ผู้นำเพราะชื่อตำแหน่ง หรือผู้นำที่แท้จริง


พูดถึงเรื่องของภาวะผู้นำแล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะมองว่าผู้นำทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นผู้นำขององค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน ผู้นำของหน่วยงานต่างๆ หรือผู้นำของประเทศก็ตาม ล้วนแล้วแต่ต้องมีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี ซึ่งเรื่องคุณสมบัติของผู้นำนั้น ก็มีนักวิชาการหลายคนที่ได้กำหนดคุณลักษณะของผู้นำไว้มากมาย

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมองการณ์ไกล (Visioning) การมี Integrity หรือแปลเป็นไทยว่าซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความน่าเชื่อถือ (Credibility) รวมทั้งมีทัศนคติที่ดี (Positive Attitude) ฯลฯ คุณสมบัติเหล่านี้หาได้ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวของผู้นำ

แต่ประเด็นที่ผมอยากจะเขียนในวันนี้ก็คือ โดยปกติผู้นำในองค์กรของท่านนั้น เป็นผู้นำที่แท้จริง คือ มีคนอยากเป็นผู้ตามสำหรับผู้นำคนนี้มากน้อยสักเพียงใด หรือเป็นเพียงผู้นำโดยชื่อตำแหน่งเท่านั้น

  • ผู้นำโดยชื่อตำแหน่ง ผู้นำในลักษณะนี้ จะไม่มีคุณสมบัติของความเป็นผู้นำอยู่ในตัวเลย แต่ที่มีคนยอมทำตามเขาก็เพราะเขามีตำแหน่งสูงค้ำหัวเราอยู่ เราก็เลยต้องทำตาม มิฉะนั้นเราก็อาจจะเดือดร้อนได้ ผู้นำที่พนักงานยอมทำตามเพราะเพียงแค่เขามีตำแหน่ง จะเป็นผู้นำที่ไม่สามารถซื้อใจพนักงานได้ และเป็นผู้นำที่ยังไม่มีความสามารถมากพอที่จะทำให้ผู้ตามรู้สึกทึ่งในความ คิด และแนวทางในการทำงาน ดังนั้นสิ่งที่เขาทำได้ก็คือ แสดงอำนาจ และพยายามทำตัวให้คนอื่นเห็นว่าเขามีความสามารถ ซึ่งบางครั้งก็มีหลุดๆ ไปเหมือนกัน และการหลุดๆ นี้ ตัวพนักงานเองก็เห็นพฤติกรรมหลุดๆ เหล่านี้อย่างชัดเจน เพียงแต่ไม่อยากจะพูดเท่านั้น อย่างมากก็เอาไปนินทากันอย่างสนุกปากในกลุ่มพนักงานเอง หรือในวงเหล้า
  • ผู้นำที่แท้จริง ผู้ นำที่แท้จริงนี้ ไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งอะไรเลย แต่กลับมีผู้ที่อยากจะติดตาม และทำตามสิ่งที่ผู้นำคนนี้คิด ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกคนจะต้องรู้สึกแบบนี้กับหัวหน้าเก่าๆ ของเราบางคน ที่หลังจากที่เราไม่ได้เป็นหัวหน้าลูกน้องกันแล้ว แต่เราก็ยังมีความเชื่อมั่นในตัวเขา และยังเชื่อฟังคำแนะนำของเขาอยู่เสมอ นี่แหละคือผู้นำที่แท้จริงๆ

แล้วคุณสัมบัติของผู้นำที่แท้จริงนั้นน่าจะมีอะไรบ้าง อ้างอิงจากข้อเขียนในเรื่องของภาวะผู้นำของ John C. Maxwell ซึ่งเป็นกูรูคนหนึ่งทางด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้นำที่แท้จริงนั้น จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ตามของตนเองทุกคน พูดง่ายๆ ว่าซื้อใจได้ทุกคน ซึ่งในการซื้อใจนี้ก็เกิดจากการที่ผู้นำมีความจริงใจให้กับทุกคน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือมีเบื้องลึกเบื้องหลังการกระทำของตนเอง หรือทะเลาะกับฝ่ายหนึ่ง เพื่อเอาใจอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นต้น

นอกจากการซื้อใจด้วยความจริงใจแล้ว ก็ต้องซื้อใจพนักงานด้วยผลงานชั้นเยี่ยมที่เป็นที่กล่าวขวัญถึง พูดง่ายๆ ว่าผู้นำที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นเพราะดวง หรือโชค การที่จะเป็นผู้นำแล้วมีผู้ตามอย่างแท้จริงนั้น ผู้นำเองจะต้องเคยสร้างผลงาน สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่ตนเองเชี่ยวชาญมาก่อน และเป็นผลงานที่พิสูจน์ได้ว่า ผู้นำคนนี้มีความน่าเชื่อถือ

นอกจากซื้อใจผู้ตามได้แล้ว สิ่งที่ผู้นำที่แท้จริงจะต้องทำก็คือ การทำให้ผู้ตามเก่งขึ้นอยู่เสมอ ก็คือ สร้างผู้ตามให้เป็นผู้นำต่อไปให้ได้ โดยปกติผู้นำคนไหนที่เป็นคนที่ให้ ให้ทั้งความรู้ ให้ทั้งประสบการณ์ และให้อนาคตแก่ผู้ตาม ผมคิดว่าไม่มีพนักงานคนไหนที่จะไม่อยากตามผู้นำคนนี้แน่นอนครับ

โดยสรุปแล้วคนที่จะเป็นผู้นำที่แท้จริงนั้น จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย ต้องมีผลงานที่เป็นที่ยอมรับ และต้องมีความจริงใจในการพัฒนาผู้ตามทุกคนให้เป็นผู้นำคนใหม่ให้ได้ เมื่อทำได้ทั้งหมดนี้ เราก็จะเป็นผู้นำที่มีบารมี และได้รับการยอมรับจากพนักงานทุกคน

ผมก็ลองเอา Model นี้มาเปรียบเทียบกับผู้นำขององค์กรผมเอง ผู้นำในองค์กรอื่นๆ ที่ผมได้พบเจอ ก็น่าจะพอมองออกว่าใครที่เป็นผู้นำที่แท้จริง หรือเป็นผู้นำเพราะเพียงแค่ชื่อตำแหน่งเท่านั้น



Free TextEditor
คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ
หมายเลขบันทึก: 475953เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2012 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท