เจริญชัยรัตนะ
นาย ธีระวัฒน์ หมอวัด เจริญชัยรัตนะ

L LOVE model


ทำให้ดูเป็นครูที่ดี

LLOVE model เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ???

(เปลี่ยนเป็น) LLOVE MODEL รหัสรักเพื่อชุมชน)

 

         
   
   

โดย      ธีระ.  เจริญชัยรัตนะ  รังสิทธิ์ ทำสีทา

   
   

(รูปแบบแห่งรักและความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของชุมชน)

 

 

“พ่อใหญ่เฮ็ดดีแล้วบ่ จั่งมาบอกไทข้อย” เป็นคำพูดที่ลูกหลานเยาวชนได้สะท้อนกลับมาถึงทีมงานวิจัย ไทบ้านที่คิดจะไปแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่และดื่มของมึนเมาของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองภัยศูนย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู   ซึ่งทำให้ทีมงานต้องกลับมาทบทวนตัวเองและทำการบ้านอย่างหนักว่าเป็นอิหยังเด็กน้อยมันจึงกล้าย้อนความแบบนี้   ท้ายที่สุดทุกคนจึงต้องร้องอ๋อ!! ออกมาพร้อมกันว่า “แบบอย่างที่ดี มีค่ามากกว่าคำสอน”  ซึ่ง เป็นสุภาษิตที่มีมาตั้งแต่ก่อนนาน   คนสมัยนี้มักลืมและไม่ได้กล่าวถึงแล้ว จึงก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมาท่ามกลางระบบทุนนิยมและใน ยุคโลกาภิวัฒน์ หรือ  ฟ้าบ่กั้น        

ดังคุณยายคนหนึ่งได้พูดว่า             “ หย้อนมันเป็นนำยุคพัฒนา นี้แหละ จั่งเฮ็ดให้เด็กน้อย  สมัยซูมื้อนี้เปลี่ยนไป เด็กน้อยหัวถ่อกำปั้นหนังสือกะบ่เรียนพากันหนีไปซุมหัวสูบยา กินเหล้าแถวเถียงนา ใต้ฮ่มไม้ พ่อแม่มันกะบ่รู้ ครูกะบ่ว่าจั๋งได๋ บ่กล้าตี ย่านถูกฟ้อง  แล้วผู้ได๋ซิมาซอยแก้ไขปัญหาเหล่านี้หนอ? หาทางให้แหน่ผู้ได๋กะได้ซิมาซอยพวกดิฉัน”  

 ก่อนหน้านี้ช่วงปี  49 – 50 แกนนำผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลหนองภัยศูนย์ ได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่ามีกลุ่มเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งประมาณ 8 – 10 คน พากันไปดื่มเหล้า เบียร์ และสูบบุหรี่ ใต้ต้นไม้ เถียงนาน้อย เป็นประจำ   จึงเกิดคำถามในหมู่ผู้สูงอายุด้วยกันว่ามันเกิดอิหยังขึ้นกับเด็กน้อยกลุ่มนี้ ?    

จากนั้นนำไปสู่กะบวนการซอกหาปัญหาที่เกิดขึ้น โดยทีมวิจัยไทบ้าน พบว่า  “ มีความต้องการอยากลองสูบมานานจนเลิกไม่ได้,ผู้ใหญ่สูบให้เห็น,พ่อแม่ไม่มีเวลาสนใจลูกๆ,เพื่อนชักชวน ถ้าสูบจะได้เข้ากลุ่มกับเพื่อนๆได้,ไม่มีความรู้เรื่องโทษพิษภัยบุหรี่,หาซื้อตามร้านค้าได้ง่าย,ครูไม่สนใจ,

 ในส่วนของเด็กน้อยที่ดื่มของมึนเมาให้เหตุผลว่า มีความต้องการอยากลองคิดว่าเท่และชอบ ,หมู่ชักชวน ,ทำตามคนในครอบครัว, พี่ชายชวนดื่ม,ทำประชดพ่อแม่,หาซื้อตามร้านค้าได้ง่าย,พ่อแม่ไม่ห้ามไม่ว่าให้ อยากเฮ็ดหยังกะเฮ็ดโลดค้านเว้าแล้ว”

 ในส่วนของเด็กน้อยที่ไม่กินไม่สูบให้เหตุผลว่า หย้านพ่อแม่ดุด่าว่าให้  ถ้ารู้ ก็จะตี ก็เลยกลัวไม่ทำ ,พิษภัยของบุหรี่และน้ำเมามีอันตราย, ทำให้เรียนหนังสือไม่ทันเพื่อนไม่ดีต่อสุขภาพ กลัวเป็นโรคมะเร็งไม่มีเงินซื้อ, พ่อแม่จำกัดการใช้เงินเพื่อนห้ามไว้ ,ไม่ควรทดลองกลัวเลิกไม่ได้,กลัวครูหักคะแนนพ่อกับแม่บอกว่ารอให้โตก่อนค่อยกินค่อยสูบ”  นี่คือเหตุผลแนวคิด  ที่ทีมวิจัยได้รับทราบปัญหาของกลุ่มเด็กนักเรียนที่สูบบุหรี่และดื่มของมึนเมา 

รูปแบบการดำเนินงาน ได้ใช้หลักการ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ได้แก่ ไทบ้านเป็นคนนำ อบต.หนุนเสริม อนามัยสนับสนุนวิชาการ     ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในชุมชนเกิดความสุขในระดับที่น่าพอใจเกินความคาดหมาย  และคนในชุมชนเริ่มให้ความสำคัญตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น  ขยายผลไปสู่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง พบว่าการใช้ฐานข้อมูลงานวิจัยท้องถิ่น ที่ได้จากการทำวิจัย โดยทีมวิจัยชุมชน ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลจริงที่มีอยู่ในพื้นที่  ส่งผลให้การทำสมัชชามีความชัดเจนและยืนหยัดอยู่บนฐานของความจริงและความถูกต้อง และในส่วนของผู้นำชุมชน / แกนนำในชุมชน / ส.อบต./ผู้ปกครอง/ผู้อำนวยการสถานศึกษา  ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นและพร้อมร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ของเด็กและเยาวชนด้วยความเต็มใจ

โดยผู้นำชุมชน พร้อมที่จะเป็นแบบอย่างให้ลูกหลานได้อย่างภาคภูมิใจ   ในการทำงานโครงการสมัชชาที่จะให้ประสบผล สำเร็จในพื้นที่นั้น   สิ่งสำคัญที่สุดคือทีมงานโดยทีมผู้นำและผู้ที่มีอิทธิพลด้านความคิดในชุมชน ใช้รูปแบบความรักแห่งความเข้าใจ(LLOVE model) ในการทำเวทีสมัชชา และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ พูดได้และต้องทำได้  ใช้นวัตกรรมที่ได้จากงานวิจัย ได้แก่ “แบบอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน”  ให้ชุมชน เยาวชน สามารถยึดถือเป็นแบบอย่าง  และให้ความสำคัญของคนทุกคนในชุมชน พฤติกรรมการทำดีให้ลูกหลานเบิ่ง ยกย่องคนดีในชุมชน เกิดนโยบายสาธารณะในพื้นที่ ที่ทุกคนช่วยกันออกกำหนดข้อบังคับที่ทำขึ้นเพื่อชุมชนและสุขภาวะของคนในชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่วัฒนธรรมประเพณีและค่านิยมที่ดี ที่คนหนองภัยศูนย์ได้ช่วยกันร่วมมือกันออกแบบเพื่ออนาคตของหมู่บ้านและลูกหลานต่อไปในวันข้างหน้า  

การทำสมัชชาในครั้งนี้ พบว่า  ทีมงานมีความสำคัญเป็นอันดับแรก  และการทำงานต้องมีพหุภาคี จากหลากหลายทุกภาคส่วนได้เรียนรู้ถึงความร่วมมือการใช้ทฤฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของอาจารย์หมอประเวศ วะสี    เป็นตัวขับเคลื่อน  นอจากนี้แล้ว ทีมงานยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการคิดในการแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้  จากการประชุม อบรม สู่การปฏิบัติจริง เกิดการจัดการความรู้ จากแนวคิด ทฤษฎี สู่การปฏิบัติเกิดเวทีสมัชชาสุขภาพภาคปฏิบัติ อย่างมีระบบมีมีขั้นตอน มีรูปแบบชัดเจน   ทำให้สามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้   

ลักษณะการทำงานแบบนี้ส่งผลให้เกิด ปัญญาปฏิบัติ  ในการที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นและประเด็น ปัญหาสุขภาพอื่นๆที่สำคัญ      เนื่องด้วยทีมงานถูกถามย้อนกลับ  จากลูกหลานว่า  “เจ้าเฮ็ดดีแล้วบ่พ่อใหญ่จั่งมาบอกไทข้อย”     การดำเนินงานสมัชชาต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่เกิดจากความต้องการแก้ไขปัญหาในพื้นที่   โดยใช้รูปแบบ  LLOVE  Model  ซึ่งเป็นการใช้รูปแบบของความรักแห่งเข้าใจ ในในการเรียนรู้เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ให้โอกาสกับคนทุกคน มีจิตใจสาธารณกุศล โดย เริ่มต้นจากตัวเอง เป็นผู้นำการปลี่ยนแปลง การเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกหลานและเยาวชนคนในครอบครัว  ซึ่งยืนหยัดอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริง ความรักความเข้าใจและความปรารถนาดีไม่มีสิ้นสุด  ได้แก่

L = Leader = การมีภาวะผู้นำที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของชุมชนไปในทิศทางที่ดีและคนในชุมชนทุกคนได้ผลประโยชน์ร่วมกัน เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วอยากลงมือทำช่วยกัน

L =  Learning  = การเรียนรู้ เรียนรู้ทุกอย่างอย่างมีเหตุและผล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภูมิปัญญาของกันและกัน ในการหาทางออกปัญหา ร่วมกัน โดยพื้นฐานแห่งความรักความเข้าใจและจริงใจ มีความปรารถนาดีต่อกัน

O = Opportunity = การให้โอกาสกับทุกคนรอบข้าง ตัวเอง คนทุกคนในชุมชนทุกสิ่งทุกอย่างสามารถแก้ไขได้ ไม่มีอะไรที่อยู่ภายใต้แสงอาทิตย์นี้ ที่เราทำไม่ได้ 

 V = Volunteer  = การมีจิตใจเสียสละ อุทิศตนเพื่อส่วนรวม เพื่อคนอื่น มีจิตอาสา  มองผลประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง  

E = Evaluation = การประเมินผลติดตามความต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ในชุมชน คอยควบคุมกำกับติดตามอย่างใกล้ชิดและห่วงใยตลอดเวลา

เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในพื้นที่แล้ว   ชุมชนต้องการอยากช่วยกันแก้ไข  ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามรูปแบบดังกล่าว  แล้วชักชวน ชี้แจงให้คนในพื้นที่  ได้เข้าใจรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วลงมือทำร่วมกัน  โดยใช้เวลาที่เหมาะสม ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ เจริญเติบโต อย่าไปรีบเร่งมากนัก ให้เวลาได้เรียนรู้ ได้อยู่กับปัญหา กับความจริง ได้เข้าใจถึงแก่นแท้และรากเหง้าของมัน  แล้วจะนำพาไปสู่การสร้างสุขภาวะของชุมชนได้อย่างแท้จริง  

 ซึ่งทั้งหมดนี้ได้เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลหนองภัยศูนย์และกำลังขยายผลไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง     จากคำพูดของ สมาชิก อบต.คนหนึ่งในหมู่บ้านว่าผมภาคภูมิใจหลายที่งานศพของของแม่ผมปลอดเหล้าและบ่มีผู้ใหญ่มากินเหล้ามาสูบยาในงานทำให้ผมประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้หลายพอสมควร  สมัยที่พ่อผมตายเมื่อปีที่ผ่านมา เงินค่าเหล้าค่ายาสูบไปเซนต์ไว้ร้านค้า ประมาณสามหมื่นบาท ขอขอบคุณทีมงานสมัชชาสุขภาพที่ได้ให้โอกาสแก่งานศพของแม่ผมได้เป็นตัวอย่างให้ชุมชนได้อย่างภาคภูมิใจ และเงินที่ช่วยประหยัดค่าใข้จ่ายจะนำไปเป็นทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนในโอกาสต่อไป”

เลขาสมัชชา คุณพ่อรังสิทธิ์ คำสีทา ผู้ช่วยกำนัน/ ประธานอปพร.ตำบลหนองภัยศูนย์  ได้พูดถึงว่า        “ในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาในชุมชนพวกเฮาต้องช่วยกันเฮ็ดจริงๆจังๆ และต้องชี้ให้ทุกคนในชุมชนเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมันบ่แม่นของผู้ใด๋ผู้หนึ่ง มันเป็นของพวกไทเฮาทุกคนที่ต้องร่วมมือกันซอยกันแก้ไขอย่านิ่งดูดาย โดยเฉพาะผู้นำต้องทำเป็นแบบอย่างให้ไทบ้านเพิ่นเบิ่งให้ลูกหลานได้ทำตามได้ เพราะเด็กน้อยเยาวชนคนหนุ่คนสาวพวกเขา คืออนาคตของหมู่บ้านของประเทศชาติในมื้อข้างหน้าต่อไป”

           “พี่น้องเอ่ย  ฟานมากินบักขามป้อมมันเลยไปคาคอหมั่ง ซั้นแหลว  ครั้นหมั่งบ่ขี้ สามมื้อกระต่ายตาย  พอกระต่ายตายแล้วเห็นอ้มก็เน่านำ”  จากสุภาษิตคำโบราณบทนี้เตือนให้พวกเรารับรู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนถึงแม้ว่าจะใม่ได้เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่มันทำให้มีผลกระทบต่อทุกคนที่อยู่ในระแวกบ้านเดียวกัน ถ้าทุกคนไม่รีบหาทางแก้ไขช่วยกัน มันอาจจะต้องส่งผลถึงคนทุกคนที่อยู่ในชุมชนได้ 

LLOVE model  จึงเป็นเครื่องมืออีกรูปแบบหนึ่งของชุมชนตำบลหนองภัยศูนย์  ที่ได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่สูบบุหรี่และดื่มของมึนเมาได้ อย่างภาคภูมิใจ   แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่พวกเราก็ได้ทำด้วยหัวใจที่ยิ่งใหญ่ ได้อย่างสวยงามตลอดไป.

หมายเลขบันทึก: 475540เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2012 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แนวคิดนี้ได้ถูกติพิมพ์ในงาน อีสานสร้างสุข ที่อุบลปี 2552 ครับ

ช่วยคอมเม้นเต็มที่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท