ธิติสรรค์
นศ.กบ. ธิติสรรค์ สันติมณีรัตน์

Mirror neuron


การใช้ Mirror therapy ในการกระตุ้นการทำงานของ Mirror neuron เป็นหนึ่งในทางเลือกที่สามารถส่งเสริมความสามารถในการทำกิจกรรมการดำรงชีวิตในกลุ่มผู้รับบริการที่มีพยาธิสภาพจาก stroke,tactile allodynia, complex ragional pain syndrome และ phantom limb pain

Mirror neuron

                Mirror neuron หรือ เซลล์กระจกเงา เป็นเซลล์ประสาทชนิดหนึ่งที่อยู่ในสมองของคนทุกๆคนซึ่งจะถูกกระตุ้นให้เกิดการทำงานขณะที่ทำการสังเกตความสามารถในการเคลื่อนไหว และระหว่างการฝึกจิตในกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว (Mental practice) โดยจากการศึกษามีการค้นพบว่ามี Mirror neuron บริเวณ Ventral และ Inferior premotor cortex ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหว โดยมีความสัมพันธ์กับการสังเกต และการเลียนแบบการเคลื่อนไหว รวมทั้งยังพบที่บริเวณ Somatosensory cortices โดยสัมพันธ์กับการสังเกตการสัมผัส ซึ่งส่งผลต่อการรับความรู้สึกจากการสัมผัสอีกด้วย โดยสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนดังกล่าวได้ผ่าน Mirror therapy  และถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังขาดหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับ mirror neuron แต่ก็ยังพอมีงานวิจัยกลไกการทำงานที่ส่งผลต่อด้านอื่นๆหลายๆด้านเช่น การรับรู้ตนเอง(self-awareness), สมาธิ(spatial attention) โดยกระตุ้นผ่าน Superior temporal gyrus, Precuneus และPosterior cingulate cortex โดยในส่วนของ Superior temporal gyrus ยังมีส่วนสำคัญอย่างมากในการฟื้นฟูจากภาวะหลงลืม (Neglect) ผ่านการสังเกตการเคลื่อนไหวอีกด้วย

 

Mirror therapy

Mirror therapy เป็นการบำบัดวิธีหนึ่งโดยใช้การสังเกตการเคลื่อนไหวผ่านภาพลวงตา (Visual illusion) ซึ่งเกิดจากการสะท้อนจากกระจกเพื่อกระตุ้นการทำงานของ Mirror neurons ในร่างกาย

อุปกรณ์

-         กระจก โดยกระจกที่นิยมใช้ในการทำ Mirror therapy แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
                1. Parasagittal mirror

                2. Modify mirror device 45°

วิธีการ

  1. ให้ผู้รับบริการนั่งหันหน้าเข้าหากระจกโดยกระจกตั้งในแนวขนานอยู่กึ่งกลางลำตัวและปิดกั้นการมองเห็นรยางค์ข้างที่มีพยาธิสภาพ
  2. ผู้รับบริการมองดูภาพสะท้อนของการเคลื่อนไหวของรยางค์ข้างที่ไม่มีพยาธิสภาพ(unaffected extremity)อย่างจดจ่อ โดยจินตนาการเปรียบเสมือนเป็นการเคลื่อนไหวของรยางค์ข้างที่มีพยาธิสภาพ(affected extremity)

 

การนำ Mirror therapy ไปใช้ในทางกิจกรรมบำบัด

                ทางกิจกรรมบำบัดสามารถนำ Mirror therapy ไปใช้ในการส่งเสริมความสามารถในการทำกิจกรรมการดำรงชีวิตโดยการประยุกต์ท่าทางในการทำกิจกรรมต่างตามบทบาทของผู้รับบริการไปใช้ร่วมกับ Mirror therapy เพื่อส่งเสริมทักษะ ความสามารถในการใช้มือ ฟื้นฟูความสามารถด้านการเคลื่อนไหว และลดความเจ็บปวด ซึ่งเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในหลายๆปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ

 

กลุ่มผู้รับบริการที่ควรใช้ Mirror therapy

                เนื่องจากหลักฐานที่ยังจำกัดจึงยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มผู้รับบริการกลุ่มใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์จาก Mirror therapy แต่ในปัจจุบันนิยมนำ Mirror therapy ไปใช้กับกลุ่มผู้รับบริการที่มีพยาธิสภาพของ Stroke และอาการเจ็บทางระบบประสาท เช่น Complex regional pain syndrome, Tactile allodynia และ Phantom limb pain

 

กลุ่มผู้รับบริการที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้  Mirror therapy

-         ผู้ที่มีช่วงความสนใจต่ำ

-         ผู้มีความสามรถในการประมวลผลต่ำ

-         ผู้ที่มีระดับ Cognitive ต่ำ

 

ผลข้างเคียงของ Mirror therapy

                เนื่องจากหลักฐานที่จำกัด และการศึกษาในปัจจุบันยังไม่ได้สนใจในส่วนของผลข้างเคียงมากนักจึงทำให้ยังไม่สามารถระบุได้ถึงผลข้างเคียงที่แน่ชัดแต่จากการศึกษาพบว่ามีบางการศึกษาที่เห็นผลข้างเคียงของ Mirror therapy เช่น ผู้รับบริการที่มี Phantom limb pain จำนวนมากปฏิเสธการบำบัดด้วย Mirror therapy เนื่องจากมีความรู้สึกสับสน หรือเวียนศีรษะ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ผู้รับบริการที่เจ็บแขนเรื้อรังมีความรู้สึกเจ็บ และบวมมากขึ้นอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 475388เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2012 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นการอธิบายได้ชัดเจนมากๆคะ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท