ่งแล้ว ยังสามารถทำกิจกรรมกันได้สะดวกกว่านั่นเอง   รายชื่อผู้มาประชุมมานิ่งที่ตอนเช้าของการลงทะเบียนนั่นเอง ครั้งนี้เรามีผู้เข้าประชุมทั้งหมด ๑๙๒ คน รวมทั้งทีมงานและพนักงานขับรถ จาก ๑๗ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช(รพร.)ทั่วประเทศ

 

                  วันแรกของการประชุม ทุกโรงพยาบาลมาถึงที่ประชุมกันตั้งแต่เช้า รวมทั้ง รพร.ในเขตภาคอีสาน ที่มาถึงกันตอนเช้าเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น รพร.เดชอุดม ที่เลยไปหน่อยถึงตัวจังหวัดนครพนม (ชื่อโรงแรมคล้ายกัน)  เราเริ่มทักทายกันแบบสบายๆในห้องประชุม พร้อมกับอากาศเย็นๆของเดือนธันวาคม  โดยมีพิธีกรคือคุณทิพย์สุดา หริกุลสวัสดิ์ ชวนคุย รวมทั้งผม ภก.เอนก ทนงหาญ ในฐานะประธานผู้ประสานงานคลัสเตอร์  (Cluster Development Agent; CDA) ที่มาเล่ากิจกรรมคร่าวๆและการเตรียมตัวระหว่าง ๓ วันที่อยู่ด้วยกันที่ธาตุพนม จนได้เวลาประมาณ ๙ โมงเช้า ก็ได้มีพิธีเปิดง่ายๆ โดยการกล่าวต้อนรับของ นพ.มนู ชัยวงศ์โรจน์ ผู้อำนวยการ รพร.ธาตุพนม และกล่าวเปิดโดย นพ.อนุวัฒน์ วัฒนรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสาถาบันที่ปรึกษาการพัฒนาคุณภาพ รพร.  พร้อมกับแนะนำวิทยากร อ.ภูวนาถ แก้วปลั่ง


 

               วันนี้วิทยากร อ.ภูวนาถ ใช้เวลาตลอดครึ่งเช้าในการบรรยายให้รู้จักกับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการบริหารโครงการนวัตกรรมเชิงบูรณาการและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สลับกับการให้แต่ละ รพร.ออกมานำเสนอนวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์ บริการ และบริหาร ในระดับบุคลหรือหน่วยงาน ที่เอามาแลกเปลี่ยนกัน โดยให้เวลานำเสนอแค่ ๓ นาที ในรูปแบบใดก็ได้ โดยเมื่อมีการนำเสนอเสร็จ ก็มีการกระตุ้นความคิด และถามถึงว่านวัตกรรมที่นำเสนอเป็นระดับไหน และสามารถต่อยอด และพัฒนาอะไรได้อีกโดยเฉพาะการต่อยอดทำร่วมกันเป็นเครือข่าย รพร.   ซึ่งแต่ละ รพร.ก็นำเสนอได้อย่างสนุกสนาน หลากหลายวิธีและเรื่องราว เพื่อให้ได้เนื้อหาครบแต่ทันเวลา ๓ นาที โดยมีผม และพี่อ้อย คุณทิพย์สุดา  คอยเป็นผู้ช่วยคุมเวลา เดินไมร์กระตุ้นคำถามสลับกันเป็นระยะ พร้อมๆกับการสรุปและให้ข้อเสนอแนะโดยวิทยากร อ.ภูวนาท  ไปพร้อมๆกัน 


ลำดับ

ชื่อนวัตกรรม

โรงพยาบาล

ขีดสี FIFO

กระนวน

3M ประชุม กกบ. (Monday Morning Meeting)

ท่าบ่อ

4 รู้ ป้องกันอุบัติการณ์รุนแรง

ธาตุพนม

Online ตรวจสอบ OT refer

เลิงนกทา

ระบบ E-office (จองห้องประชุม จองรถ ซ่อมบำรุง   Online help desk ระบบค่อม)

นครไทย

ซ่อมทันใจ ทางคอมพิวเตอร์

สว่างแดนดิน

การจัดซื้อวัสดุรายไตรมาส

หล่มเก่า

สุขสนทนา

ฉวาง

EMS member club

เวียงสระ

๑๐

วัสดุไร้สาย เบิกเร็วทันใจ

เดชอุดม

๑๑

Hold in 1 การซื้อพัสดุ

กุฉินารายณ์

๑๒

แฟ้มความรู้ใน internet  ส่งองค์กรแห่งการเรียนรู้

สระแก้ว

๑๓

ตารางเตือน set หมดอายุ

จอมบึง

๑๔

คลินิคพิเศษโรคเดียวกัน

บ้านดุง

๑๕

การบริหารจัดการเครื่องมือในห้องผ่าตัด

เด่นชัย

๑๖

Program รายงานและบริหารจัดการความเสี่ยง

ปัว

๑๗

หมุนเวียนเครื่องมือตรวจตา

ยะหา

              และในตอนบ่ายหลังจากรับประทานอาหารกลางวัน วิทยากร อ.ภูวนาท ใช้กิจกรรมระดมความคิดและเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนวัตกรรม  เน้นการบูรณาการนวัตกรรมกับงานบริการและงานบริหารของโรงพยาบาล กับแนวคิด เกณฑ์ และมาตรฐานต่างๆ เช่น เกณฑ์รางวัลคุณภาพ TQA, HAและ MAGNET เป็นต้น  ซึ่งในช่วงบ่ายยังใช้รูปแบบการนำเสนอเหมือนเดิม คือเน้นนวัตกรรมบริหารหรือเครือข่าย จากทุก รพร.ละ ๓ นาที จนถึงเวลา ๔ โมงเย็นจึงได้แยกย้ายกันพักผ่อน ยกเว้นกลุ่มผู้ประสานงานคลัสเตอร์(CDA) ของแต่ละ รพร. ที่ได้ประชุมกันต่ออีกประมาณ ๑ ชั่วโมง เพื่อปรึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และความช่วยเหลือจากเครือข่ายและสถาบันให้คำปรึกษามูลนิธิ รพร. และสิ่งที่ต้องทำต่อไปในอนาคต

               

               ในที่ประชุมของ CDA เราได้ข้อสรุปคร่าวๆว่า  ทุก รพร.จะต้องกลับไปพัฒนานวัตกรรมของตนเอง ให้เสร็จ ภายในเดือน ก.ค. ๒๕๕๕ โดยใช้การกระตุ้นจากสถาบันที่ปรึกษา ในการเยี่ยมพื้นที่อีกครั้งประมาณหลังเดือนมีนาคม ถึงแม้จะมีปัญหาบ้างในด้านของความรู้วิชาการ วิจัย และการรับรู้ของผู้บริหาร แต่การกำหนดเป็นนโยบายจากมูลนิธิ จะสามารถช่วยกระตุ้นได้ทั้งในเชิงบริหารและผู้ปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้ แต่ละ รพร.ต้องจัดทำ บัญชีนวัตกรรม”  ว่ามีอะไรบ้างเพื่อแจ้งแก่เครือข่ายทราบ โดยแบ่งเป็น๓ กลุ่มคือ

               ๑.กลุ่มนวัตกรรมที่ใช้ หรือเลิกใช้แล้ว

               ๒.กลุ่มนวัตกรรมที่กำลังพัฒนา

               ๓.กลุ่มความคิดนวัตกรรม

                และในแต่ละกลุ่มแยกเป็นประเภทนวัตกรรมแบบใด เช่นประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทบริการ ประเภทบริหาร และแบ่งเป็นระดับต่างๆเช่น ระดับบุคคล ระดับหน่วยงาน และระดับเครือข่าย  ซึ่งในระหว่างการประชุมอีก ๒ วันที่เหลือ อย่างน้อยๆ ต้องได้บัญชีนวัตกรรมเบื้องต้นขึ้นมา รพร.ละ๑ฉบับ  

 วันนี้เลิกประชุมที่ ๑๗.๓๐ น. ครับ

ภก.เอนก  ทนงหาญ ผู้เล่าเรื่องการประชุม

หมายเลขบันทึก: 476069เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2012 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท