เจริญชัยรัตนะ
นาย ธีระวัฒน์ หมอวัด เจริญชัยรัตนะ

การจัดการสุขภาพเพื่อผองชน


สุขภาพเพื่อผองชน

 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วิชา

Health System Management

ธีระวัฒน์  เจริญชัยรัตนะ

๑.      สิ่งที่ได้เรียนรู้

วันแรก ๗ มกราคม ๒๕๕๕

บรรยากาศการเรียนการสอนแบบง่ายๆไม่ได้วิตกกังวลอะไรมาก เพราะด้วยอัธยาศัยของอาจารย์ ปัตตพงษ์ ที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตาต่อลูกศิษย์ หวังอยากให้ลูกศิษย์ทั้ง ๑๖ คนได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างแท้จริงและเป็นความหวังให้กับพี่น้องประชาชนซึ่งจะเป็นผู้นำพาความเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีๆโดยเฉพาะในด้านสุขภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ โดยท่านอาจารย์ได้ใช้แนวทางหลักการเรียนการสอนวิชานี้ด้วย หลัก อริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงซึ่งมันทำให้ข้าพเจ้าเริ่มมีความสนใจและตั้งใจเรียนในวิชานี้ พอๆกับวิชาการจัดการความรู้ของอาจารย์ วรพล อย่างไม่น่าเบื่อหน่าย และมีความกระหายอยากที่จะเรียนรู้และศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในวิชา Health System Management นี้ไม่ได้เป็นวิชาที่ใหม่เลย มีมาตั้งนานสมัยพุทธกาลแล้ว อาจารย์ปัตตพงษ์ได้เริ่มต้นพูดถึง กรอบแนวคิดของวิชานี้ว่า ความจริงอันประเสริฐ   ที่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในโลกนี้ จะต้องพบและหนีไม่พ้นทุกคนต้องได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน   แต่เราจะจัดการและเรียนรู้กับมันได้อย่างมีความสุขอย่างไร   เริ่มต้นจาก ทุกข์ คืออะไร สมุหทัย คืออะไร นิโรค คืออะไร และมรรค๘ คืออะไรแล้วเราจะมามาประยุกต์ใช้ในวิชานี้ได้อย่างไรและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน และประเทศได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็น พรบ.สุขภาพแห่งชาติ  การจัดเวทีสมัชชาสุขภาพ  ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือทางสังคมที่จะนำมาช่วยกันแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในสภาวะปัจจุบันอย่างแท้จริง

วันที่ ๘  มกราคม ๒๕๕๕

วันนี้บรรยากาศการเรียนการสอนเป็นแบบสบายๆพร้อมอากาศหนาวๆ โดยไม่ต้องเปิดแอร์  โดยเนื้อหาการเรียนการสอนน่าสนใจเพิ่มขึ้น อาจารย์ได้พูดถึงขั้นตอนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ  HIA. พรบ.สุขภาพห่งชาติซึ่งพี่น้องประชาชนชาวไทยได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับคู่พูดถึงความสุขที่ได้รับและความสุขที่เกิดขึ้นที่เราประทับใจและเล่าให้เพื่อนฟังในกลุ่ม ก็ทำให้มีความสุขและเรียนด้วยความสนุกสนานไม่เครียดอะไรมากนัก และอาจารย์ก็ให้แต่ละคนได้พูดและแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่พวกเรากำลังคิดอะไรอยู่โดยไม่มีใครผิดใครถูก เป็นเรื่องแนวคิดของแต่ละคน และที่สำคัญอาจารย์ได้นำวีดีทัศน์ มานำเสนอ  เป็นเรื่องราวหมู่บ้านการจัดการตนเองด้านสุขภาพ คือ หมู่บ้าน พลัม ในฝรั่งเศส  ซึ่งเป็นแนวคิดของท่านอาจารย์ นัท ติด ฮัน  ชาวเวียดนามอพยบมาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส เป็นอะไรที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาก

๒.เรื่องราวดีๆที่ได้พบได้เห็น ๒ เรื่อง ในเรื่องการจัดการด้านสุขภาพ

เรื่องแรก การที่ชาวบ้านพร้อม  อสม.ผู้นำชุมชน อบต. ช่วยกันกำหนดกฎของหมู่บ้านในการ ปรับหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำยุงลายหลังคาเรือนละ ๑๐ บาท ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถ้าสามาถทำได้ทุกงานทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพได้จะเป็นอะไรที่มีเสน่ห์ดึงดูดให้ทุกคนหันมาสนใจสุขภาพตัวเองมากขึ้น

เรื่องที่สอง เป็นเรื่องนโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้นในชุมชน ที่ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในการนำพาให้ชาวบ้านจัดงานศพปลอดเหล้า และส่งผลให้งานบุญประเพณีต่างๆ ปลอดเหล้า  ทำให้ประชาชนเริ่มตระหนักเห็นถึงความสำคัญในการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วมโดยทุกภาคส่วนมีความเห็นพร้องกันโดยผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ และสามารถขยายผลเรื่องหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้เป็นอย่างดี

๓.อยากทำอะไรที่ดี และประยุกต์ใช้อย่างไร

          ข้าพเจ้าอยากนำเครื่องมือสมัชชาสุขภาพมาใช้ในการกำหนดประเด็น ว่าด้วยความสุขของคนหนองบัวลำภูว่าควรต้องทำอย่างไร  คนในชุมชนในจังหวัด ถึงจะมี สภาวะสุขภาพที่ดี    และจะช่วยกันขับเคลื่อนเพื่อก่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ เพื่อที่จะมุ่งสู่จังหวัดที่มีความสุขมากที่สุดในประเทศไทย ภายใน ๕ ปี ข้างหน้า โดยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

 

หมายเลขบันทึก: 475535เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2012 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท